จีนยังคงมีปัญหาเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่ำกว่าที่คาด
เงินหยวนแข็งค่าขึ้นที่ประมาณ 7.24 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากมีการรายงานว่ายอดค้าปลีกและตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ดีกว่าคาดในเดือนตุลาคม อีกทั้งรัฐบาลจีนยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อและ PMI ภาคการผลิตที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงมากกว่าที่คาดไว้ ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าทางธนาคารกลางจีน (PBoC) จะผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตที่เป็นพื้นฐานและรายได้หลักของประเทศ
ยอดค้าปลีกของจีนเพิ่มขึ้น 7.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในเดือนตุลาคม โดยเพิ่มขึ้นจาก 5.5% ในเดือนก่อนหน้า ถือได้ว่าเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง โดยยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในภาคส่วนต่างๆ เช่น รถยนต์ที่เพิ่มขึ้น 11.4% จาก 2.8% และ อุปกรณ์สื่อสารที่เพิ่มขึ้น 14.6% จาก 0.4%
อัตราเงินเฟ้อของจีนกลับมาติดลบที่ 0.2% อีกครั้งเมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในเดือนตุลาคม โดยทางสำนักงานสถิติระบุว่าเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นผลมาจากอุปทานผลผลิตทางการเกษตรที่ยังคงทรงตัวแม้ว่าจะเป็นช่วงหยุดยาวของจีนที่เรียกว่า Golden Week ก็ตาม อีกทั้ง สภาพอากาศที่ดีขึ้นยังทำให้ผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ราคาอาหารยังลดลงมากที่สุดในรอบ 25 เดือน โดยลดลง 4% จาก 3.2% ในเดือนกันยายน เนื่องจากราคาเนื้อหมูลดลงอย่างมาก ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ไม่ใช่อาหารก็ยังคงทรงตัว
ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น, การผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนที่ขยายตัวขึ้นและอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ต้นปี แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนยังคงส่งผลลัพธ์ที่ดี โดยอัตราการว่างงานในเมืองใหญ่ทั้ง 31 เมืองลดลงเหลือ 5% จาก 5.2% อีกทั้งรัฐบาลยังตั้งเป้าหมายอัตราการว่างงานไว้ที่ประมาณ 5.5% ซึ่งไม่ได้เกิดจากการลดกำลังคนแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานใหม่ในตัวเมืองประมาณ 12 ล้านตำแหน่ง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีลดลงต่ำกว่า 2.7% จากยอดขายปลีกและตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนของจีนยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน เนื่องจากสัญญาณของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงเปราะบางและไม่มั่นคง เนื่องจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่จบ นอกจากนี้เงินเฟ้อที่ลดลงทำให้มีการคาดการณ์ว่าจีนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเงินเฟ้อให้สูงขึ้นภายในต้นปีหน้า
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 7.2552, 7.2615, 7.2657
แนวรับสำคัญ: 7.2448, 7.2407, 7.2344
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 16 พฤศจิกายน 2566 22:38 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 7.2344 | 7.2407 | 7.2448 | 7.2511 | 7.2552 | 7.2615 | 7.2657 |
Fibonacci | 7.2407 | 7.2446 | 7.2471 | 7.2511 | 7.2551 | 7.2576 | 7.2615 |
Camarilla | 7.2460 | 7.2469 | 7.2479 | 7.2511 | 7.2498 | 7.2508 | 7.2517 |
Woodie's | 7.2332 | 7.2401 | 7.2436 | 7.2505 | 7.2540 | 7.2609 | 7.2645 |
DeMark's | - | - | 7.2427 | 7.2500 | 7.2531 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2552 - 7.2615 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2657 และ SL ที่ประมาณ 7.2407 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2552 - 7.2615 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 7.2552 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2407 และ SL ที่ประมาณ 7.2657 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 7.2407 - 7.2448 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2344 และ SL ที่ประมาณ 7.2615 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 16 พฤศจิกายน 2566 22:38 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 30.826 | ขาย |
STOCH(9,6) | 29.465 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 25.920 | ขาย |
MACD(12,26) | -0.013 | ขาย |
ADX(14) | 62.555 | ขาย |
Williams %R | -84.198 | ขายมากเกินไป |
CCI(14) | -75.4553 | ขาย |
ATR(14) | 0.0102 | ผันผวนสูง |
Highs/Lows(14) | -0.0157 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 44.305 | ขาย |
ROC | -0.681 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.0227 | ขาย |
ซื้อ:0 ขาย:10 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ขายทันที |