อัตราเงินเฟ้อในออสเตรเลียอาจกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นเมื่อท้ายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมาจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ลดลง นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงรอการตัดสินใจเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps ในวันอังคารที่จะถึงนี้ โดยทาง ผู้ว่าการ RBA Michele Bullock ได้บอกเป็นนัยเมื่อเร็วๆ นี้ว่าธนาคารกลางจะไม่ลังเลที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 4.1% หากพบว่าอัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มที่สูงขึ้น
อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ 5.4% ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งต่ำกว่า 6% ในไตรมาสที่ 2 แต่ยังคงสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.3% ในที่มาตรวัดเงินเฟ้อรายเดือนของสถาบันเมลเบิร์น ลดลง 0.1% ในเดือนตุลาคม แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนด้านนโยบายการเงินของ RBA
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้นเป็น 1.8% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส (QoQ) ในไตรมาสที่ 3 ถือวาเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นจาก 0.5% ในไตรมาสที่ 2 โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายไฟฟ้าและน้ำประปาที่เพิ่มขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
การโฆษณาตำแหน่งงานในออสเตรเลียลดลง 3.0% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (MoM) ในเดือนตุลาคม หลังจากที่ลดลง 0.5% ในเดือนก่อนหน้า โดย Madeline Dunk นักเศรษฐศาสตร์ของ ANZ แสดงความคิดเห็นว่า แม้การประกาศการรับสมัครงานจะเริ่มลดลง แต่ยังถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ การประกาศการรับสมัครงานที่ลดลงเริ่มแสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการหดตัวของเศรษฐกิจในประเทศและมีการคาดว่าการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
การเกินดุลการค้าของออสเตรเลียลดลงต่ำสุดในรอบ 30 เดือนที่ 6.79 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในเดือนกันยายน เนื่องจากการส่งออกลดลงในขณะที่การนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 7.5% นับว่าเป็นการนำเข้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 38.84 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย พบว่าการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อรวมกับการอ่อนค่าของดอลลาร์ออสเตรเลียในช่วงที่ผ่านมาทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
การส่งออกสินค้าจากออสเตรเลียหดตัว 1.4% จากเดือนก่อนหน้าเป็น 45.62 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยการส่งออกทองคำลดลง 39.2% เป็น 2.42 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ในขณะที่ การส่งออกแร่โลหะเพิ่มขึ้นอย่างมาก พบว่าการส่งออกไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5449, 1.5476, 1.5502
แนวรับสำคัญ: 1.5397, 1.5372, 1.5344
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 7 พฤศจิกายน 2566 10:26 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 1.5344 | 1.5372 | 1.5397 | 1.5424 | 1.5449 | 1.5476 | 1.5502 |
Fibonacci | 1.5372 | 1.5392 | 1.5404 | 1.5424 | 1.5444 | 1.5456 | 1.5476 |
Camarilla | 1.5408 | 1.5413 | 1.5418 | 1.5424 | 1.5427 | 1.5432 | 1.5437 |
Woodie's | 1.5344 | 1.5372 | 1.5397 | 1.5424 | 1.5449 | 1.5476 | 1.5502 |
DeMark's | - | - | 1.5411 | 1.5431 | 1.5463 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5449 - 1.5476 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5502 และ SL ที่ประมาณ 1.5372 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5449 - 1.5476 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5449 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5372 และ SL ที่ประมาณ 1.5502 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.5372 - 1.5397 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5344 และ SL ที่ประมาณ 1.5476 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 7 พฤศจิกายน 2566 10:26 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 36.752 | ขาย |
STOCH(9,6) | 32.670 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 96.661 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.008 | ขาย |
ADX(14) | 47.985 | ซื้อ |
Williams %R | -66.613 | ขาย |
CCI(14) | -19.7387 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0055 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 48.121 | ขาย |
ROC | -0.478 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0044 | ขาย |
ซื้อ:1 ขาย:7 ถือหุ้นไว้:2 สรุป:ขายทันที |