การผลิตในอินเดียเริ่มมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง
เงินรูปีของอินเดียยังคงอยู่ในระดับ 83-83.4 รูปีต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแนวโน้มของรูปียังสามารถอ่อนค่าลงได้อีก เนื่องจากเงินทุนต่างประเทศมีการไหลออกอย่างต่อเนื่องซึ่งเกิดจากการที่นักลงทุนมีความกังวลด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ พบว่าธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ได้ขายทุนสำรองเงินตราต่างประเทศออกไปหลายครั้งเพื่อพยุงค่าเงินรูปีไม่ให้ตกลงไปต่ำกว่าระดับ 83.3 รูปีต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยขายไปมากกว่า 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสี่เดือนที่ผ่านมา
อัตราเงินเฟ้อในอินเดียลดลงเหลือ 4.87% ในเดือนตุลาคม ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.8% เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลง 0.39% ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อในอาหารมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะราคาเครื่องเทศที่เพิ่มขึ้นถึง 22.76% เมล็ดพันธ์พืช 18.79% ธัญพืช 10.65% ไข่ 9.3% และน้ำตาล 5.5%
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในอินเดียเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในเดือนกันยายน แม้ว่าการภาคผลิตจะยังคงเติบโตแต่ก็แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวที่เกิดขึ้น โดยที่การผลิตในโรงงานเพิ่มขึ้น 4.5% เทียบกับ 9.3% การขุดเหมืองเพิ่มขึ้น 11.5% เทียบกับ 12.3% และการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น 9.9% เทียบกับ 15.3% โดยตัวเปรียบเทียบทั้งหมดเป็นการเทียบกับเดือนสิงหาคม
PMI ภาคการบริการของอินเดียลดลงเหลือ 58.4 ในเดือนตุลาคม จาก 61.0 ในเดือนกันยายน แม้ว่าเศรษฐกิจในอินเดียจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่แรงกดดันด้านอุปสงค์และราคาสินค้าและบริการที่ลดลง ทำให้แนวโน้มการขยายตัวในภาคการบริการเริ่มกลับมาอ่อนตัวลงเล็กน้อย ด้านการจ้างงานและราคาวัตถุดิบยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราเงินเฟ้อต้นทุนผลผลิตมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจมีการลดลง
PMI ภาคการผลิตลดลงเหลือ 55.5 ในเดือนตุลาคม เนื่องจากกิจกรรมโรงงานที่เพิ่มขึ้นแต่เป็นอัตราการเติบโตที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 8 เดือน อีกทั้งปัญญาหาด้านต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนผลผลิตยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลด้านอุปสงค์ที่เริ่มลดลง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีลดลงอย่างรวดเร็วก่อนจะดีดตัวเข้าใกล้ 7.3% ในวันที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลด้านอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงในอินเดีย อีกทั้งได้รับผลกระทบมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ลดลงเช่นเดียวกันแม้ว่าจะมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อว่าอาจลดลงยากกว่าที่คิด ทำให้มีการคาดการณ์จากนักลงทุนว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงนี้จะยืดเยื้อต่อไป
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 83.331, 83.358, 83.385
แนวรับสำคัญ: 83.277, 83.250, 83.224
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 13 พฤศจิกายน 2566 20:48 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 83.224 | 83.250 | 83.277 | 83.304 | 83.331 | 83.358 | 83.385 |
Fibonacci | 83.250 | 83.271 | 83.283 | 83.304 | 83.325 | 83.337 | 83.358 |
Camarilla | 83.291 | 83.296 | 83.301 | 83.304 | 83.311 | 83.316 | 83.321 |
Woodie's | 83.226 | 83.251 | 83.279 | 83.305 | 83.333 | 83.359 | 83.387 |
DeMark's | - | - | 83.291 | 83.311 | 83.345 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 83.331 - 83.358 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.385 และ SL ที่ประมาณ 83.250 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 83.331 - 83.358 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 83.331 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.250 และ SL ที่ประมาณ 83.385 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 83.250 - 83.277 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.224 และ SL ที่ประมาณ 83.358 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 13 พฤศจิกายน 2566 20:48 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 48.658 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 26.188 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 0.000 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.012 | ซื้อ |
ADX(14) | 32.095 | ซื้อ |
Williams %R | -82.698 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -29.2313 | ถือหุ้นไว้ |
ATR(14) | 0.0885 | ผันผวนสูง |
Highs/Lows(14) | 0.0000 | ถือหุ้นไว้ |
Ultimate Oscillator | 40.183 | ขาย |
ROC | 0.059 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0155 | ซื้อ |
ซื้อ:4 ขาย:2 ถือหุ้นไว้:3 สรุป:ซื้อ |