ญี่ปุ่นยังคงโดนกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ
เงินเยนของญี่ปุ่นทรงตัวที่ประมาณ 145 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนจับตามองข้อมูลเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเพื่อใช้คาดการณ์แนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นในอนาคต โดยทางผู้กำหนดนโยบายยังคงให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อที่ยั่งยืน โดยจะได้รับแรงหนุนมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง ในขณะเดียวกัน การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่ำกว่าที่คาดยังคงกดดันเงินเยนในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงเชื่อว่า Fed จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 3.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ที่ 3.2%
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวเพิ่มขึ้นเป็น 2.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนธันวาคม แม้ว่าตัวเลขจะชะลอตัวลงจาก 2.3% ในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงแนวโน้มของอ้ตราเงินเฟ้อทั่วประเทศ ซึ่งยังคงมากกว่าเป้าหมายที่ 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ตั้งไว้ แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อ อาจทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นจำเป็นต้องพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใหม่อีกครั้ง
ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 1,925.6 พันล้านเยนในเดือนพฤศจิกายน จาก 1,772.2 พันล้านเยนในเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุล 2,385.1 พันล้านเยน แม้ว่าการเงินดุลในส่วนภาคบริการจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ปัญหาด้านการส่งออกที่ลดลงและรายได้ปฐมภูมิ (เป็นรายได้ที่เกิดจากการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาล) ที่ลดลง ทำให้ส่งผลกระทบด้านลบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดโดยตรง
ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจชั้นนำในญี่ปุ่น ซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าลดลงเหลือ 107.7 ในเดือนพฤศจิกายน นับเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง GDP ที่หดตัวในไตรมาสที่ 3 อีกทั้งยังมีแรงกดดันต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อและการนำเข้าพลังงานเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ กิจกรรมโรงงานยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องในเดือนพฤศจิกายน
ทุนสำรองระหว่างประเทศในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 1.295 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม จาก 1.270 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนก่อนหน้า พบว่าทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการที่ญี่ปุ่นได้เพิ่มทุนสำรองเงินตราต่างประเทศให้มากขึ้นถึง 1.160 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังมีการนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
รายได้เมื่อคิดเป็นเงินสดเฉลี่ยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤศจิกายน โดยแสดงให้เห็นว่าการเติบโตของค่าจ้างของประเทศยังคงช้ากว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากกว่า 2.5% ในเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้ค่าจ้างที่แท้จริงยังคงลดลงเป็นเดือนที่ 20 ติดต่อกัน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นของภาคครัวเรือนทำให้ยิ่งตอกย้ำปัญหาการเติบโตของค่าจ้างที่ยังน้อยอยู่
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 145.25, 145.44, 145.63
แนวรับสำคัญ: 144.88, 144.69, 144.50
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 144.69 - 144.88 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 144.88 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.44 และ SL ที่ประมาณ 144.50 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 145.25 - 145.44 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.63 และ SL ที่ประมาณ 144.69 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 145.25 - 145.44 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 145.25 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.69 และ SL ที่ประมาณ 145.63 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 144.69 - 144.88 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.50 และ SL ที่ประมาณ 145.44 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 15 มกราคม 2567 12:14 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 144.50 | 144.69 | 144.88 | 145.06 | 145.25 | 145.44 | 145.63 |
Fibonacci | 144.69 | 144.83 | 144.92 | 145.06 | 145.20 | 145.29 | 145.44 |
Camarilla | 144.97 | 145.01 | 145.04 | 145.06 | 145.11 | 145.14 | 145.18 |
Woodie's | 144.50 | 144.69 | 144.88 | 145.06 | 145.25 | 145.44 | 145.63 |
DeMark's | - | - | 144.97 | 145.10 | 145.34 | - | - |