เยนแข็งค่าขึ้น นักลงทุนทั่วโลกจับตาดูเฟด
สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากความกังวลที่ลดลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ขณะที่นักลงทุนให้ความสนใจไปที่การเผยแพร่รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประจำเดือนตุลาคมที่กำลังจะเกิดขึ้น ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับมาตรการของจีนในการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังย่ำแย่
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้ยังได้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเงินเยนของญี่ปุ่น รวมถึงแรงหนุนจากความคาดหวังที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นอาจปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษในปีหน้า ส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.6% ในวันอังคาร แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์ที่ทางการของญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงในตลาดสกุลเงินอีกครั้ง
ทั้งนี้ แม้ว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้น แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตจากจุดยืนของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการปรับลดแนวโน้มเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน ถือเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ท่ามกลางอุปสงค์ที่อ่อนแอที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายด้านทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภค นำไปสู่ความระมัดระวังในการประเมินอัตราการฟื้นตัว
อย่างไรก็ดี ในความพยายามที่จะบรรเทาผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่มีต่อเศรษฐกิจ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเกิน 17 ล้านล้านเยน (113 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยแม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่าจะพบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง แต่ก็รับทราบถึงความเสี่ยงจากภาวะตึงตัวทางการเงินทั่วโลกและจากเศรษฐกิจจีน
ในขณะเดียวกัน อัตราค่าจ้างญี่ปุ่นซึ่งปรับตามอัตราเงินเฟ้อ ลดลงต่อเนื่อง 18 เดือนจนถึงเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม นายจ้างรายใหญ่หลายรายคาดว่าจะปรับขึ้นค่าจ้างในฤดูใบไม้ผลิปี 2024 หลังมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากไปแล้วในปีนี้ โดยการปรับขึ้นค่าจ้างนี้มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และสร้างเงื่อนไขให้ธนาคารกลางค่อยๆ ปรับลดมาตรการกระตุ้นทางการเงินในวงกว้าง
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคหลักของญี่ปุ่นในเดือนตุลาคม มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง โดยคาดว่าจะยังคงอยู่เหนือเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางเป็นเดือนที่ 19 ติดต่อกัน ซึ่งรัฐบาลมีกำหนดเปิดเผยข้อมูล CPI ประจำเดือนตุลาคมในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ เวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
อีกด้าน ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วงต่ำเมื่อเร็วๆ นี้ สร้างความคาดหวังถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในฤดูใบไม้ผลิปี 2024 ในขณะที่รายงานการประชุมจากเฟดในเดือนตุลาคม ที่มีการคงอัตราดอกเบี้ย จะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการเงินต่อไปได้ โดยนักลงทุนได้ตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้อและตลาดแรงงานที่อ่อนตัวและคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่จะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมถึงโอกาส 30% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในเดือนมีนาคม 2024
อย่างไรก็ดี แม้ว่าความเชื่อมั่นของตลาดจะเอนเอียงไปทางท่าทีที่ผ่อนคลายของเฟด แต่ธนาคารกลางยังคงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้สูงเป็นระยะเวลานานขึ้นเพื่อจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ โดยปฏิทินเศรษฐกิจประจำสัปดาห์นี้จะประกอบด้วยตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น การขอสินเชื่อจำนองจาก MBA คำสั่งซื้อสินค้าคงทน การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากมิชิแกน และ PMI ภาคการผลิต/บริการทั่วโลกของ S&P โดยในช่วงนี้ แม้เงินเยนอาจมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกว่าดอลลาร์สหรัฐฯ ได้บ้างเล็กน้อย แต่ในระยะกลางคาดว่าจะยังถูกกดดันอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 148.38, 148.47, 148.62
แนวรับสำคัญ : 148.08, 147.99 , 147.84
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 147.98 – 148.08 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 148.08 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.44 และ SL ที่ประมาณ 147.93 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 148.38 – 148.48 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.70 และ SL ที่ประมาณ 148.03 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 148.38 – 148.48 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 148.38 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.05 และ SL ที่ประมาณ 148.53 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 147.98 – 148.08 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.80 และ SL ที่ประมาณ 148.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 22, 2023 10:04AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 147.66 | 147.84 | 148.05 | 148.23 | 148.44 | 148.62 | 148.83 |
Fibonacci | 147.84 | 147.99 | 148.08 | 148.23 | 148.38 | 148.47 | 148.62 |
Camarilla | 148.14 | 148.17 | 148.21 | 148.23 | 148.28 | 148.32 | 148.35 |
Woodie's | 147.66 | 147.84 | 148.05 | 148.23 | 148.44 | 148.62 | 148.83 |
DeMark's | - | - | 147.94 | 148.18 | 148.33 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2