BOJ คงท่าทีผ่อนคลาย; ดอลลาร์ทรงตัวท่ามกลางการคาดการณ์การลดอัตราดอกเบี้ย
สกุลเงินเอเชียปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพุธ โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง กระตุ้นให้เกิดความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ และช่วยชดเชยความกังวลเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจของจีนล่าสุด
ทางด้านคู่สกุลเงิน USD/JPY ยังคงความยืดหยุ่น โดยทรงตัวเหนือระดับต่ำสุดในรอบสามเดือนในช่วงเซสชั่นเอเชีย ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น นายเรียวโซ ฮิมิโนะ ยังคงท่าทีนโยบายแบบผ่อนคลาย โดยเน้นย้ำถึงการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายเสถียรภาพด้านราคาของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของโตเกียวอ่อนตัวลงมากกว่าคาด สอดคล้องกับมุมมองของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นที่คาดว่าแรงกดดันด้านต้นทุนในระบบเศรษฐกิจจะค่อยๆ คลี่คลายลง ในขณะที่ราคาค่าบริการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 โดยได้แรงหนุนจากค่าธรรมเนียมโรงแรมที่พุ่งสูงขึ้น
ทางด้านดัชนีราคาพื้นฐาน ที่ไม่รวมราคาอาหารสดและราคาน้ำมัน เพิ่มขึ้น 3.6% ในเดือนพฤศจิกายน ชะลอตัวจากเดือนก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงเกินเป้าหมาย 2% ของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นมานานกว่าหนึ่งปี ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปีหน้า
ในขณะเดียวกัน การใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นลดลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นยอดค้าปลีกในเดือนตุลาคมที่ต่ำกว่าการคาดการณ์เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ค่าจ้างที่ซบเซา และเงินเยนที่อ่อนค่า โดยจากการสำรวจของรอยเตอร์ที่กำลังจะมีขึ้น ชี้ให้เห็นถึงตัวเลขปรับปรุงการลงทุนภาคเอกชนที่สูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ข้อมูล GDP ที่ปรับปรุงแล้วสำหรับเดือนกรกฎาคม-กันยายน คาดว่าจะหดตัวที่ 2.0% โดยแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุนของเอกชนจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ยังมีแนวโน้มความไม่แน่นอนภายในประเทศและระดับโลก ท่ามกลางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่กำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะจากประเทศจีน ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อผู้ผลิต
อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตในญี่ปุ่นยังคงแสดงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยภาคยานยนต์ฟื้นตัวจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในปีที่แล้ว ขณะที่กิจกรรมการบริการแม้จะขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบปี แต่ยังคงแนวโน้มเชิงบวก โดยภาคธุรกิจบริการยังคงเป็นจุดแข็งสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ที่ช่วยชดเชยความท้าทายในภาคการผลิต
ทางด้านนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการ BOJ เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษานโยบายที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ จนกว่าอัตราเงินเฟ้อที่ผลักดันจากต้นทุนจะเปลี่ยนไปสู่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ ที่ได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลกและการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนแอ ก็ได้ส่งผลให้โอกาสในการออกจากมาตรการผ่อนคลายของ BOJ ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะหลังจากที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นพบการหดตัวในเดือนกรกฎาคม-กันยายนที่ผ่านมา
ในภาพรวมทั่วโลก ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ยังคงพบสัญญาณและแนวโน้มของการอ่อนค่าของค่าเงินจากความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงต้นปี 2024 ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงและความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ Fed ที่ได้กระตุ้นให้เกิดความคาดหวังในการยุติวงจรการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ การเติบโตของค่าจ้างภาคเอกชนของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนพบว่าต่ำกว่าคาด ส่งสัญญาณถึงตลาดแรงงานที่กำลังเย็นตัวลง ขณะที่ตำแหน่งงานว่างลดลงในเดือนตุลาคม สนับสนุนความคาดหวังเกี่ยวกับการชะลอตัวของตลาดแรงงานและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยตลาดจะจับตาดูข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพื่อความชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ดี แม้ตลาดจะคาดหวังถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างน้อย 125 จุดในปีที่จะถึงนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังคงทรงตัวเนื่องจากความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศอื่นๆ โดยเครื่องมือ CME FedWatch ระบุถึงความน่าจะเป็น 60% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจาก 50% ในสัปดาห์ก่อน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (15 Min) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 145.33, 145.39, 145.50
แนวรับสำคัญ : 145.11, 145.05, 144.94
15Min Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 144.91 – 145.11 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 145.11 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.33 และ SL ที่ประมาณ 144.81 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 145.33 – 145.53 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.80 และ SL ที่ประมาณ 145.01 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 145.33 – 145.53 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 145.33 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.04 และ SL ที่ประมาณ 145.63 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 144.91 – 145.11 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.76 และ SL ที่ประมาณ 145.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Dec 07, 2023 03:48PM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 144.76 | 144.94 | 145.04 | 145.22 | 145.32 | 145.50 | 145.60 |
Fibonacci | 144.94 | 145.05 | 145.11 | 145.22 | 145.33 | 145.39 | 145.50 |
Camarilla | 145.08 | 145.10 | 145.13 | 145.22 | 145.18 | 145.21 | 145.23 |
Woodie's | 144.74 | 144.93 | 145.02 | 145.21 | 145.30 | 145.49 | 145.58 |
DeMark's | - | - | 144.99 | 145.19 | 145.27 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2