GDP ของญี่ปุ่นหดตัวอย่างรุนแรงจากการบริโภคที่ลดลง
เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงต่อเนื่องก่อนดีดตัวขึ้นมาสู่ระดับประมาณ 150.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนได้เห็นข้อมูล GDP ของญี่ปุ่นที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในไตรมาสที่ 3 ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัวลงและอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่ยังคงทรงตัวและไม่มีแน้วโน้มว่าจะลดลงในเร็วๆ นี้
การตัดสินใจควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ได้ช่วยให้นักลงทุนมีมุมมองที่ดีขึ้นสำหรับค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ Kazuo Ueda ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการ BoJ ได้ยอมรับว่าความแตกต่างทางนโยบายทางการเงินที่กว้างขึ้นทำให้เกิดเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างช่วยไม่ได้ ถึงอย่างนั้น BoJ ยังไม่มีมาตราการที่จะพยุงค่าเงินเยนโดยตรง
เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัว 0.5% เทียบจากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งหดตัวมากกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าจะหดตัวเพียง 0.1 เท่านั้น โดยได้รับผลกระทบมาจากแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้นและเงินเฟ้อที่ทรงตัว อีกทั้ง การบริโภคของบริษัทภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของ DGP ชะลอตัวลงอย่างไม่คาดคิด
ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นพบว่าเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น 2,726.3 พันล้านเยนในเดือนกันยายน โดยการส่งออกเพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่การนำเข้าลดลง 18.1% นอกจากนี้เงินเยนที่อ่อนค่าลงทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นรายได้ที่ได้จากภาคการท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งนี้ พบว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลงอย่างมากคาดว่าเกิดจากเงินเยนที่อ่อนค่าลงทำให้กำไรเมื่อแปลงเป็นดอลลาร์ลดลงด้วย
ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจชั้นนำในญี่ปุ่น ซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าลดลงเหลือ 108.7 ในเดือนกันยายน โดยได้รับผลกระทบจากกิจกรรมโรงงานที่หดตัวอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีแรงกดดันด้านราคาทำให้การขึ้นราคาสินค้าและบริการต่างๆ เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากความคาดหวังในการปรับขึ้นรายได้ที่ลดลง และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่สุงขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีร่วงลงต่ำกว่า 0.80% แตะระดับต่ำสุดในรอบเดือน ซึ่งสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลงเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ลดลงมากกว่าที่คาด ทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 150.77, 150.88, 151.03
แนวรับสำคัญ: 150.51, 150.36, 150.26
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 15 พฤศจิกายน 2566 17:30 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 150.26 | 150.36 | 150.51 | 150.62 | 150.77 | 150.88 | 151.03 |
Fibonacci | 150.36 | 150.46 | 150.52 | 150.62 | 150.72 | 150.78 | 150.88 |
Camarilla | 150.60 | 150.63 | 150.65 | 150.62 | 150.70 | 150.72 | 150.75 |
Woodie's | 150.30 | 150.38 | 150.55 | 150.64 | 150.81 | 150.90 | 151.07 |
DeMark's | - | - | 150.57 | 150.65 | 150.83 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 150.77 - 150.88 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.03 และ SL ที่ประมาณ 150.36 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 150.77 - 150.88 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 150.77 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.36 และ SL ที่ประมาณ 151.03 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 150.36 - 150.51 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.26 และ SL ที่ประมาณ 150.88 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 15 พฤศจิกายน 2566 17:30 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 37.146 | ขาย |
STOCH(9,6) | 33.613 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 8.146 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.020 | ขาย |
ADX(14) | 40.848 | ขาย |
Williams %R | -86.592 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -134.1728 | ขาย |
ATR(14) | 0.3668 | ผันผวนสูง |
Highs/Lows(14) | -0.7279 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 35.314 | ขาย |
ROC | -0.749 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.9240 | ขาย |
ซื้อ:0 ขาย:9 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ขายทันที |