ธนาคารกลางยุโรปได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.5%
เงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ระดับ 0.915 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนตั้งตารอคำกล่าวของ Christine Lagarde ซึ่งดำรงตำแหน่งประธาน ECB เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายทางการเงินของ ECB ในอนาคต เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจของเยอรมันหดตัว 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อ, ต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ที่อ่อนตัวลง นอกจากนี้กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนยังคงหดตัวลง แสดงถึงการหดตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโดยรวมในยูโรโซน
ECB คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ 4.5% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากคงตัวอยู่ที่ 4% โดยทาง ECB ยังให้ความสำคัญกับการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นอันดับแรก นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายยังให้คำมั่นในการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับที่เข้มงวดเพียงพอเพื่อกดดันอัตราเงินเฟ้อและยังทำให้เศรษฐกิจสามารถโติบโตต่อไปได้ในระยะยาว ECB คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 5.4% ในปี 2023, 2.7% ในปี 2024, 2.1% ในปี 2025 และ 1.9% ในปี 2026
นักลงทุนคาดการณ์ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ECB ครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายน แม้ว่า Philip Lane ซึ่งเป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ได้คาดการณ์ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเดือนมิถุนายนจะมีความเป็นไปได้มากกว่า นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายของ ECB Joachim Nagel กล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่ ECB จะหารือเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ด้าน Robert Holzmann ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน กล่าวว่าโอกาสน้อยมากในการลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024
ยูโรโซนมีการเกินดุลการค้า 20.3 พันล้านยูโรในเดือนพฤศจิกายน จาก 13.8 พันล้านยูโรในปีก่อนหน้า โดยการนำเข้าได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การส่งออกลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อดูตัวเลขดุลการค้าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายนพบว่าเกินดุลอยู่ที่ 49.7 พันล้านยูโร เทียบกับการขาดดุล 323.7 พันล้านยูโรในปีที่แล้ว โดยการขาดดุลการค้ากับรัสเซียลดลงเหลือ 11.3 พันล้านยูโร และการขาดดุลการค้ากับจีนลดลงเหลือ 273.1 พันล้านยูโร
การนำเข้าในเขตยูโรลดลง 16.7% เหลือ 232.2 พันล้านยูโร โดยการนำเข้าลดลงอย่างมากในของผลิตภัณฑ์พลังงานที่ลดลง 33.6% นอกจากนี้ การนำเข้าเครื่องจักรและยานพาหนะยังคงลดลง 1.3% ด้านการส่งออกลดลง 4.7% สู่ 252.5 พันล้านยูโร โดยการส่งออกเครื่องจักรและยานพาหนะเพิ่มขึ้น 9.1% สวนทางกับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่ลดลง 3.8%
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.9166, 0.9174, 0.9181
แนวรับสำคัญ: 0.9152, 0.9144, 0.9137
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9144 - 0.9152 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9152 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9174 และ SL ที่ประมาณ 0.9137 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9166 - 0.9174 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9181 และ SL ที่ประมาณ 0.9144 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9166 - 0.9174 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9166 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9144 และ SL ที่ประมาณ 0.9181 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9144 - 0.9152 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9137 และ SL ที่ประมาณ 0.9174 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 16 มกราคม 2567 15:30 น. GMT+7
ชื่อ | S3 | S2 | S1 | จุดกลับตัว | R1 | R2 | R3 |
Classic | 0.9137 | 0.9144 | 0.9152 | 0.9159 | 0.9166 | 0.9174 | 0.9181 |
Fibonacci | 0.9144 | 0.9150 | 0.9153 | 0.9159 | 0.9165 | 0.9168 | 0.9174 |
Camarilla | 0.9155 | 0.9156 | 0.9158 | 0.9159 | 0.9160 | 0.9162 | 0.9163 |
Woodie's | 0.9137 | 0.9144 | 0.9152 | 0.9159 | 0.9166 | 0.9174 | 0.9181 |
DeMark's | - | - | 0.9156 | 0.9161 | 0.9170 | - | - |