บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ วันที่ 16 มกราคม 2567

Create at 11 months ago (Jan 16, 2024 10:17)

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขาดทิศทางบนความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ตลาดจับตาดูรายงานผลประกอบการของธนาคาร

หุ้นสหรัฐฯ เผชิญกับทิศทางที่หลากหลายในช่วงปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ โดยหุ้นโทรคมนาคม น้ำมันและก๊าซ และสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้น ชดเชยด้วยการปรับตัวลดลงในหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริการผู้บริโภค และการดูแลสุขภาพ หลังจากที่สัปดาห์ก่อนพบการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย โดย S&P 500 เพิ่มขึ้น 0.1% ดัชนี Nasdaq Composite ไม่พบการเปลี่ยนแปลงมากนัก และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 0.3%

อย่างไรก็ดี นักลงทุนจับตาดูรายได้ของธุรกิจกลุ่มธนาคาร รวมถึงประเมินข้อมูลที่บ่งชี้ถึงราคาผู้ผลิตสหรัฐที่ลดลงอย่างน่าประหลาดใจในเดือนธันวาคม โดยการลดลงนี้มีสาเหตุมาจากต้นทุนที่ลดลงในสินค้าต่างๆ เช่น น้ำมันดีเซลและอาหาร โดยเป็นการลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน ขณะที่นักลงทุนยังคงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากปัจจุบันที่ 5.50% ลงเหลือ 5.25% อย่างเร็วที่สุดในเดือนมีนาคม ท่ามกลางนักวิเคราะห์บางคนที่คาดว่าจะมีการปรับลดในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน

ในสัปดาห์นี้ ความสนใจจะอยู่ที่ยอดค้าปลีกและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของมหาวิทยาลัยมิชิแกนสำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิทัศน์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ขณะที่ Goldman Sachs และ Morgan Stanley มีกำหนดรายงานผลประกอบการรายไตรมาส ซึ่งคาดว่าจะดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของสถาบันต่างๆ ที่เน้นด้านวาณิชธนกิจและการจัดการสินทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีการควบรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการที่น้อยลง

ทั้งนี้ ธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ได้รายงานผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสที่สี่ จากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในช่วงหลายเดือนก่อนได้สนับสนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ แต่ยังคงมีคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับความยั่งยืนของผลกำไรดังกล่าว ขณะที่ธนาคารต่างๆ รวมถึง JPMorgan, Bank of America, Wells Fargo และ Citigroup ได้กันเงินสำรองที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งบ่งชี้ถึงการผิดนัดชำระหนี้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้น ธนาคารต่างๆ ได้เสนอการประเมินเชิงบวกโดยรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเน้นถึงความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค ท่ามกลางแรงกดดันจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอน โดยการสำรวจก่อนการประชุม World Economic Forum เผยให้เห็นแนวโน้มการเติบโตที่ลดลงในปี 2024 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจจะอ่อนแอลง ซึ่งคาดว่าเปอร์เซ็นต์การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจแข็งแกร่งขึ้น หรืออาจคงที่และไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยการสำรวจดังกล่าวได้เน้นการทดสอบความสามารถในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง และบ่งชี้ถึงกิจกรรมการชะลอตัวในภาคการผลิตและบริการ

โดยในสัปดาห์นี้ คาดว่าข้อมูลยอดค้าปลีกและรายได้ของธนาคารจะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับนักลงทุน ซึ่งดัชนีผู้บริโภคในสหรัฐฯ ตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ขณะที่ยอดค้าปลีกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธันวาคม และข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัย รวมถึงโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและยอดขายบ้านมือสอง คาดว่าจะสะท้อนถึงความท้าทายในเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องท่ามกลางต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ ท่ามกลางการพิจารณาถึงทิศทางทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ผู้นำระดับโลกได้รวมตัวกันที่เมืองดาวอสเพื่อเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum โดยจะมีการกล่าวถึงประเด็นต่างๆ รวมถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ข้อกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่เจ้าหน้าที่ของเฟด รวมถึงผู้ว่าการคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดแอตแลนตา และแมรี่ ดาลี หัวหน้าเฟดประจำซานฟรานซิสโก มีกำหนดที่จะแบ่งปันวิสัยทัศน์ในสัปดาห์นี้ จึงอาจส่งผลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวมได้ในช่วงนี้ จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ยังคงไม่ชัดเจนจากหลายๆ ประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก โดยอาจพบการปรับตัวขึ้นลงได้ในกรอบกว้างๆ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD US 500 [S&P 500]

แนวต้านสำคัญ : 4770.9, 4772.7, 4775.6

แนวรับสำคัญ : 4765.1, 4763.3, 4760.4                

1H Outlook             

วิเคราะห์ดัชนี S&P 500 ที่มา: Investing.com               

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 4760.1 - 4765.1 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 4765.1 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 4772.4 และ SL ที่ประมาณ 4758.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 4770.9 - 4775.9 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 4780.0 และ SL ที่ประมาณ 4763.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 4770.9 - 4775.9 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 4770.9 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 4764.8 และ SL ที่ประมาณ 4778.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 4760.1 - 4765.1 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 4757.0 และ SL ที่ประมาณ 4773.0 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jan 16, 2024 09:21AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 4757.2 4760.4 4764.8 4768 4772.4 4775.6 4780
Fibonacci 4760.4 4763.3 4765.1 4768 4770.9 4772.7 4775.6
Camarilla 4767.1 4767.8 4768.5 4768 4769.9 4770.6 4771.3
Woodie's 4757.8 4760.7 4765.4 4768.3 4773 4775.9 4780.6
DeMark's - - 4766.4 4768.8 4774 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES