รัสเซียยังคงได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตร
รูเบิลรัสเซียแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารกลางรัสเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 16% ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนแรงงานและการปล่อยสินเชื่อที่สูงขึ้น นอกจากนี้ รูเบิลยังได้มีปัจจัยบวกมากขึ้นจากการบังคับใช้ให้บริษัทต่างๆ แปลงรายได้ที่เกิดจากการส่งออกให้เป็นรูเบิล
ธนาคารกลางรัสเซียขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลักอีก 100bps เป็น 16% ในเดือนธันวาคม ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด และส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินที่เข้มงวดนี้จะยืดเยื้อต่อไปเป็นระยะเวลานานเพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยความคาดหวังเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความเสี่ยงของราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายการเงินที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้นเช่นเดียวกัน มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ต่ำกว่า 7.5% ก่อนที่จะกลับสู่ระดับ 4%-4.5% ภายในปี 2024
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของรัสเซียขยายตัว 5.5% จากปีก่อนหน้าในไตรมาสที่ 3 ของปี เป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 โดยได้รับแรงสนับสนุนมาจากการฟื้นฟูห่วงโซ่อุปทานหลังจากการกีดกันประเทศตะวันตกและความพยายามในการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
การเกินดุลการค้าของรัสเซียลดลงเหลือ 9.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม จาก 18.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องจากการคว่ำบาตรของกลุ่ม G7 และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อีกทั้ง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของประเทศได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติลดลง โดยการส่งออกลดลง 25.3% เหลือ 32.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะเดียวกัน การนำเข้าลดลง 6.5% เหลือ 23.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รัฐบาลกลางรัสเซียขาดดุลงบประมาณ 878 พันล้านรูเบิล จากการเกินดุล 743 พันล้านรูเบิลในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยค่าใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 11.7% จากปีก่อนหน้าเป็น 26.841 ล้านล้านรูเบิล สาเหตุหลักยังคงมาจากการใช้จ่ายด้านทหารที่สูงขึ้นในการรุกรานยูเครนและความพยายามของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจนับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำหลังเกิดสงคราม โดยรายได้เพิ่มขึ้น 4.8% เนื่องจากการปรับขึ้นภาษี
อัตราผลตอบแทน 10 ปีของรัสเซียเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 12.7% ในเดือนธันวาคม ซึ่งทำจุดสูงสุดอีกครั้งในรอบ 1 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางแห่งรัสเซียที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 16% ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อของประเทศเร่งตัวขึ้นเป็น 7.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งถือว่าสูงขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน สงครามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและการคว่ำบาตรของ G7 ได้ลดรายได้จากการส่งออกน้ำมันซึ่งเป็นรายได้หลักของรัสเซียและทำให้การใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 90.5179, 90.7227, 90.8904
แนวรับสำคัญ: 90.1454, 89.9777, 89.7729
ที่มา: Investing.com
จุดกลับตัว 18 ธันวาคม 2566 16:17 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 89.7729 | 89.9777 | 90.1454 | 90.3502 | 90.5179 | 90.7227 | 90.8904 |
Fibonacci | 89.9777 | 90.1200 | 90.2079 | 90.3502 | 90.4925 | 90.5804 | 90.7227 |
Camarilla | 90.2106 | 90.2447 | 90.2789 | 90.3502 | 90.3471 | 90.3813 | 90.4154 |
Woodie's | 89.7543 | 89.9684 | 90.1268 | 90.3409 | 90.4993 | 90.7134 | 90.8718 |
DeMark's | - | - | 90.2477 | 90.4014 | 90.6202 | - | - |
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 90.5179 - 90.7227 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 90.8904 และ SL ที่ประมาณ 89.9777 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 90.5179 - 90.7227 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 90.5179 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 89.9777 และ SL ที่ประมาณ 90.8904 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 89.9777 - 90.1454 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 89.7729 และ SL ที่ประมาณ 90.7227 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ตัวชี้วัดทางเทคนิค 18 ธันวาคม 2566 16:17 น. GMT+7
ชื่อ | มูลค่า | Action |
RSI(14) | 50.549 | ถือหุ้นไว้ |
STOCH(9,6) | 67.160 | ซื้อ |
STOCHRSI(14) | 100.000 | ซื้อมากเกินไป |
MACD(12,26) | -0.181 | ขาย |
ADX(14) | 40.939 | ซื้อ |
Williams %R | -20.059 | ซื้อ |
CCI(14) | 133.3544 | ซื้อ |
ATR(14) | 0.3721 | ผันผวนน้อยลง |
Highs/Lows(14) | 0.1569 | ซื้อ |
Ultimate Oscillator | 47.656 | ขาย |
ROC | 0.651 | ซื้อ |
Bull/Bear Power(13) | 0.3954 | ซื้อ |
ซื้อ:7 ขาย:2 ถือหุ้นไว้:1 สรุป:ซื้อทันที |