ECB คงนโยบาย ยูโรโซนเผชิญกับความไม่แน่นอน
ล่าสุด ธนาคารกลางยุโรป (ECB) หรือบอสยัน วาซเล่ ผู้ว่าการธนาคารกลางสโลวีเนีย คาดว่าจะไม่มีการประเมินแนวโน้มนโยบายใหม่จนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิ และกล่าวว่าการคาดการณ์ถึงการลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมหรือเมษายนนั้นยังเร็วเกินไป แม้ว่าจะเผชิญกับแรงกดดันของตลาดหลังจากการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่วาซเล่ยังคงแย้งว่าเงื่อนไขทางการเงินอาจไม่เข้มงวดเพียงพอ
ทั้งนี้ ตลาดในปัจจุบันคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ 50-50 ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม โดยเชื่อมั่นว่าจะมีการปรับลดอย่างแน่นอนในเดือนเมษายน และคาดว่าจะมีการปรับลดมากขึ้นอีกในเดือนมิถุนายน ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังจากผ่านจุดต่ำสุดที่ 2.4% แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับค่าจ้าง เนื่องจากแรงงานอาจเรียกร้องการชดเชยจากผลกระทบเงินเฟ้อที่สูงก่อนหน้านี้ ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงสร้างความประหลาดใจและยังคงตึงตัว ท่ามกลางแนวโน้มที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยของกลุ่มประเทศสมาชิก โดยบริษัทต่างๆ ยังคงรักษาแรงงานท่ามกลางความคาดหวังถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองต่อความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับหนี้เสีย ECB ได้ประกาศข้อกำหนดความต้องการเงินกองทุนขั้นต่ำที่สูงขึ้นสำหรับธนาคาร 20 แห่ง โดยเน้นถึงความจำเป็นในการเตรียมพร้อมเมื่อเผชิญกับการผิดนัดชำระที่อาจเกิดขึ้นและสภาพคล่องที่ตึงตัวมากขึ้น โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของ ECB ในการจัดการกับความท้าทายและความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในภาคการธนาคาร
ทางด้านดุลการค้าของยูโรโซนเปลี่ยนจากการขาดดุลเป็นการเกินดุลในเดือนตุลาคม โดยได้แรงหนุนจากการนำเข้าพลังงานที่ลดลง โดยการเกินดุลในภาคการผลิตสำหรับสหภาพยุโรปโดยรวมเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงเดือนมกราคม-ต.ค. 2023 นำโดยเครื่องจักร รวมถึงยานพาหนะ ขณะที่การขาดดุลการค้ากับรัสเซียลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการขาดดุลกับจีนที่แคบลง และการเกินดุลกับสหรัฐฯ ขยายตัวมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน กิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซนลดลงมากขึ้นในเดือนธันวาคม บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ประจำเดือนธันวาคมชี้ให้เห็นถึงการหดตัวของเศรษฐกิจสองไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งเป็นไปตามคำจำกัดความทางเทคนิคของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของปี 2023 และ 2024 ลง
อีกด้าน งบประมาณเสริมปี 2023 ของเยอรมนีได้รับการอนุมัติหลังจากการระงับเพดานการกู้ยืมเนื่องจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ โดยรัฐบาลให้เหตุผลถึงสงครามในยูเครนที่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งผลให้มีการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเกินระดับที่ได้รับอนุญาต ซึ่งงบประมาณดังกล่าวประกอบด้วยกองทุนเพื่ออุดหนุนราคาพลังงานและการบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ขฯที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเยอรมนีแย่ลงในเดือนธันวาคม โดยทั้งภาคการผลิตและบริการหดตัว ท่ามกลางความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลงอย่างกะทันหัน สะท้อนถึงความท้าทายในแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศ
ทางด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศสคาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2025 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง และไม่เป็นไปตามการคาดการณ์การเติบโตของรัฐบาล ขณะที่ธนาคารแห่งฝรั่งเศสปรับคาดการณ์การเติบโตในปี 2023 ลงเหลือ 0.8% จากข้อมูลไตรมาส 3 ที่อ่อนแอ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของเยอรมนี คริสเตียน ลินด์เนอร์ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส บรูโน เลอ แมร์ มีกำหนดหารือเกี่ยวกับการปฏิรูปกฎทางการคลังของสหภาพยุโรป ท่ามกลางความแตกต่างระหว่างปารีสและเบอร์ลินในประเด็นต่างๆ เช่น การรักษาการลงทุนและจังหวะเวลาในการลดหนี้ โดยข้อตกลงว่าด้วยเสถียรภาพและความเติบโตของยุโรป (Stability and Growth Pact) ซึ่งควบคุมหนี้และการขาดดุลของรัฐบาล ยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการเจรจา
ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในปีหน้ายังคงส่งผลต่อผลการดำเนินงานในวงกว้างของเงินดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง โดยแม้ว่าเจ้าหน้าที่จะออกมาปรับลดการคาดการณ์ของตลาด แต่ความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่
ในขณะเดียวกัน โครงการสร้างบ้านเดี่ยวในสหรัฐฯ พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 1.5 ปีในเดือนพฤศจิกายน ด้วยอัตราการกู้ยืมที่ลดลงและแรงจูงใจที่ผลักดันผู้ซื้อที่มีศักยภาพกลับเข้าสู่ตลาดที่อยู่อาศัย โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะสนับสนุนการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่สี่ และช่วยให้เศรษฐกิจสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยในปีหน้าได้ จึงอาจส่งผลให้ค่าเงินยูโร แม้อาจมีการซื้อขายในกรอบบนได้มากขึ้นในระยะสั้น แต่แนวโน้มขาขึ้นคาดว่าจะยังคงถูกจำกัดอยู่ในระยะกลาง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.0973, 1.0975, 1.0978
แนวรับสำคัญ : 1.0969, 1.0967, 1.0964
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0964 - 1.0969 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0969 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0974 และ SL ที่ประมาณ 1.0962 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0973 - 1.0978 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0984 และ SL ที่ประมาณ 1.0967 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0973 - 1.0978 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0973 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0967 และ SL ที่ประมาณ 1.0980 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0964 - 1.0969 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0958 และ SL ที่ประมาณ 1.0975 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Dec 20, 2023 09:58AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.0961 | 1.0964 | 1.0967 | 1.0971 | 1.0974 | 1.0978 | 1.0981 |
Fibonacci | 1.0964 | 1.0967 | 1.0969 | 1.0971 | 1.0973 | 1.0975 | 1.0978 |
Camarilla | 1.0968 | 1.0969 | 1.0969 | 1.0971 | 1.0971 | 1.0971 | 1.0972 |
Woodie's | 1.0961 | 1.0964 | 1.0967 | 1.0971 | 1.0974 | 1.0978 | 1.0981 |
DeMark's | - | - | 1.0965 | 1.0970 | 1.0972 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2