เศรษฐกิจของยูโรโซนยังคงอ่อนแอจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เงินยูโรทรงตัวที่ประมาณ 0.91 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนเห็นข้อมูลว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง โดยสิ่งนี้ช่วยจะลดแรงกดดันทั้งธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้เริ่มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็น 2.9% ในขณะเดียวกัน การจ้างงานของสหรัฐฯ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 216,000 ตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 170,000 ตำแหน่ง ในขณะที่อัตราการว่างงานยังคงทรงตัวที่ 3.7%
อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งเป็น 2.9% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน โดยได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นในเดือนธันวาคม ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อภาคบริการยังคงทรงตัวที่ 4.0% นอกจากนี้ราคาอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นถึง 6.1% ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน ปรับลดลงมาเล็กน้อยที่ 3.4% นับว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ดี
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) หดตัวลงถึง 8.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤศจิกายน หลังจากที่หดตัว 9.4% ในเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการขึ้นราคาสินค้าที่ยังทำได้ไม่ดีมากนัก โดยราคาพลังงานลดลงในอัตราที่ช้าลงที่ 23.7% ในขณะที่ต้นทุนสำหรับสินค้าลดลง 5.3% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสำหรับสินค้ามีการชะลอตัวลงเล็กน้อยที่ 3.1%
ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็น 96.4 ในเดือนธันวาคม เนื่องจากความเชื่อมั่นเริ่มกลับมามีแนวโน้มที่ดีมากขึ้นในทุกภาคส่วน แม้ว่าการคาดการณ์เงินเฟ้อจะสูงขึ้นก็ตาม โดยความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็นสาเหตุหลัก โดยความเชื่อมั่นในผู้ผลิตเพิ่มขึ้นเป็น -9.2 และความเชื่อมั่นในหมู่ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเป็น -15.0 เมื่อเปรียบเทียบเป็ยรายประเทศพบว่าเยอรมนีมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ +2.4
ยอดค้าปลีกในยูโรโซนกลับมาลดลงอีกครั้งที่ 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากความสามารถในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่ลดลง ส่งผลให้ปริมาณยอดค้าปลีกลดลงด้วยเช่นกัน พบว่ายอดขายอาหาและเครื่องดื่มลดลง 0.1% นอกจากนี้ ยอดขายอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเชื้อเพลิงลดลง 0.4% ซึ่งส่งผลต่อยอดค้าปลีกออนไลน์ที่หดตัวอย่างรวดเร็วถึง 1.2% โดยเยอรมนีได้รับผลกระทบมากที่สุดซึ่งทำให้ยอดค้าปลีกในประเทศหดตัว 2.5%
PMI ภาคการก่อสร้างยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็น 43.6 ในเดือนธันวาคม แม้ว่าภาพรวมจะยังคงแข็งแกร่ง แต่บริษัทต่างๆ ยังคงลดกิจกรรมลงเนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงและอัตราเงินเฟ้อของราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดขนาดการซื้อวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อีกทั้งยังจำเป็นต้องลดการจ้างงานลง โดยความเชื่อมั่นในภาคส่วนนี้ยังคงมีมุมมองเชิงลบสำหรับกิจกรรมในอนาคต
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9138, 0.9143, 0.9153
แนวรับสำคัญ: 0.9122, 0.9143, 0.9107
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9113 - 0.9122 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9122 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9143 และ SL ที่ประมาณ 0.9107 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9138 - 0.9143 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9153 และ SL ที่ประมาณ 0.9113 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9138 - 0.9143 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9138 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9113 และ SL ที่ประมาณ 0.9153 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9113 - 0.9122 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9107 และ SL ที่ประมาณ 0.9143 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 9 มกราคม 2567 14:13 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9107 | 0.9113 | 0.9122 | 0.9128 | 0.9138 | 0.9143 | 0.9153 |
Fibonacci | 0.9113 | 0.9119 | 0.9122 | 0.9128 | 0.9134 | 0.9137 | 0.9143 |
Camarilla | 0.9129 | 0.9130 | 0.9131 | 0.9128 | 0.9134 | 0.9135 | 0.9137 |
Woodie's | 0.9109 | 0.9114 | 0.9124 | 0.9129 | 0.9140 | 0.9144 | 0.9155 |
DeMark's | - | - | 0.9125 | 0.9130 | 0.9141 | - | - |