ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหาด้านการผลิตที่ลดลง
เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนที่จะกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันนี้ โดยปัจจัยหลักมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากสัญญาณของการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ รวมถึงนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้สิ้นสุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วและอาจเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า ทางด้านอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางความอ่อนแออย่างต่อเนื่องในภาคการผลิต
อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 3.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนตุลาคม จาก 3.0% ในเดือนก่อนหน้า เงินเฟ้อในตอนนี้ยังอยู่นอกเป้าหมาย 2% ของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยราคาสินค้าส่วนใหญ่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เช่นเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือน เพิ่มขึ้น 6.9% ในขณะเดียวกัน ราคาเชื้อเพลิงลดลง 10.0% อีกทั้ง ค่าไฟฟ้ายังลดลงถึง 16.8% ซึ่งส่งผลดีต่อหลายบริษัททำให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ง่ายขึ้น
เงินเฟ้อในราคาอาหารในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 8.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมในปี 1976 โดยราคาเนื้อสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้น 4.7% ราคาผลิตภัณฑ์นมและไข่เพิ่มขึ้นสูงถึง 19.2% นอกจากนี้ราคาสินค้าประเภทผักสด, ผลไม้สดและธัญพืชมีการเพิ่มขึ้นสูงถึง 14.3%
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนการรับสมัครพนักงานและความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับลดลงเป็น 108.9 ซึ่งเกิดจากกิจกรรมในโรงงานที่หดตัวอย่างรวดเร็วในเดือนกันยายนและยังส่งผลให้ผลผลิตหดตัวมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในด้านการเติบโตของรายได้และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
PMI ภาคการผลิตลดลงเหลือ 48.1 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 48.8 แสดงถึงการหดตัวของกิจกรรมโรงงานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิตที่สามารถผลิตได้ปรับลดลง นอกจากนี้ ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นทำให้การจ้างงานลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นสูงกว่า 0.75% อีกครั้ง หลังปรับตัวลดลงจากราคาพันฐบัตรทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่ในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจในประเทศ นอกจากนี้ BOJ ได้ทำการปรับนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนเพิ่มเติม โดยปรับไปที่ 1% อีกทั้ง BOJ ยังปรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นสำหรับปีงบประมาณ 2023, 2024 และ 2025 และจะค่อยๆปรับลดลงจนเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 148.98, 149.27, 149.70
แนวรับสำคัญ: 148.26, 147.83, 147.54
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 28 พฤศจิกายน 2566 19:02 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 147.54 | 147.83 | 148.26 | 148.55 | 148.98 | 149.27 | 149.70 |
Fibonacci | 147.83 | 148.11 | 148.27 | 148.55 | 148.83 | 148.99 | 149.27 |
Camarilla | 148.50 | 148.56 | 148.63 | 148.55 | 148.76 | 148.83 | 148.89 |
Woodie's | 147.62 | 147.87 | 148.34 | 148.59 | 149.06 | 149.31 | 149.78 |
DeMark's | - | - | 148.41 | 148.62 | 149.13 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 148.98 - 149.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.70 และ SL ที่ประมาณ 147.83 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 148.98 - 149.27 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 148.98 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.83 และ SL ที่ประมาณ 149.70 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 147.83 - 148.26 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.54 และ SL ที่ประมาณ 149.27 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 28 พฤศจิกายน 2566 19:02 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 39.954 | ขาย |
STOCH(9,6) | 37.579 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 29.201 | ขาย |
MACD(12,26) | -0.270 | ขาย |
ADX(14) | 40.763 | ขาย |
Williams %R | -74.856 | ขาย |
CCI(14) | -112.3643 | ขาย |
ATR(14) | 0.3936 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.4750 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 44.279 | ขาย |
ROC | -0.815 | ขาย |
Bull/Bear Power(13) | -0.5510 | ขาย |
ซื้อ:0 ขาย:11 ถือหุ้นไว้:0 สรุป:ขายทันที |