BOJ คงนโยบายผ่อนคลาย รัฐบาลญี่ปุ่นจับตาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางการลดงบการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจที่จะคงนโยบายแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยธนาคารกลางเลือกที่จะรอหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้างและราคาก่อนที่จะพิจารณาการเปลี่ยนแปลงและออกจากมาตรการกระตุ้นทางการเงินครั้งใหญ่ ซึ่งถึงแม้จะมีสัญญาณของการเคลื่อนไหวเชิงบวกในด้านค่าจ้างและราคา แต่ผู้ว่าการ BOJ คาซูโอะ อุเอดะเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการตรวจสอบอย่างรอบคอบเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง
การตัดสินใจของ BOJ ที่จะรักษาแนวนโยบายแบบผ่อนคลายไว้ ได้สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนบางรายที่คาดหวังว่าจะมีการส่งสัญญาณถึงการยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบในระยะสั้น ขณะที่ผู้ว่าการอุเอดะรับทราบถึงความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ สู่เป้าหมาย 2% แต่ยังคงเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการประเมินวงจรค่าจ้างและเงินเฟ้อเชิงบวกที่อาจเกิดขึ้น
ทั้งนี้ เงินเยนอ่อนค่าลง และตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังการตัดสินใจของ BOJ ที่จะคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไว้ ในขณะที่ญี่ปุ่น ซึ่งประสบกับอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า 2% มานานกว่าหนึ่งปี พบบริษัทต่างๆ แสดงความพร้อมที่จะขึ้นค่าจ้างอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการคาดเดาเกี่ยวกับการละทิ้งจุดยืนทางนโยบายของ BOJ เมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลก ในท้ายที่สุด
ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์มากกว่า 80% ที่สำรวจโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ในเดือนพฤศจิกายน คาดว่า BOJ จะยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในปีหน้า ท่ามกลางกำหนดเวลาที่ยังคงไม่แน่นอน ผู้ว่าการอุเอดะยังคงไม่ได้ให้สัญญาณที่ชัดเจนว่า BOJ อาจยกเลิกอัตราดอกเบี้ยติดลบเมื่อใด โดยระบุว่าจะมีการนำเสนอข้อมูลไม่มากก่อนการประชุมนโยบายครั้งต่อไปในเดือนมกราคม
อีกด้าน รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนที่จะเพิ่มประมาณการอัตราดอกเบี้ยระยะยาวสำหรับปีงบประมาณหน้าเป็น 1.9% เพิ่มขึ้นจาก 1.1% ในปีปัจจุบัน โดยการปรับครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี สะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น และความคาดหวังว่าธนาคารกลางอาจออกจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษในเร็ววัน ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ต้นทุนการจัดหาเงินกู้ของรัฐบาลสูงขึ้น
ในทางกลับกัน รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลดงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2024-25 หลังจากมีการเพิ่มงบประมาณมาตลอดระยะเวลา 12 ปี โดยการตัดงบประมาณจำนวน 112.1 ล้านล้านเยน ตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะจำนวนมากของญี่ปุ่น ซึ่งมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจถึง 2 เท่า ขณะที่รัฐบาลวางแผนที่จะพึ่งพาการเติบโตของรายได้ทางภาษีและการปรับลดการใช้จ่าย โดยลดการออกพันธบัตรใหม่เป็นปีที่สามติดต่อกัน
ทางด้านแนวโน้มเศรษฐกิจ รัฐบาลญี่ปุ่นได้เพิ่มการคาดการณ์การเติบโตเล็กน้อยสำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน โดยอ้างถึงอุปสงค์ภายนอกที่แข็งแกร่งซึ่งชดเชยการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนแอ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือน โดยได้รับอิทธิพลจากการจัดส่งชิปไปยังจีนที่ลดลง ซึ่งการส่งออกที่อ่อนแอได้สร้างความกังวลให้กับผู้กำหนดนโยบายที่ต้องพึ่งพาอุปสงค์จากภายนอกเพื่อถ่วงดุลการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนแอ ท่ามกลางการหดตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนที่ได้สร้างความกังวลมากขึ้น พร้อมกันกับการใช้จ่ายด้านทุนและการบริโภคที่ลดลง
อย่างไรก็ดี มุมมองของรัฐบาลเกี่ยวกับความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม สะท้อนถึงการฟื้นตัวของมุมมององค์กรในวงกว้าง โดยเฉพาะในด้านผลกำไร ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการประเมินเศรษฐกิจโดยรวม ที่แสดงถึงการหยุดชะงักในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่รัฐบาลเน้นย้ำการติดตามความเสี่ยงทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น ความเข้มงวดทางการเงินและความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจจีน
ทางด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ พบแนวรับท่ามกลางขาขึ้นที่แข็งแกร่งของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่หยุดชะงักอย่างกะทันหัน ขณะที่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ลดลงมากที่สุดในรอบกว่าสองปีในไตรมาสที่ 3 โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนในเดือนธันวาคม โดยได้แรงหนุนจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับเงื่อนไขทางธุรกิจและตลาดแรงงาน
ทั้งนี้ ตลาดสกุลเงินจะมุ่งเน้นไปที่การเปิดเผยดัชนีรายจ่ายการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (PCE) ของสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและอัตราเงินเฟ้อประจำปีอาจชะลอตัวลง โดยความกังวลเกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายที่อาจเกิดขึ้นโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีอยู่ ท่ามกลางตลาดตราสารหนี้ที่ปรับตัวขึ้นอย่างมากและดัชนีค่าเงินดอลลาร์ที่ปรับตัวลดลง จึงอาจส่งผลให้เงินเยนคาดว่าจะยังคงแนวโน้มอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาจพบการปรับตัวขึ้นของเงินเยนได้มากขึ้นตามความคาดหวังของนักลงทุนถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของญี่ปุ่นในปีหน้า
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30 Min) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 143.03, 143.09, 143.18
แนวรับสำคัญ : 142.85, 142.79, 142.70
30Min Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 142.70 – 142.85 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 142.85 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 143.07 และ SL ที่ประมาณ 142.63 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 143.03 – 143.18 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 143.31 และ SL ที่ประมาณ 142.78 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 143.03 – 143.18 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 143.03 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.85 และ SL ที่ประมาณ 143.25 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 142.70 – 142.85 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.60 และ SL ที่ประมาณ 143.10 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Dec 21, 2023 09:55AM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 142.59 | 142.70 | 142.83 | 142.94 | 143.07 | 143.18 | 143.31 |
Fibonacci | 142.70 | 142.79 | 142.85 | 142.94 | 143.03 | 143.09 | 143.18 |
Camarilla | 142.90 | 142.93 | 142.95 | 142.94 | 142.99 | 143.01 | 143.04 |
Woodie's | 142.61 | 142.71 | 142.85 | 142.95 | 143.09 | 143.19 | 143.33 |
DeMark's | - | - | 142.77 | 142.91 | 143.01 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2