เศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง
เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องเกิน 148 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ชุนอิจิ ซูซูกิ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น กล่าวว่ารัฐบาลกำลังจับตาดูตลาดสกุลเงินอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความเสถียรภาพด้านสกุลเงินยังเป็นสิ่งสำคัญและการเคลื่อนไหวของตลาดสกุลเงินควรสะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้วย ทำให้นักลงทุนชะลอการเก็งกำไรออกไปก่อนรวมถึงมีการจับตาดูธนาคารกลางญี่ปุ่นว่าอาจจะเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินอย่างไรในการประชุมครั้งหน้า
คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นที่ไม่รวมคำสั่งซื้อสำหรับเรือและบริษัทพลังงานไฟฟ้า ลดลง 4.9% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านทุนที่ลดลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากภาคการผลิตที่ลดลงมากถึง 7.8% ในขณะที่ภาคที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตลดลงเพียง 0.4% คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่ลดลงยังชี้ให้เห็นถึงกำลังการผลิตที่อาจชะลอตัวลงได้ในอนาคต โดยที่อุตสาหกรรมที่มีการหดตัวสูงสุด ได้แก่ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง 30.8%
อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นลดลงเหลือ 2.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนธันวาคม จาก 2.8% ในเดือนก่อนหน้า แน้วโน้มของอัตราเงินเฟ้อกลับมาลดลงอีกครั้งหลังจากเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2023 โดยราคาอาหารเพิ่มขึ้น 6.7% ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 14 เดือน เนื่องจากราคาสินค้าสำหรับการประกอบอาหารลดลง ได้แก่ ไข่, เนื้อสัตว์, ผลไม้สดและอาหารทะเล ขณะเดียวกัน ราคาเชื้อเพลิงและไฟฟ้าลดลงเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน
ดัชนีความเชื่อมั่นสำหรับผู้ผลิตในญี่ปุ่นลดลงสู่ 6 ในเดือนมกราคม จาก 12 ในเดือนธันวาคม เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศที่เปราะบางและอุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอ โดยเฉพาะจากประเทศจีนที่การเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่มั่นคง นอกจากนี้ สงครามที่ยืดเยื้อในยูเครนและความขัดแย้งที่เกิดระหว่างอิสราเอลและฮามาส ทำให้คู่ค้าไม่สามารถเพิ่มการใช้จ่ายได้มากนัก
มูลค่าสินเชื่อในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนธันวาคม โดยยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม การเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินเชื่อในครั้งนี้ได้รับแรงหนุนจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารรายใหญ่และธนาคารท้องถิ่นเป็นหลัก โดยปริมาณสินเชื่อเพิ่มสูงถึง 614.5 ล้านล้านเยน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเกิน 0.67% ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มลดความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะกลับมาขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 148.2, 148.5, 148.73
แนวรับสำคัญ: 147.68, 147.44, 147.15
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 147.44 - 147.68 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 147.68 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.5 และ SL ที่ประมาณ 147.15 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 148.2 - 148.5 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.73 และ SL ที่ประมาณ 147.44 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 148.2 - 148.5 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 148.2 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.44 และ SL ที่ประมาณ 148.73 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 147.44 - 147.68 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 147.15 และ SL ที่ประมาณ 148.5 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 22 มกราคม 2567 13:35 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 147.15 | 147.44 | 147.68 | 147.97 | 148.2 | 148.5 | 148.73 |
Fibonacci | 147.44 | 147.64 | 147.77 | 147.97 | 148.17 | 148.3 | 148.5 |
Camarilla | 147.77 | 147.82 | 147.87 | 147.97 | 147.96 | 148.01 | 148.06 |
Woodie's | 147.13 | 147.43 | 147.66 | 147.96 | 148.18 | 148.49 | 148.71 |
DeMark's | - | - | 147.56 | 147.91 | 148.09 | - | - |