บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 26 ธันวาคม 2566

Create at 11 months ago (Dec 26, 2023 09:31)

ความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียแข็งแกร่งขึ้น ดอลลาร์สหรัฐฯ แสวงหาเสถียรภาพ

การเคลื่อนไหวของตลาดซื้อขายสกุลเงินล่าสุดทรงตัวในช่วงหลังคริสต์มาส เนื่องจากวันบ็อกซิ่งเดย์ในตลาดออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในขณะเดียวกัน UK Export Finance (UKEF) และ Export Finance Australia (EFA) ได้กระชับความร่วมมือโดยการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ซึ่งข้อตกลงนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความร่วมมือในด้านสำคัญต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคง โดยบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังการร่วมทุนในโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่ง Hai Long ในไต้หวัน ซึ่งถือเป็นการระดมทุนสำหรับโครงการพลังงานทดแทนที่ใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน ขณะที่ Tim Reid ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร UKEF เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นระหว่างสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียในการส่งเสริมการค้าและแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

ในทางกลับกัน จีนได้ประกาศโควตาการนำเข้าผลิตภัณฑ์ขนสัตว์ปลอดภาษีจากนิวซีแลนด์และออสเตรเลียในปี 2024 โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระดับทวิภาคี ซึ่งโควตานำเข้าขนสัตว์ของออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในปี 2024 และจะส่งผลให้การส่งออกขนสัตว์ของออสเตรเลียไปยังจีน คิดเป็นร้อยละ 82 ของการส่งออกขนสัตว์ทั้งหมดของประเทศ โดยโควต้าที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างจีนและออสเตรเลีย ท่ามกลางความพยายามในการแก้ไขข้อพิพาท ซึ่งรวมถึงภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดไวน์ออสเตรเลีย

อีกด้านในออสเตรเลีย ผู้หางานแสดงความไม่พอใจกับระบบการจ้างงาน โดยอ้างว่าถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่มีเวลาทำงาน เงื่อนไข และค่าจ้างที่ไม่ดี โดยภูมิทัศน์เศรษฐกิจในปี 2023 ของออสเตรเลีย ครัวเรือนต่างๆ ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่บีบตัว โดยได้แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียรายงานว่ารายได้สุทธิหลังหักภาษีที่แท้จริงของครัวเรือนลดลงร้อยละ 4.3 ในปีจนถึงวันที่ 30 กันยายน ซึ่งเป็นการลดลงที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ส่งผลให้ผู้บริโภครับมือ โดยการลดการใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเฟอร์นิเจอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้จ่ายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคลดลง 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2022

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลให้ครัวเรือนต้องจัดสรรเงินทุนมากขึ้นเพื่อการใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ที่พักและเชื้อเพลิง ส่งผลให้ดัชนีราคาค่าเช่ารายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่การใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นเท่าเดิม โดยแม้จะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ชาวออสเตรเลียก็ยังคงใช้จ่ายกับสินค้าที่ไม่ต้องใช้ดุลยพินิจ เช่น ร้านกาแฟ ผับ และร้านอาหาร

อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางออสเตรเลียตอบสนองต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5 ครั้งในปี 2023 รวมเป็น 13 ครั้งนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 แม้ว่าอัตราการผิดนัดชำระหนี้จะยังคงค่อนข้างต่ำ แต่ก็พบสัญญาณของความตึงตัวในการชำระหนี้ ขณะที่อัตราส่วนของบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลที่มียอดหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปีถึงเดือนกันยายน ท่ามกลางการผิดนัดชำระจำนองและการร้องขอการจัดการหนี้ที่เพิ่มขึ้น โดยพบผู้ที่มีอายุระหว่าง 36 ถึง 45 ปี เผชิญกับความท้าทายดังกล่าวมากที่สุด

ทางด้านมุมมองเศรษฐกิจโลก ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงหาตำแหน่งแนวรับในการซื้อขายในช่วงวันหยุดที่เบาบาง โดยได้รับอิทธิพลจากการบ่งชี้การชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์อยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ เดือน ขณะที่ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงดัชนีราคาสหรัฐฯ ที่ลดลงในเดือนพฤศจิกายน และกระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม 2024 โดยความมุ่งมั่นของเฟดในการจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ ควบคู่ไปกับความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ยังคงมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของเงินดอลลาร์ในระยะนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6811, 0.6815, 0.6823

แนวรับสำคัญ : 0.67950.67910.6783              

5H Outlook

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: Investing.com                                   

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6780.6795 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6795 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6815 และ SL ที่ประมาณ 0.6780 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6811 - 0.6821 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6835 และ SL ที่ประมาณ 0.6790 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6811 - 0.6821 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6811ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6795 และ SL ที่ประมาณ 0.6826 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6780.6795 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6783 และ SL ที่ประมาณ 0.6816 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Dec 26, 2023 09:17AM GMT+7

Name S3 S2 S1 Pivot Points R1 R2 R3
Classic 0.6776 0.6783 0.6795 0.6803 0.6815 0.6823 0.6835
Fibonacci 0.6783 0.6791 0.6795 0.6803 0.6811 0.6815 0.6823
Camarilla 0.6803 0.6805 0.6807 0.6803 0.6811 0.6813 0.6814
Woodie's 0.6780 0.6785 0.6799 0.6805 0.6819 0.6825 0.6839
DeMark's - - 0.6800 0.6805 0.6820 - -

Sources: InvestingBrisbane Times

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES