หุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นจากข้อมูลค่าจ้างสหรัฐที่อ่อนแอและการเปลี่ยนแปลงของตลาดจีน
หุ้นเอเชียพุ่งขึ้นในวันจันทร์ โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลค่าจ้างของสหรัฐฯ ที่อ่อนแอกว่าคาด ส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางสหรัฐฯอาจใกล้ถึงเวลายุติวงจรการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่ความสนใจของตลาดมุ่งไปที่รายงานเศรษฐกิจจากประเทศจีนที่กำลังจะมีขึ้น
ดัชนี KOSPI ของเกาหลีใต้พุ่งขึ้น 3.8% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรัฐบาลเกาหลีใต้สั่งห้ามการขายชอร์ตเด็ดขาดในตลาดท้องถิ่น ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.2% จากข้อมูลที่แข็งแกร่งในภาคบริการ และทิศทางการคงนโยบายแบบผ่อนคลายจากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดรอรายงานผลประกอบการจากบริษัทอย่าง SoftBank Group Corp. และ Sony Corp. ในช่วงนี้
ทางด้านดัชนีฟิวเจอร์ส Nifty 50 ของอินเดียเปิดบวก จากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในหุ้นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี ทางด้านประเทศจีน ดัชนี Shanghai Shenzhen CSI 300 และ Shanghai Composite เพิ่มขึ้น 0.7% และ 0.5% ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกง พุ่งขึ้น 1.5% โดยได้แรงหนุนจากหุ้นเมก้าเทคโนโลยี
ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคม ภาคบริการของญี่ปุ่นพบการเติบโตที่ช้าที่สุดในรอบปีนี้ โดยยอดคำสั่งซื้อใหม่อยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม ขณะที่คำสั่งซื้อส่งออกหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน ท่ามกลางการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น การเกษียณอายุที่ช่วยชดเชยตำแหน่งงานเปิดใหม่โดยรวม และความคาดหวังทางธุรกิจที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเก้าเดือน โดยแนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในตะวันออกกลางและการเติบโตของจีนที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้รัฐบาลอาจต้องใช้งบประมาณถึงมูลค่า 17 ล้านล้านเยน (113 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาวะเงินเฟ้อ
ทางด้านเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ มีกำหนดพบกับรองนายกรัฐมนตรีจีนเหอ ลี่เฟิง ในซานฟรานซิสโกสัปดาห์นี้ เพื่อกระชับการเจรจาทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศก่อนการประชุมสุดยอด Pacific Rim โดยเยลเลนตั้งเป้าที่จะทำความเข้าใจถึงการสื่อสารทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ-จีนแบบใหม่ และหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
ในขณะเดียวกัน หลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน ได้ประกาศครั้งสำคัญที่งานแสดงสินค้าในเซี่ยงไฮ้ เผยให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนในการขยายการเข้าถึงตลาดและเพิ่มการนำเข้าในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยการประกาศนี้มีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากบริษัทในยุโรป และแสดงความปรารถนาที่จะปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของจีนที่จับต้องได้มากขึ้น โดยหลี่เน้นย้ำแนวทางการประสานงานในการพัฒนาทางการค้า ควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นในการปกป้องสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างประเทศ และการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการลงทุนจากต่างประเทศในด้านการผลิต
ทั้งนี้ งาน China International Import Expo ซึ่งริเริ่มโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อปี 2561 เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของจีนในฐานะผู้สนับสนุนการค้าเสรี และตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ถึงการเกินดุลการค้ากับหลายประเทศ ในขณะที่การนำเข้าของจีนลดลงในปีนี้เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่จากข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อเดือนที่แล้ว มีสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่อาจค่อยๆ ดีขึ้น
ขณะเดียวกัน จีนมีแผนที่จะเร่งการออกและการใช้ประโยชน์ของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยแม้ว่าจีนจะมีอัตราการเติบโตที่เร็วกว่าที่คาดไว้ในไตรมาสที่สาม แต่ก็ยังคงเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น และความไม่มั่นใจของบริษัทเอกชนในการลงทุน ซึ่งได้รับแรงกดดันจากความเชื่อมั่นที่อ่อนแอ
นอกจากนี้ มีการเปิดเผยว่าจีนบันทึกการขาดดุลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รายไตรมาสเป็นครั้งแรก ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินทุนที่ไหลออก และความท้าทายอย่างต่อเนื่องของจีนในการดึงดูดบริษัทต่างชาติ ท่ามกลางเทรนด์ "ลดความเสี่ยง" จากทั่วโลกที่ได้รับแรงหนุนจากรัฐบาลตะวันตก
ในด้านอุตสาหกรรม รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของจีนรายงานว่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศมีเสถียรภาพและมีการเติบโตในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2566 ซึ่งเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในภาคธุรกิจพลังงานใหม่ รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรก ยอดขายรถยนต์ในจีนเพิ่มขึ้น 2.1% รวม 15.41 ล้านคัน ขณะที่ตลาดต่างประเทศยังคงเป็นพื้นที่ขายสำคัญ แม้ว่าจะมีความกังวลจากการสอบสวนของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน
นอกจากนี้ การส่งออกของจีนยังคงแสดงสัญญาณที่มีเสถียรภาพและฟื้นตัวได้ดี แม้จะมีความท้าทายต่างๆ เช่น การว่างงานของเยาวชนที่สูง การขาดเชื่อมั่นในภาคเอกชน การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา เทคโนโลยี และภูมิศาสตร์การเมือง
อย่างไรก็ดี ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจในเอเชียยังได้รับอิทธิพลอย่างมากจากอินเดีย ตามรายงานล่าสุดโดย Morgan Stanley คาดว่า GDP ของอินเดียจะเร่งตัวขึ้นในอัตรา 12.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณ 2568 ซึ่งการเติบโตที่คาดการณ์ไว้นี้ไม่เพียงแต่จะแซงหน้าจีน แต่ยังอาจทำให้อินเดียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลกภายในปี 2570 โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจอินเดีย ได้แก่ การใช้จ่ายด้านทุนสาธารณะ (capex) ที่ปรับตัวสูงขึ้น และการใช้จ่ายในการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการปฏิรูปนโยบาย การลดภาษีนิติบุคคล และการเปิดตัวโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการผลิต (Production-Linked Incentive Scheme: PLI) ท่ามกลางความท้าทายต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ความไม่สงบทางภูมิรัฐศาสตร์ และอุปสงค์ที่ซบเซา ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจของอินเดียยังคงเป็นบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียยังคงผันผวน โดยมีรายงานการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 7.8% ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวังของนักเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจะต่ำกว่าประมาณการ 8% ของธนาคารกลางอินเดีย แม้ผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจะเป็นผลมาจากการพึ่งพาปัจจัยระดับโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าปัจจัยภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรักษาการเติบโตไว้ได้
ทั้งนี้ จุดสนใจในเอเชียประจำสัปดาห์อยู่ที่ข้อมูลการค้าและข้อมูลเงินเฟ้อจากประเทศจีน ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค แม้ข้อมูลกิจกรรมทางธุรกิจที่อ่อนแอในช่วงที่ผ่านมาได้บั่นทอนความเชื่อมั่น แต่ความคาดหวังวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากรัฐบาลจีน รวมถึงการออกพันธบัตรจำนวนมาก คาดว่าจะส่งผลต่อมุมมองเชิงบวกในตลาดเอเชียได้ จึงอาจส่งผลให้ดัชนีหุ้นเอเชียโดยรวมรวมถึงดัชนี Nikkei ญี่ปุ่น มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในกรอบหลังปรับฐานจากการปรับตัวขึ้นสูงในช่วงวันที่ผ่านมา โดยแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางคาดว่าอาจยังคงถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงซบเซาในปีหน้า
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD JP225 Nikkei 225 Futures - Dec 23
แนวต้านสำคัญ : 32564.4, 32627.6, 32730.0
แนวรับสำคัญ : 32359.6, 32296.4, 32194.0
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 32226.6 - 32359.6 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 32359.6 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32564.4 และ SL ที่ประมาณ 32160.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 32564.4 - 32697.4 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32730.0 และ SL ที่ประมาณ 32293.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 32564.4 - 32697.4 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 32564.4 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32291.0 และ SL ที่ประมาณ 32763.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 32226.6 - 32359.6 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 32194.0 และ SL ที่ประมาณ 32498.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 7, 2023 10:18AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 32023 | 32194 | 32291 | 32462 | 32559 | 32730 | 32827 |
Fibonacci | 32194 | 32296.4 | 32359.6 | 32462 | 32564.4 | 32627.6 | 32730 |
Camarilla | 32314.3 | 32338.9 | 32363.4 | 32462 | 32412.6 | 32437.1 | 32461.7 |
Woodie's | 31986 | 32175.5 | 32254 | 32443.5 | 32522 | 32711.5 | 32790 |
DeMark's | - | - | 32242.5 | 32437.8 | 32510.5 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2