หุ้นเอเชียร่วงจากความกังวลเศรษฐกิจจีน นลท. จับตาดัชนีเศรษฐกิจเพิ่มเติม
หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในวันจันทร์ โดยได้รับอิทธิพลจากสัญญาณที่อ่อนแอจากประเทศจีน และความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นต่อการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญตลอดทั้งสัปดาห์ ตลาดหุ้นจีน โดยเฉพาะดัชนี Shanghai Shenzhen CSI 300 และ SSEC เป็นดัชนีที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดของวัน โดยลดลง 1.1% และ 0.7% ตามลำดับ จากข้อมูลที่บ่งชี้ว่าผลกำไรทางอุตสาหกรรมของจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงความท้าทายอย่างต่อเนื่องในภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศ ขณะที่นักลงทุนยังคงรอคอยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทางการจีน
ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางจีนเปิดเผยรายงานการดำเนินงานตามนโยบายรายไตรมาส โดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการลดความเสี่ยงเชิงระบบ และใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดและตรงเป้าหมายเพื่อรองรับอุปสงค์ในประเทศ แม้จะมีสัญญาณบ่งบอกถึงเศรษฐกิจจีนที่มีแรงผลักดันเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความท้าทายต่างๆ เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ไม่สมดุล และรากฐานที่ไม่มั่นคงในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
อย่างไรก็ดี ผลกำไรของบริษัทอุตสาหกรรมในจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกันในเดือนตุลาคม แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ช้าลง ซึ่งบ่งชี้ถึงความต้องการการสนับสนุนนโยบายเพิ่มเติมจากปักกิ่ง หลังจากที่จีนได้ดำเนินมาตรการนโยบายต่างๆ ตลอดทั้งปีเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาด โดยมุ่งจัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ เช่น การชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ความเสี่ยงเกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น การชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลก และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
ทางด้าน Nikkei 225 ของญี่ปุ่นร่วงลง 0.5% จากระดับสูงสุดในรอบ 33 ปีของสัปดาห์ก่อน จากข้อมูล PMI ที่อ่อนแอ และได้สร้างความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของกิจกรรมทางธุรกิจในญี่ปุ่น ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากความต้องการที่ซบเซาในตลาดส่งออกหลัก ขณะที่แนวโน้มท่าทีนโยบายผ่อนคลายจากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงสนับสนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ Nikkei มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 8% ในเดือนพฤศจิกายน
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเผชิญกับการเติบโตของราคาผู้บริโภคพื้นฐานเล็กน้อยในเดือนตุลาคม ซึ่งตอกย้ำอัตราเงินเฟ้อที่คงอยู่ และอาจกระตุ้นให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นพิจารณาถึงมาตรการกระตุ้นทางการเงินในปัจจุบันอีกครั้ง
ในขณะเดียวกัน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม แม้ว่าจะเกิดการหยุดชะงักของผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำอย่าง Toyota ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อข้อมูล ขณะที่ผลผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การสำรวจธุรกิจในเดือนพฤศจิกายนเผยให้เห็นกิจกรรมโรงงานหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยเน้นย้ำให้เห็นถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจท่ามกลางอุปสงค์ที่อ่อนตัวและอัตราเงินเฟ้อ โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เผชิญกับความท้าทายจากการชะลอตัวในเศรษฐกิจแหล่งส่งออกหลัก โดยเฉพาะจีน ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดมุมมองเศรษฐกิจเดือนพฤศจิกายน โดยอ้างถึงอุปสงค์ที่อ่อนแอซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายด้านทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ตามมาด้วยข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่หดตัวในเดือนกรกฎาคม-กันยายนเป็นครั้งแรกในรอบสามไตรมาส
ทางด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดีย มีแนวโน้มชะลอลงในไตรมาสเดือนกันยายน แต่ยังคงความแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมการบริการที่แข็งแกร่งและอุปสงค์ในเมือง โดยการเติบโตของ GDP ของประเทศคาดว่าจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 6.8% จาก 7.8% ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนถึงการชะลอตัวเพียงเล็กน้อย เมื่อเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของ GDP ยังคงแข็งแกร่ง ท่ามกลางมรสุมที่ไม่แน่นอน
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้จะอยู่ที่ข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของจีนในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี โดยคาดว่าจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจได้ หลังจาก PMI ที่อ่อนแออย่างมากในเดือนตุลาคม ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของจีน ที่ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อดัชนีเอเชีย จากการมีบทบาทในการเป็นจุดหมายปลายทางทางการค้าที่สำคัญในภูมิภาค
นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากข้อมูล PMI ที่อ่อนแอจากญี่ปุ่น ยูโรโซน และสหรัฐอเมริกา ยังส่งผลและบั่นทอนต่อมุมมองเชิงบวกก่อนหน้านี้ในตลาดเอเชีย และอาจนำไปสู่แรงกดดันเพิ่มเติมหากนักลงทุนตัดสินใจที่จะเก็บเกี่ยวผลกำไรล่าสุด
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD JP225 Nikkei 225 Futures - Dec 23
แนวต้านสำคัญ : 33399.2, 33421.2, 33456.7
แนวรับสำคัญ : 33328.2, 33306.2, 33270.7
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 33286.2 - 33328.2 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 33328.2 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33399.2 และ SL ที่ประมาณ 33265.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 33399.2 - 33441.2 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33480.0 และ SL ที่ประมาณ 33307.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 33399.2 - 33441.2 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 33399.2 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33304.4 และ SL ที่ประมาณ 33462.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 33286.2 - 33328.2 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33215.0 และ SL ที่ประมาณ 33420.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 28, 2023 09:54AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 33211.4 | 33270.7 | 33304.4 | 33363.7 | 33397.4 | 33456.7 | 33490.4 |
Fibonacci | 33270.7 | 33306.2 | 33328.2 | 33363.7 | 33399.2 | 33421.2 | 33456.7 |
Camarilla | 33312.4 | 33320.9 | 33329.5 | 33363.7 | 33346.5 | 33355.1 | 33363.6 |
Woodie's | 33198.4 | 33264.2 | 33291.4 | 33357.2 | 33384.4 | 33450.2 | 33477.4 |
DeMark's | - | - | 33334 | 33378.5 | 33427 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2