ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวลง เศรษฐกิจออสเตรเลียเผชิญแรงกดดัน
ค่าจ้างของออสเตรเลียพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นประโยชน์ต่อแรงงานหลายล้านคน ท่ามกลางการแข่งขันที่ร้อนแรงระหว่างนายจ้าง โดยถึงแม้จะพบการเติบโตของค่าจ้างที่สูงขึ้น แต่ความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตยังคงมีความไม่แน่นอน
ทั้งนี้ ดัชนีราคาค่าจ้างตามรายงานโดยสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 1.3% ในไตรมาสเดือนกันยายน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์และถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายไตรมาสที่สูงที่สุดในรอบ 26 ปี อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) คาดการณ์ว่าการแข่งขันการจ้างแรงงานจะลดลง และคาดว่าการเติบโตของค่าจ้างจะลดลงในปี 2567
อย่างไรก็ดี แม้จะพบการเติบโตของค่าจ้าง แต่ความกังวลจากต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็ได้สร้างความกังวล โดยสาเหตุหนึ่งมาจากชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มขึ้นและการชะลอตัวของผลิตภาพ (Productivity) ส่งผลให้ผู้กำหนดนโยบายเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการฟื้นฟูผลิตภาพเพื่อป้องกันอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอีกเป็นเวลานาน
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อในออสเตรเลียทรงตัวมากกว่าที่คาด โดยภาคบริการยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านราคา หลังจากที่ RBA ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 4.35% เพื่อตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้อ โดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงเหลือ 4.5% จากจุดสูงสุดที่ 5.4% ในเดือนกันยายนภายในสิ้นปีนี้ และตั้งเป้าที่จะไปถึงอัตราเป้าหมายที่ 2%-3% ภายในปลายปี 2568
นอกจากนี้ แม้ว่าความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจออสเตรเลียจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนภาครัฐและภาคธุรกิจที่แข็งแกร่ง และการกลับมาของนักศึกษาต่างชาติและนักท่องเที่ยว รวมถึงรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้มั่งคั่งในสินทรัพย์ แนวโน้มทางเศรษฐกิจยังคงชี้ให้เห็นถึงการเติบโตที่คาดว่าจะยังคงต่ำกว่าแนวโน้มปกติในปีหน้าอยู่
โดย UBS คาดการณ์ว่า GDP ออสเตรเลียจะชะลอตัวลงเหลือ 1.6% ในปี 2567 โดยคาดการณ์ถึงอัตราการว่างงานที่จะเพิ่มขึ้น ขณะที่การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2568 ได้ก่อให้เกิดความไม่แน่นอน ทั้งจากการคงอัตราดอกเบี้ย กลุ่มวัยเบบี้บูมที่เพิ่มมากขึ้น และความท้าทายที่เกิดขึ้นในกลุ่มวัยอายุที่น้อยลงมา
ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคม ภาคธุรกิจในออสเตรเลียยังคงความแข็งแกร่ง ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในออสเตรเลียยังคงได้รับผลกระทบในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจาก RBA ขึ้นอัตราดอกเบี้ย สร้างความกังวลถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อช่วงเทศกาลวันหยุดที่มีปริมาณการซื้อขายคับคั่ง โดยจากการสำรวจ พบผู้ตอบแบบสอบถามถึง 40% วางแผนในการจับจ่ายซื้อของขวัญน้อยลง ขณะที่การคาดการณ์ของ RBA เกี่ยวกับตลาดงานที่เริ่มเย็นลงและกิจกรรมทางธุรกิจโดยรวม อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมากขึ้นในสิ้นปีนี้
ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างออสเตรเลียและจีนพบสัญญาณที่ดีขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่จีนจะยกเลิกการปิดกั้นทางการค้าในเดือนหน้า หลังจากที่นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีส ได้เยือนกรุงปักกิ่ง
อีกด้าน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วงลงมากกว่า 1% เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก จากข้อมูลราคาผู้บริโภคในเดือนตุลาคมที่เผยให้เห็นถึงอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง โดยในช่วงรอบปีในเดือนตุลาคม ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 3.2% ลดลงจาก 3.7% ในเดือนกันยายน ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงทันที ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง โดยดัชนีอ้างอิง 10 ปีลดลงต่ำกว่า 4.5% และจากเครื่องมือ FedWatch ของ CME ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในขณะนี้บ่งชี้ถึงความน่าจะเป็นมากกว่า 68% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดหรือมากกว่านั้นภายในเดือนพฤษภาคม จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวขึ้นลงในกรอบบนและถูกกดดันน้อยลงในช่วงนี้ โดยจะยังคงแนวโน้มอ่อนค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะกลางเนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่ยังคงต่างกันมาก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6507, 0.6513, 0.6524
แนวรับสำคัญ : 0.6487, 0.6481, 0.6470
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6477 - 0.6487 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6487 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6508 และ SL ที่ประมาณ 0.6472 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6507 - 0.6517 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6530 และ SL ที่ประมาณ 0.6482 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6507 - 0.6517 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6507 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6481 และ SL ที่ประมาณ 0.6522 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6477 - 0.6487 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6460 และ SL ที่ประมาณ 0.6512 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 15, 2023 10:28AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6455 | 0.6470 | 0.6481 | 0.6497 | 0.6508 | 0.6524 | 0.6535 |
Fibonacci | 0.6470 | 0.6481 | 0.6487 | 0.6497 | 0.6507 | 0.6513 | 0.6524 |
Camarilla | 0.6484 | 0.6487 | 0.6489 | 0.6497 | 0.6494 | 0.6496 | 0.6499 |
Woodie's | 0.6451 | 0.6468 | 0.6477 | 0.6495 | 0.6504 | 0.6522 | 0.6531 |
DeMark's | - | - | 0.6475 | 0.6494 | 0.6502 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2