ยอดค้าปลีกออสเตรเลียพุ่ง ดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่แน่นอน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเงินเฟ้อ
เงินดอลลาร์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังจากข้อมูลยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดในรอบสองปีในเดือนพฤศจิกายน โดยได้รับแรงหนุนจากส่วนลดในวัน Black Friday ซึ่งส่งผลให้ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2% จากเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม การเติบโตเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 2.2% นั้นค่อนข้างซบเซาเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วหลังการระบาดในช่วงกลางปี 2022 ที่ 19% จากผลกระทบของอิทธิพลจากอัตราดอกเบี้ยและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ขณะที่แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น 425 จุดมาอยู่ที่ 4.35% ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงฟื้นตัวได้ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาบ้านที่สูงขึ้น และเงินออมจากมาตรการกระตุ้นหลังการแพร่ระบาดโควิด
ในรายงานเน้นย้ำถึงสินค้าฟุ่มเฟือยที่ช่วยกระตุ้นให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 7.5% ชดเชยการลดลง 1% ในเดือนก่อน และการใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้าและเสื้อผ้ารองเท้าเพิ่มขึ้น 4.2% และ 2.7% ตามลำดับ โดยธนาคารกลางออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะมองข้ามยอดค้าปลีกในเดือนพฤศจิกายน โดยพิจารณาถึงความบิดเบือนที่เกิดจากกิจกรรม Black Friday และ Cyber Monday ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังคงทรงตัว ขณะที่ตลาดยังคงไม่มั่นใจเกี่ยวกับการใช้นโยบายเข้มงวดเพิ่มเติมจากธนาคารกลางออสเตรเลีย
ทางด้านการสำรวจของ ANZ เผยให้เห็นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้นเมื่อต้นปี 2024 แตะระดับสูงสุดในรอบเกือบหนึ่งปี ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกเป็นพิเศษจากเจ้าของที่อยู่อาศัยจากราคาบ้านที่สูงขึ้น และการคาดการณ์ของตลาดถึงการยุติวงจรนโยบายที่เข้มงวดจาก RBA และการผ่อนปรนอัตราในปี 2024
ในบริบททั่วโลก ดัชนีดอลลาร์และฟิวเจอร์สดัชนีดอลลาร์ทรงตัวในเซสชั่นเอเชีย หลังจากลดลงจากระดับสูงสุดในรอบสามสัปดาห์ โดยการหยุดชะงักของค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นมีสาเหตุมาจากนักลงทุนที่ยังคงเดิมพันกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลายครั้งในปี 2024 และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะชะลอตัวลง ขณะที่การสำรวจความคาดหวังของผู้บริโภคของเฟดนิวยอร์กแสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์เงินเฟ้อระยะสั้นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบสามปี
โดยแม้ว่าเงินดอลลาร์จะยังคงแข็งค่าขึ้นส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา แต่ความไม่แน่นอนอาจเกิดขึ้นได้จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้นักลงทุนจับตารอข้อมูลเงินเฟ้อ CPI ที่สำคัญ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ภายในเดือนมีนาคม 2024 ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้ซื้อบ้านในสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม แต่การฟื้นตัวของอุปทานที่อยู่อาศัยยังคงเผชิญกับความท้าทาย ท่ามกลางความคิดเห็นของเจ้าหน้า Fed ที่ยังไม่พร้อมในการออกจากการใช้นโยบายแบบผ่อนคลายที่เร็วเกินไป
ทางด้านรายงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ นิวยอร์กเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้บริโภคพบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในหนึ่งปีลดลงเหลือ 3% ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 เช่นเดียวกันกับแนวโน้มระยะยาวสำหรับอัตราเงินเฟ้อสามปีและห้าปี สะท้อนถึงการคาดการณ์ของดัชนีราคาในหลายกลุ่มที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการศึกษา โดยการเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่อาจพิจารณาถึงการลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นในช่วงปลายปี เพื่อสร้างสมดุลระหว่างเสถียรภาพด้านราคาและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ เนื่องจากการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคมีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของตลาด จึงอาจกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายของเฟดในอนาคต โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอาจส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เย็นตัวขึ้น ซึ่งอาจช่วยลดความจำเป็นที่เฟดจะคงไว้ซึ่งนโยบายการเงินที่เข้มงวด และอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงได้เล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียในระยะกลาง ขณะที่ในระยะสั้นอาจพบการปรับตัวขึ้นลงในกรอบล่างแบบจำกัดได้เนื่องจากความต่างระหว่างผลตอบแทนของทั้งสองประเทศ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (15Min) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6705, 0.6707, 0.6712
แนวรับสำคัญ : 0.6695, 0.6693, 0.6688
15Min Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6690 - 0.6695 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6695 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6705 และ SL ที่ประมาณ 0.6687 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6705 - 0.6710 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6716 และ SL ที่ประมาณ 0.6692 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6705 - 0.6710 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6705 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6692 และ SL ที่ประมาณ 0.6713 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6690 - 0.6695 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6680 และ SL ที่ประมาณ 0.6708 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jan 09, 2024 03:15PM GMT+7
Name | S3 | S2 | S1 | Pivot Points | R1 | R2 | R3 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6680 | 0.6688 | 0.6692 | 0.6700 | 0.6704 | 0.6712 | 0.6716 |
Fibonacci | 0.6688 | 0.6693 | 0.6695 | 0.6700 | 0.6705 | 0.6707 | 0.6712 |
Camarilla | 0.6694 | 0.6695 | 0.6696 | 0.6700 | 0.6699 | 0.6700 | 0.6701 |
Woodie's | 0.6680 | 0.6688 | 0.6692 | 0.6700 | 0.6704 | 0.6712 | 0.6716 |
DeMark's | - | - | 0.6691 | 0.6699 | 0.6702 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2