เศรษฐกิจรัสเซียยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
รูเบิลรัสเซียกลับมาแข็งค่าขึ้นเกิน 89 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างรวดเร็ว ซึ่งแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน โดยได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารกลางรัสเซีย (CBR) และยังพบว่ามีการไหลเข้าจากสกุลเงินต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น โดยมาตราการที่ผ่านมาของประธานาธิบดีปูตินที่มีการบังคับให้มีการแปลงค่าเงินให้เป็นรูเบิลจากบริษัทที่มุ่งเน้นการส่งออกถึง 43 แห่ง
ทั้งนี้ การขายสินทรัพย์ของบริษัทตะวันตกยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่ความกังวลด้านอัตราแลกเปลี่ยนเริ่มมีการลดลง โดยมีการพบว่าสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับรัสเซียอย่างมหาศาล แม้ว่าจะมีการคว่ำบาตรน้ำมันของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ แต่รัสเซียก็สามารถเลี่ยงการคว่ำบาตรโดยการส่งออกน้ำมันดิบทางทะเล
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของรัสเซียขยายตัว 5.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่จะขยายตัว 4.8% นับเป็นอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2021 ตัวเลข GDP ที่สูงขึ้นได้รับแรงสนับสนุนจากราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นและอุปทานที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นจากการสนับสนุนของรัฐบาล
แม้ว่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของรัสเซียจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นเป็น 16.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงอย่างมากจาก 47.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว การขาดดุลบริการที่เกิดขึ้นยังคงเป็นปัญหาหลักและส่งผลถึงปัญหาการคลังในระยะยาว
อัตราเงินเฟ้อราคาผู้ผลิต (PPI) ในรัสเซียเพิ่มขึ้นเป็น 21.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนตุลาคม พบว่าเร่งตัวขึ้นจาก 17.6% ในเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางวิกฤตกำลังแรงงานที่ขาดแคลนและความกดดันด้านกำลังการผลิต นอกจากนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ CBR ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีของรัสเซียทรงตัวประมาณ 12% ในช่วงครึ่งเดือนหลังของเดือนพฤศจิกายน แม้ว่าจะมีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ CBR แต่ความผันผวนด้านค่าเงินรวมถึงความมั่นคงของประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนยังไม่เข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลรัสเซีย นอกจากนี้ การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลและค่าใช้จ่ายด้านสงครามที่สูงขึ้นยังคงเป็นความเสี่ยงด้านการคลังของรัสเซีย
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 88.5625, 88.7341, 88.9794
แนวรับสำคัญ: 88.1456, 88.1456, 87.7287
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 23 พฤศจิกายน 2566 22:40 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 87.7287 | 87.9003 | 88.1456 | 88.3172 | 88.5625 | 88.7341 | 88.9794 |
Fibonacci | 87.9003 | 88.0596 | 88.1579 | 88.3172 | 88.4765 | 88.5748 | 88.7341 |
Camarilla | 88.2762 | 88.3144 | 88.3526 | 88.3172 | 88.4290 | 88.4672 | 88.5054 |
Woodie's | 87.7655 | 87.9187 | 88.1824 | 88.3356 | 88.5993 | 88.7525 | 89.0162 |
DeMark's | - | - | 88.2313 | 88.3601 | 88.6483 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 88.5625 - 88.7341 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 88.9794 และ SL ที่ประมาณ 88.1456 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 88.5625 - 88.7341 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 88.5625 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 88.1456 และ SL ที่ประมาณ 88.9794 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 88.1456 - 88.1456 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.23 และ SL ที่ประมาณ 88.7341 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 23 พฤศจิกายน 2566 22:40 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 39.851 | ขาย |
STOCH(9,6) | 70.086 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 100.000 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.535 | ขาย |
ADX(14) | 40.776 | ซื้อ |
Williams %R | -21.664 | ซื้อ |
CCI(14) | 71.8601 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.2775 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.0853 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 48.932 | ขาย |
ROC | 0.095 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.0529 | ซื้อ |
ซื้อ:7 ขาย:3 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ซื้อทันที |