บทวิเคราะห์ USD/EUR 5 มกราคม 2567

Create at 10 months ago (Jan 05, 2024 19:44)

เศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงหดตัว

เงินยูโรทรงตัวที่ระดับ 0.915 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มพิจารณาความเป็นไปได้สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใหม่อีกครั้ง โดยพิจารณาจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและ PMI ควบคู่ไปกับรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม โดย Fed ยังไม่ได้กำหนดวันที่จะผ่อนคลายนโยบายทางการเงินอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกระยะหนึ่ง

โดยข้อมูลเงินเฟ้อทางยูโรโซน พบว่าทั้งเยอรมนีและฝรั่งเศสมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม สาเหตุหลักมาจากการนำเข้าพลังงานในยูโรโซนที่สูงขึ้นและต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมอย่างแน่นอน นอกจากนี้ PMI ของยูโรโซนหดตัวเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน

การปล่อยสินเชื่อของธนาคารแก่ภาคครัวเรือนในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็นเงิน 6.87 ล้านล้านยูโรในเดือนพฤศจิกายน การเติบโตของการปล่อยสินเชื่อที่เริ่มชะลอตัวลง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้จ่ายที่กำลังตึงตัว อีกทั้งยังแสดงถึงการชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญของเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2023 ที่เกิดจากมาตรการเข้มงวดทางการเงินของ ECB นอกจากนี้ การให้กู้ยืมแก่บริษัทต่างๆ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยการเติบโตของสินเชื่อภาคเอกชนโดยรวมทรงตัวที่ 0.4% ในเดือนพฤศจิกายน

PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 44.4 ในเดือนธันวาคม ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 44.2 อย่างไรก็ตาม การผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน โดยคำสั่งซื้อใหม่และกิจกรรมการซื้อที่ลดลงของทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้าในเขตยูโรยังคงลดสต๊อกสินค้าลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและจำเป็นต้องลดราคาสินค้าเพิ่มกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น

PMI ภาคการบริการปรับเพิ่มขึ้นเป็น 48.8 โดยภาคบริการยังคงหดตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน เนื่องจากความต้องการบริการในยูโรโซนลดลงในช่วงปลายปี นอกจากนี้ การเติบโตของการจ้างงานยังชะลอตัวลงด้วย ด้านอัตราเงินเฟ้อของต้นทุนวัตถุดิบลดลงเหลือระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน แต่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าการคาดการณ์การเติบโตในอนาคตอีก 1 ปีข้างหน้าจะยังคงอ่อนแอก็ตาม

การก่อสร้างในเขตยูโรลดลง 0.7 % เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนตุลาคม ถือเป็นการหดตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยได้กดดันจากกิจกรรมการก่อสร้างที่ลดลง เนื่องจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB เริ่มส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปัญหาค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มสูงขึ้นของภาคครัวเรือน ทำให้อุปสงค์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งการซื้อเพื่อปล่อยเช่าและการซื้อเพื่อการเก็งกำไรลดลง

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9174, 0.9185, 0.9199

แนวรับสำคัญ: 0.9148, 0.9135, 0.9123

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9135 - 0.9148 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9148 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9185 และ SL ที่ประมาณ 0.9123 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9174 - 0.9185 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9199 และ SL ที่ประมาณ 0.9135 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9174 - 0.9185 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9174 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9135 และ SL ที่ประมาณ 0.9199 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9135 - 0.9148 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9123 และ SL ที่ประมาณ 0.9185 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 5 มกราคม 2567 19:38 น. GMT+7

ชื่อ S3 S2 S1 จุดกลับตัว R1 R2 R3
Classic 0.9123 0.9135 0.9148 0.9160 0.9174 0.9185 0.9199
Fibonacci 0.9135 0.9144 0.9150 0.9160 0.9170 0.9176 0.9185
Camarilla 0.9155 0.9158 0.9160 0.9160 0.9165 0.9167 0.9169
Woodie's 0.9125 0.9136 0.9150 0.9161 0.9176 0.9186 0.9201
DeMark's - - 0.9154 0.9163 0.9180 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Analysis
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES