ดอลลาร์แคนาดาคาดพบแนวโน้มอ่อนค่า ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา (BoC) ล่าสุดตัดสินใจที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5% ในขณะที่ยังคงเปิดทางเลือกไว้สำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป แม้จะรับทราบถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจและราคาโดยทั่วไปที่ผ่อนคลายลง แต่ BoC ก็ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่คงมีอย่างต่อเนื่อง หลังจากก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมสู่ระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี และคงระดับเดิมไว้ในการประชุมกำหนดนโยบายสามครั้งที่ผ่านมา ขณะที่อัตราเงินเฟ้อแม้จะชะลอตัวลงเหลือ 3.1% ในเดือนตุลาคมจากระดับสูงสุดที่มากกว่า 8% ในปีที่แล้ว แต่ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของ BoC เป็นเวลา 31 เดือนติดต่อกัน
ทั้งนี้ BoC เน้นว่า แรงกดดันของตลาดแรงงานได้ผ่อนคลายลง และอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจก็ไม่อยู่ในระดับที่มากเกินอีกต่อไป โดยในแถลงการณ์ได้ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ช่วยยับยั้งการใช้จ่ายในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าที่คาด ที่มีส่วนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
ในการคาดการณ์ในเดือนตุลาคม BoC คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 3.5% จนถึงกลางปี 2024 ก่อนที่จะค่อยๆ บรรลุเป้าหมายที่ 2% ภายในปลายปี 2025 ผู้ว่าการ ทิฟ แม็กเล็มได้ให้ความเห็นก่อนหน้านี้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจมาถึงจุดสูงสุดแล้ว เนื่องจากอุปสงค์ส่วนเกินที่ลดลงและความคาดหวังเกี่ยวกับการเติบโตที่หดตัวยืดเยื้อ ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสามอย่างไม่คาดคิดของแคนาดายังคงสร้างความกังวล แม้ว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้อย่างหวุดหวิด
จากข้อมูลล่าสุด แคนาดารายงานการเกินดุลการค้าที่เกินคาดในเดือนตุลาคม โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยและการนำเข้าโดยรวมที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดยานยนต์และชิ้นส่วนลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคม บ่งบอกถึงความต้องการที่ลดลงและการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4
ทั้งนี้ การส่งออกนำโดยเครื่องบินและอุปกรณ์การขนส่ง ชดเชยการส่งออกที่ลดลงในภาคส่วนอื่นๆ ขณะที่การค้ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของแคนาดา ลดลงทั้งการส่งออกและนำเข้า
ทางด้านตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของ Ivey แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแคนาดาที่ขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน ท่ามกลางการชะลอตัวของภาคบริการที่กลับรุนแรงขึ้น และภาคการผลิตยังคงหดตัวอย่าวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 จากความอ่อนแอของภาคอุตสาหกรรมโลก โดย GDP ของแคนาดาได้หดตัวอย่างไม่คาดคิดในไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลให้ BoC คาดการณ์ว่าอาจไม่พบการเติบโตในเศรษฐกิจจนถึงสิ้นปี 2024 โดยมีสาเหตุหลักมาจากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูง
นอกจากนี้ สถาบันการเงินหรือธุรกิจธนาคารในแคนาดารายงานถึงการดำเนินงานในไตรมาสที่สี่ โดยกล่าวถึงการตั้งสำรองสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นมาตรการป้องกันความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ โดยความคาดหมายของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศแคนาดาในปีหน้า ได้เป็นปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อการวางกลยุทธ์ของธนาคาร
ทั้งนี้ จากรายงานที่เกี่ยวข้องจาก Equifax Canada หน่วยงานที่จัดส่งข้อมูลเครดิตและรายงานข้อมูล เน้นย้ำถึงหนี้ผู้บริโภคและการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจอย่าง อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยชาวแคนาดาเผชิญกับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น จากยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตโดยเฉลี่ยและการผิดนัดชำระหนี้ที่มิใช่สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดความยืดหยุ่นทางการคลังของรัฐบาลยังคงเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากปัจจัยภายนอกหรือต้นทุนหนี้ที่สูงกว่าที่คาดไว้อาจทำให้สถานะทางการคลังของประเทศแย่ลงอย่างรวดเร็ว โดยแม้ว่าหนี้สุทธิทั่วไปของรัฐบาลแคนาดายังคงต่ำในกลุ่มประเทศ G7 แต่อัตราหนี้รวมเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP ยังคงสูงกว่าในเยอรมนีและสหราชอาณาจักร
ทั้งนี้ คำวิพากษ์วิจารณ์มุ่งเป้าไปที่ความล้มเหลวของแคนาดาในการบรรลุเป้าหมายการลดหนี้ ด้วยความสงสัยเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางการคลังของรัฐบาล โดยแม้รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง คริสเทีย ฟรีแลนด์จะแสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับลดหนี้ของรัฐบาลกลางต่อเปอร์เซ็นต์ของ GDP แต่กลับเลื่อนเป้าหมายในการลดหนี้ออกไปถึงสองครั้งในปีปัจจุบัน ท่ามกลางจุดยืนทางการคลังใหม่ที่ระบุไว้ในแถลงการณ์เศรษฐกิจฤดูใบไม้ร่วง ที่ส่งสัญญาณเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายก่อนหน้านี้ โดยพุ่งเป้าไปที่การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการบรรเทาเงินเฟ้อ อุปทานที่อยู่อาศัย และการอุดหนุนเทคโนโลยีสีเขียว โดยแม้ว่ารัฐบาลจะยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดหนี้ แต่แคนาดายังคงได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงเป็นอันดับต้นๆ จากหน่วยงานจัดอันดับเครดิตส่วนใหญ่
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่าค่าเงินดอลลาร์แคนาดาจะพบแนวโน้มขาขึ้นน้อยลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้เกิดความคาดหวังถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา โดยตลาดเงินคาดว่าจะพบการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นเดือนมีนาคม และอาจลดลง 25 จุดภายในเดือนเมษายน ขณะที่ช่องว่างที่เพิ่มขึ้นระหว่างอัตราผลตอบแทน 2 ปีของแคนาดากับอัตราเทียบเท่าของสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจของแคนาดา
ในทางกลับกัน ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ตอบสนองต่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อมูลแรงงานของสหรัฐฯ โดยพบสัญญาณของการชะลอตัวในตลาดแรงงานจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการวางแผนเริ่มลดต้นทุนการกู้ยืมในอนาคต
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30 Min) CFD USD/CAD
แนวต้านสำคัญ : 1.3578, 1.3580, 1.3583
แนวรับสำคัญ : 1.3572, 1.3570 , 1.3567
30Min Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3568 - 1.3572 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3572 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3579 และ SL ที่ประมาณ 1.3566 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3578 - 1.3582 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3586 และ SL ที่ประมาณ 1.3570 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3578 - 1.3582 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3578 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3571 และ SL ที่ประมาณ 1.3584 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3568 - 1.3572 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3562 และ SL ที่ประมาณ 1.3580 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Dec 08, 2023 10:31AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.3563 | 1.3567 | 1.3571 | 1.3575 | 1.3579 | 1.3583 | 1.3586 |
Fibonacci | 1.3567 | 1.3570 | 1.3572 | 1.3575 | 1.3578 | 1.3580 | 1.3583 |
Camarilla | 1.3571 | 1.3572 | 1.3572 | 1.3575 | 1.3574 | 1.3574 | 1.3575 |
Woodie's | 1.3561 | 1.3566 | 1.3569 | 1.3574 | 1.3577 | 1.3582 | 1.3584 |
DeMark's | - | - | 1.3568 | 1.3574 | 1.3576 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2