เงินเฟ้อในยูโรโซนอาจลดลงเร็วกว่าที่คาด
เงินยูโรแข็งเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง โดยได้แรงหนุนจากการกล่าวสุนทรพจน์ของเจ้าหน้าที่ ECB และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง รวมถึงได้มีการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้ออาจจะลดลงเร็วกว่าที่คาด โดย Christine Lagarde ประธาน ECB ได้ยืนยันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนี้ให้นานขึ้น ทั้งนี้ การคาดการณ์เศรษฐกิจในฤดูใบไม้ร่วงอาจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและช่วยเพิ่มความมั่นใจของนักลงทุนมากขึ้น
GDP ในยูโรโซนหดตัว 0.1% ในไตรมาสที่ 3 นับว่าเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งเกิดจาก GDP ของประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มหดตัว โดยเยอรมนีหดตัว -0.1% อิตาลี 0% ฝรั่งเศสเติบโตเล็กน้อยที่ 0.1% และสเปนเติบโต 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ได้มีการคาดการณ์จาก ECB ว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนจะเติบโตเพียง 0.7% ในปี 2566 เท่านั้น เนื่องจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมาและราคาสินค้าที่สูงขึ้นส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศลดลงตามไปด้วย
ยอดค้าปลีกลดลง 0.3% ในเดือนกันยายน แสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่องและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นในรอบหลายปี ทำให้ยอดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารลดลง 1.9% นอกจากนี้การขายน้ำมันลดลง 0.9% โดยการค้าปลีกลดลงเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกันในเยอรมนีซึ่งลดลง 0.8%
อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนลดลงเหลือ 2.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในเดือนตุลาคม แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปที่ 2% โดยอัตราเงินเฟ้อลดลงสำหรับทั้งอาหารและเครื่องดื่มโดยลดลง 7.5% จาก 8.8% อัตราเงินเฟ้อภาคบริการยังคงค่อนข้างคงที่ที่ 4.6% โดยมีการสำรวจความคาดหวังของผู้บริโภคสำหรับอัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าพบว่ามีการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จากการสำรวจของ Bloomberg พบว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนอาจลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ภายในต้นปี 2568 ซึ่งเป็นการลดลงเร็วกว่าที่ ECB คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน 2567
อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 6.5% จาก 6.4% ในเดือนก่อนหน้า โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 69,000 คนจากเดือนก่อนหน้าเป็น 11.017 ล้านคน อัตราว่างงานต่ำสุดถูกบันทึกไว้ในเยอรมนี ที่ 3% ในขณะที่อัตราการว่างงานสูงสุดพบในสเปนที่ 12% โดยปัญหายังคงเกิดจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทำให้บริษัทปรับลดพนักงานลง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9298, 0.9366, 0.9400
แนวรับสำคัญ: 0.9196, 0.9162, 0.9094
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 14 พฤศจิกายน 2566 22:39 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9094 | 0.9162 | 0.9196 | 0.9264 | 0.9298 | 0.9366 | 0.9400 |
Fibonacci | 0.9162 | 0.9201 | 0.9225 | 0.9264 | 0.9303 | 0.9327 | 0.9366 |
Camarilla | 0.9203 | 0.9212 | 0.9221 | 0.9264 | 0.9240 | 0.9249 | 0.9259 |
Woodie's | 0.9078 | 0.9154 | 0.9180 | 0.9256 | 0.9282 | 0.9358 | 0.9384 |
DeMark's | - | - | 0.9180 | 0.9256 | 0.9282 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9298 - 0.9366 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9400 และ SL ที่ประมาณ 0.9162 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9298 - 0.9366 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9298 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9162 และ SL ที่ประมาณ 0.9400 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9162 - 0.9196 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9094 และ SL ที่ประมาณ 0.9366 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 14 พฤศจิกายน 2566 22:39 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 25.962 | ขาย |
STOCH(9,6) | 51.573 | ถือหุ้นไว้ |
STOCHRSI(14) | 3.543 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.002 | ขาย |
ADX(14) | 35.655 | ขาย |
Williams %R | -96.920 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -349.8277 | ขายมากเกินไป |
ATR(14) | 0.0022 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.0098 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 26.761 | ขายมากเกินไป |
ROC | -1.459 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0174 | ขาย |
ซื้อ:0 ขาย:6 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ขายทันที |