บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นเอเชีย วันที่ 25 ธันวาคม 2566

Create at 1 year ago (Dec 25, 2023 10:19)

ตลาดจีนดิ้นรนท่ามกลางญี่ปุ่นแสวงหาเสถียรภาพ

ตลาดหุ้นจีนเผชิญแรงกดดันติดลบติดต่อกันเป็นปีที่สามเป็นครั้งแรก โดยดัชนี CSI 300 ลดลง 14 เปอร์เซ็นต์ในปีปัจจุบัน ตามมาด้วยการลดลงร้อยละ 22 ในปี 2022 และลดลงร้อยละ 5.2 ในปี 2021 ซึ่งการขาดทุนต่อเนื่องยาวนานนี้เกิดจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงแนวโน้มการเติบโตที่ลดลง อุปสรรคในการเปิดการค้าอีกครั้ง และการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่บรรดาผู้จัดการกองทุนทั่วโลกต่างผิดหวังกับมาตรการของจีนในการรักษาเสถียรภาพการเติบโต ส่งผลให้มีการไหลออกของเงินทุนเป็นประวัติการณ์ถึง 29.1 พันล้านหยวนในเดือนธันวาคมเพียงเดือนเดียว

โดยแม้จะมีการแทรกแซงของรัฐบาลหลายครั้ง แต่ดัชนี CSI 300 ยังคงไม่สามารถพลิกตัวกลับได้ โดยคาดว่ากลุ่มอุตสาหกรรม 6 ใน 10 กลุ่มจะเผชิญกับความสูญเสียในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ปักกิ่ง ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหม่ในตลาด พบการเติบโตขึ้น 4.3% ในปีนี้ จากการสนับสนุนนโยบายในการขยายตลาด

ทางด้านธนาคารเพื่อการลงทุนคาดว่าจะพบการพลิกฟื้นของตลาดหุ้นจีนได้ในปี 2024 โดย UBS คาดการณ์ว่าดัชนี MSCI China Index จะเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ จากแรงหนุนจากปัจจัยต่างๆ เช่น การประเมินมูลค่าราคาถูก ปริมาณหรือสถานะของนักลงทุนในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำ นโยบายสนับสนุน และผลประกอบการของบริษัทที่ดีขึ้น ขณะที่ Morgan Stanley และ Goldman Sachs คาดการณ์ว่าดัชนีต่างๆ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในเชิงบวก และเน้นย้ำถึงศักยภาพในการฟื้นตัวของตลาด

ทางด้านคณะวางแผนงานของรัฐบาลจีนได้ประกาศโครงการลงทุนภาครัฐรอบที่สอง ซึ่งรวมถึงโครงการริเริ่มที่เน้นการควบคุมน้ำท่วมและการบรรเทาภัยพิบัติ โดยความเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการออกพันธบัตรและการลงทุนในวงกว้างที่เปิดเผยในเดือนตุลาคมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เช่น อุปสงค์ของผู้บริโภคที่ลดลง การส่งออกที่อ่อนแอ การลงทุนจากต่างประเทศที่ลดลง และวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลจึงวางแผนที่จะอัดฉีดเงิน 1 ล้านล้านหยวนผ่านการออกพันธบัตรเพิ่มเติม โดยการอัดฉีดครั้งนี้คาดว่าจะเพิ่มอัตราส่วนการขาดดุลงบประมาณของจีนในปี 2023 มาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.8

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลอินเดียเพิกเฉยต่อคำเตือนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ออกมาเตือนถึงอัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ของประเทศที่อาจสูงถึง 100% โดยระบุว่าเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นมากกว่าผลลัพธ์ที่แน่นอน โดยจากการรายงานของ IMF ในการประชุมหารือกับประเทศสมาชิก (Article IV Consultation) ชี้ให้เห็นถึงสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจนำไปสู่อัตราส่วนหนี้สินสูงถึง 100% ภายในปีงบประมาณ 2028 ได้ ขณะที่กระทรวงการคลังของอินเดียชี้แจงว่าเป็นเพียงการคาดการณ์ถึงกรณีที่เลวร้ายที่สุด และอัตราส่วนหนี้สินอาจลดลงต่ำกว่า 70% ภายใต้สถานการณ์ที่ดีขึ้น ลดลงจาก 81% ในปี 2022/23

ในญี่ปุ่น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวลงอย่างมากในเดือนพฤศจิกายน บ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านต้นทุนที่ผ่อนคลายลง และอาจส่งผลให้การออกจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของธนาคารกลางญี่ปุ่นล่าช้าออกไป ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหดตัวในเดือนพฤศจิกายนเนื่องจากอุปสงค์ที่ซบเซาและการชะลอตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ ท่ามกลางรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นที่แสดงความจำเป็นในการควบคุมระดับหนี้ที่สูงขึ้น และเผยงบประมาณประจำปีซึ่งรวมถึงประมาณการอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี

อีกด้าน การผลักดันของรัฐบาลญี่ปุ่นในการปฏิรูปอุตสาหกรรมการจัดการสินทรัพย์ที่มีมูลค่า ล้านล้านดอลลาร์ของประเทศ ได้กระตุ้นให้กลุ่มธนาคารชั้นนำปรับปรุงธุรกิจการจัดการสินทรัพย์ของตน ท่ามกลางเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเป็นสองเท่า หรือให้สูงถึง 200 ล้านล้านเยนภายในเดือนมีนาคม 2030 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของญี่ปุ่นที่ส่งเสริมให้ครัวเรือนเปลี่ยนการออมเป็นการลงทุน โดยรัฐบาลมองว่าอุตสาหกรรมการจัดการสินทรัพย์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการระดมเงินออมในครัวเรือนที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และส่งผลให้เกิดการผลักดันให้มีการปฏิรูป แม้จะมีความกังวลถึงทรัพยากรในอุตสาหกรรมที่อาจมีไม่เพียงพอ

ด้วยเหตุนี้ ตลาดหุ้นของญี่ปุ่นโดยรวมอาจได้รับการสนับสนุนท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบและจุดยืนแบบผ่อนคลายของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยคาดว่าจะพบการปรับตัวขึ้นลงในกรอบบนแบบจำกัด

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD Nikkei 225 Futures - Mar 24

แนวต้านสำคัญ : 33353.6, 33405, 33488.3

แนวรับสำคัญ : 33187.0, 33135.6, 33052.3         

5H Outlook     

วิเคราะห์ตลาดหุ้นเอเชีย ที่มา: Investing.com    

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 33064.0 - 33187.0 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 33187.0 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33405.6 และ SL ที่ประมาณ 33002.5 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 33353.6 – 33476.6 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33505.0 และ SL ที่ประมาณ 33125.5 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 33353.6 – 33476.6 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 33353.6 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33187.0 และ SL ที่ประมาณ 33538.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 33064.0 - 33187.0 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 33000.0 และ SL ที่ประมาณ 33415.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Dec 25, 2023 09:42AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 32969.6 33052.3 33187.6 33270.3 33405.6 33488.3 33623.6
Fibonacci 33052.3 33135.6 33187 33270.3 33353.6 33405 33488.3
Camarilla 33263.1 33283 33303 33270.3 33343 33363 33382.9
Woodie's 32996 33065.5 33214 33283.5 33432 33501.5 33650
DeMark's - - 33229 33291 33447 - -

Sources: Investing 1Investing 2The Star

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES