EUR อ่อนค่าจากภาคการผลิตในเยอรมนีที่ซบเซา USD เผชิญความไม่แน่นอนในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เงินยูโรอ่อนค่า หลังจากรายงานเผยว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนกันยายนลดลงเกินคาด โดยแม้ว่าก่อนหน้านี้เงินยูโรจะดีดตัวขึ้นมาแข็งค่าได้เล็กน้อย แต่ก็ต้องกลับตัวลงเมื่อค่าเงิน USD พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่เพิ่มขึ้น 1.5% หลังจากที่ร่วงลงก่อนหน้า
ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนกันยายนลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจคุกคามต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศหัวเรือใหญ่ของยุโรป สร้างความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจยานยนต์
โดยจากข้อมูลที่เปิดเผยโดย Destatis สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนี ในเดือนกันยายน การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 1.4% เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.4% ขณะที่ไตรมาสที่สามพบผลการผลิตรวมลดลง 2.1% โดยภาคอุตสาหกรรมยานยนต์พบการผลิตรถยนต์ลดลง 5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า รวมไปถึงการลดลงในภาคภาคธุรกิจส่วนสำคัญอื่นๆ เช่น ธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้าและเภสัชกรรม
ทั้งนี้ ยูโรโซนคาดว่าจะพบการหดตัวเล็กน้อยหรือซบเซาในไตรมาสที่สี่ โดยอาจพบการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่สาม ซึ่งตัวชี้วัดเบื้องต้นอย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือนตุลาคม ได้ส่งสัญญาณถึงความท้าทายทางเศรษฐกิจเนื่องจากกิจกรรมทางธุรกิจที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การบริการ การผลิต และอุปสงค์ในหลายประเทศในยูโรโซน รวมถึงเยอรมนีและฝรั่งเศส ลดลง ตอกย้ำถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยูโรโซนอาจดีเกินความคาดหมายในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ภาคอสังหาริมทรัพย์ในเยอรมนีกลับเผชิญกับการหยุดชะงัก จากการยกเลิกโครงการก่อสร้างจำนวนมากเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เผชิญกับการล้มละลายและราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง
ทางด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 10 ครั้ง แต่ก็เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระมัดระวังอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงชี้ความเป็นไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคต ขณะที่ตลาดเงินคาดการณ์ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก ECB เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจยูโรโซนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะถดถอย และมีภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่ตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐอเมริกา
อีกด้าน รัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปเข้าใกล้การบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางการคลังใหม่สำหรับกลุ่ม 27 ประเทศ ในขณะที่ยังพบอุปสรรคสำคัญจากความแตกต่างเกี่ยวกับความเร็วในการปรับลดหนี้ในกลุ่มประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขกฎการคลังของสหภาพยุโรป ซึ่งถูกระงับมาตั้งแต่ปี 2020 และคาดว่าจะนำกลับมาบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2024
ทั้งนี้ กฎเกณฑ์ดังกล่าว จะกำหนดการจำกัดการขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะ ท่ามกลางการดุลงบประมาณในรัฐบาลยุโรปหลายแห่ง ในระหว่างที่ใช้งบประมาณในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประเด็นสำคัญยังคงอยู่ที่อัตราและความรวดเร็วในการปรับลดหนี้ โดยเยอรมนีสนับสนุนให้มีการบังคับการปรับลดหนี้ประจำปีอย่างน้อย 1% ของ GDP สำหรับประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมด ในขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรปและฝรั่งเศสเชื่อสนับสนุนการปรับลดหนี้เป็นระยะเวลาสี่ปี
ทางด้านราคาผู้ผลิตยูโรโซนในเดือนกันยายนเป็นไปตามคาด โดยเพิ่มขึ้น 0.5% จากเดือนก่อน แต่ลดลง 12.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ในขณะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นกลางและไม่คงทนลดลง 0.2% โดยแนวโน้มราคาผู้ผลิตเหล่านี้ เป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นของอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค ซึ่งธนาคารกลางยุโรปตั้งเป้าที่จะลดลงสู่กรอบเป้าหมาย 2.0% จากอัตรา 4.2% ในเดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบสองปี
ทั้งนี้ คริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB ยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของสถาบันในการบรรลุอัตราเงินเฟ้อ 2% ภายในปี 2025 นอกจากนี้ เธอยังเน้นย้ำถึงราคาอาหารที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากความไม่แน่นอนจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจทำให้ส่งผลรุนแรงขึ้นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดีดตัว แข็งค่าขึ้น และรักษาระดับไว้ได้ หลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลายรายแย้มเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม รวมถึงนักลงทุนที่มองว่าการเทขายอย่างรวดเร็วจากสัปดาห์ก่อนมากเกินไปในระยะสั้น ส่งผลให้ตลาดเริ่มไม่แน่ใจว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ได้ถึงจุดสูงสุดแล้วหรือไม่ และ Fed จะเริ่มผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเมื่อใด
โดยตลาดฟิวเจอร์สระบุว่ามีโอกาสประมาณ 15% ที่เฟดอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนมกราคม และมีความน่าจะเป็น 22% ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นเดือนมีนาคม ตามที่ระบุโดยเครื่องมือ CME FedWatch
ทั้งนี้ หากพบการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนธันวาคม อาจเป็นการหนุนค่าเงิน USD ต่อไป และส่งแรงกดดันต่อคู่สกุลเงิน EUR/USD ได้ จึงอาจส่งผลให้เงินยูโรยังคงแนวโน้มถูกกดดันในกรอบขาลงได้อยู่บ้าง ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงความผันผวนและอาจปรับตัวขึ้นลงในกรอบขาชึ้นได้ในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.0704, 1.0711, 1.0722
แนวรับสำคัญ : 1.0682, 1.0675 , 1.0664
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0672 - 1.0682 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0682 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0710 และ SL ที่ประมาณ 1.0667 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0704 - 1.0714 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0728 และ SL ที่ประมาณ 1.0677 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0704 - 1.0714 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0704 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0681 และ SL ที่ประมาณ 1.0719 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0672 - 1.0682 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0660 และ SL ที่ประมาณ 1.0709 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 08, 2023 09:58AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.0652 | 1.0664 | 1.0681 | 1.0693 | 1.0710 | 1.0722 | 1.0739 |
Fibonacci | 1.0664 | 1.0675 | 1.0682 | 1.0693 | 1.0704 | 1.0711 | 1.0722 |
Camarilla | 1.0691 | 1.0694 | 1.0696 | 1.0693 | 1.0702 | 1.0704 | 1.0707 |
Woodie's | 1.0656 | 1.0666 | 1.0685 | 1.0695 | 1.0714 | 1.0724 | 1.0743 |
DeMark's | - | - | 1.0687 | 1.0696 | 1.0716 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2