ยุโรโซนยังคงอ่อนแอจากอุปสงค์ที่หดตัว
เงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยอยู่ที่ประมาณ 0.93 ยูโรต่อดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนสนใจในดอลลาร์สหรัฐฯ มากขึ้น หลังจากการเปิดเผยรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งเกินคาด ก่อนหน้านี้ อีกทั้งยังจะมีการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในวันนี้ ทำให้มีแรงกดดันต่อสกุลเงินอื่นๆ
ความคิดเห็นที่เป็นบวกจากผู้กำหนดนโยบายของ ECB ของ Isabel Schnabel ที่ได้มีการพูดคุยกับ Reuters ได้ชี้ให้เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมนั้นเป็นไปได้ยากจนไม่น่าจะเป็นไปได้ หลังจากมีการรายงาน ล่าสุดเผยให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีในเดือนพฤศจิกายน ขณะเดียวกัน หนึ่งในผู้กำหนดนโยบายของ ECB และหัวหน้าธนาคารแห่งฝรั่งเศส Francois Villeroy de Galhau กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปี 2024
เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัว 0.1% ในช่วงไตรมาสที่ 3 นับเป็นการหดตัวครั้งแรกของ GDP นับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีกก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากอุปสงค์จากต่างประเทศลดลง โดยดูได้จากการส่งออกที่ลดลง 1.1% ด้านการนำเข้าลดลง 1.2% ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น 0.3% นอกจากนี้ พบว่าการเติบโตเศรษฐกิจในหลายประเทศมีการหดตัว โดยเยอรมนีมีการหดตัว 0.1% ฝรั่งเศสหดตัว 0.1% และเนเธอร์แลนด์หดตัว 0.2%
การปล่อยสินเชื่อของธนาคารให้แก่ภาคครัวเรือนในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนตุลาคม มีสาเหตุมาจากความต้องการสินเชื่อที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาระทางการเงินของภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทต่างๆ ลดลง 0.3% จากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นและอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง
PMI ภาคการผลิตในยูโรโซนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 44.2 ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ ภาคการผลิตยังคงมีการหดตัวเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน โดยออสเตรียหดตัวมากที่สุด ผลผลิตที่สามารถทำได้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งคำสั่งซื้อใหม่และยอดขายส่งออกมีการลดลงจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย
อัตราการว่างงานในยูโรโซนทรงตัวอยู่ที่ 6.5% โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 48,000 คนจากเดือนก่อนหน้าเป็น 11.134 ล้านคน ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานของเยาวชนซึ่งวัดจากผู้หางานอายุต่ำกว่า 25 ปี เพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบปีที่ 14.9%
ยอดค้าปลีกในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนตุลาคม เป็นการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากยอดขายหดตัวตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ความต้องการของผู้บริโภคยังคงซบเซา
ทำให้ยอดขายอาหารและเครื่องดื่มลดลงถึง 1.1% ในขณะที่ยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกยังคงเพิ่มขึ้นในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9289, 0.9301, 0.9310
แนวรับสำคัญ: 0.9269, 0.9261, 0.9249
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 12 ธันวาคม 2566 16:21 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9249 | 0.9261 | 0.9269 | 0.9281 | 0.9289 | 0.9301 | 0.9310 |
Fibonacci | 0.9261 | 0.9269 | 0.9273 | 0.9281 | 0.9289 | 0.9293 | 0.9301 |
Camarilla | 0.9273 | 0.9275 | 0.9277 | 0.9281 | 0.9280 | 0.9282 | 0.9284 |
Woodie's | 0.9247 | 0.9260 | 0.9267 | 0.9280 | 0.9287 | 0.9300 | 0.9308 |
DeMark's | - | - | 0.9265 | 0.9279 | 0.9285 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9289 - 0.9301 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9310 และ SL ที่ประมาณ 0.9261 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9289 - 0.9301 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9289 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9261 และ SL ที่ประมาณ 0.9310 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9261 - 0.9269 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9249 และ SL ที่ประมาณ 0.9301 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 12 ธันวาคม 2566 16:21 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 52.653 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 44.442 | ขาย |
STOCHRSI(14) | 0.000 | ขายมากเกินไป |
MACD(12,26) | 0.002 | ซื้อ |
ADX(14) | 28.934 | ขาย |
Williams %R | -64.525 | ขาย |
CCI(14) | -65.2392 | ขาย |
ATR(14) | 0.0021 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | -0.0001 | ขาย |
Ultimate Oscillator | 48.456 | ขาย |
ROC | 0.276 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | -0.0013 | ขาย |
ซื้อ:2 ขาย:7 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ขายทันที |