ECB คงอัตราดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สร้างความประหลาดใจ
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ล่าสุดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 4% ในระหว่างการประชุมนโยบายครั้งล่าสุด ส่งสัญญาณถึงความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ โดยการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับคำแถลงของประธาน ECB คริสติน ลาการ์ด ที่ระบุว่ายังเร็วเกินไปที่จะหารือเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับเศรษฐกิจยูโรโซน ส่งผลให้เงินยูโรร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ท่ามกลางการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายจากลาการ์ด
อย่างไรก็ดี ยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะถดถอยในไตรมาสสุดท้าย โดยคาดว่าไตรมาสปัจจุบันถือเป็นไตรมาสที่หกที่การเติบโตทรงตัวหรือติดลบติดต่อกัน โดย ECB คาดการณ์ว่าการฟื้นตัวจะได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและภาครัฐ ขณะที่ข้อมูลยังคงชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่แย่ลง โดยภาคการผลิตอยู่ในภาวะถดถอยและการบริการต่างๆ ชะลอตัวลง ลาการ์ดเน้นย้ำถึงความเสี่ยงด้านลบ รวมถึงผลกระทบของนโยบายการเงิน ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามในยูเครนและตะวันออกกลาง และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ การหยุดชะงักทางการค้าจากการโจมตีของกลุ่มฮูตีของเยเมนในทะเลแดงอาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อจากต้นทุนพลังงานและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ มีรายงานว่าผู้กำหนดนโยบายของ ECB จะเปิดรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งอาจปูทางไปสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน หากข้อมูลที่จะเกิดขึ้นสามารถยืนยันอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงได้ โดยปัจจุบันตลาดเงินบ่งชี้ว่ามีโอกาส 80% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดในเดือนเมษายน และมีโอกาสสูงที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50 จุดภายในเดือนมิถุนายน
อีกด้าน คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยแผนการยกระดับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปโดยพิจารณาการลงทุนจากต่างประเทศอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และดำเนินการควบคุมการประสานงานด้านการส่งออกและการไหลออกของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับจีน โดยการแก้ไขเสนอในการคัดกรองการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการลงทุนที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยภายในสหภาพยุโรปหรือการถูกควบคุมโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งโครงการนี้ริเริ่มเพื่อตอบสนองต่อโควิด การรุกรานยูเครนของรัสเซีย การโจมตีทางไซเบอร์ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่กว้างขึ้นในการลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจีน
ในขณะเดียวกัน บริษัทเยอรมันที่ดำเนินกิจการในจีนกำลังเผชิญกับความท้าทาย โดยการสำรวจระบุว่าสัดส่วนการพิจารณาที่จะออกหรือบริษัทที่ได้ออกจากตลาดจีนไปแล้ว เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งแนวโน้มนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเยอรมนีในการลดความเสี่ยงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน และสะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และพฤติกรรมเชิงรุกของจีน
นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนียังถูกปรับลดลง โดยสถาบัน Ifo คาดการณ์ว่าจะพบอัตราการเติบโต 0.7% ในปี 2024 ลดลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 0.9% ขณะที่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงงบประมาณของรัฐบาลกลาง ได้ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ โดยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของเยอรมนีคาดว่าจะรุนแรงขึ้นในเดือนมกราคม ส่งผลกระทบต่อทั้งภาคการผลิตและการบริการ
ทางด้านสหรัฐอเมริกา ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากข้อมูลเปิดเผยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วกว่าที่คาดในไตรมาสที่สี่ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตรา 3.3% ต่อปี สูงกว่าการคาดการณ์ที่ 2% ขณะที่เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังแสดงมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเน้นย้ำถึงความสามารถในผลผลิตที่เพิ่มขึ้นโดยไม่พบแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ แม้ว่าผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจะแข็งแกร่ง แต่ตลาดฟิวเจอร์สอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ระบุถึงโอกาส 51% ที่จะพบการผ่อนคลายนโยบายในการประชุมเดือนมีนาคม บ่งชี้ถึงความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกคาดว่าจะเกิดขึ้นในการประชุมเดือนพฤษภาคม โดยพบความน่าจะเป็นถึง 94% โดยนักวิเคราะห์ที่สำรวจโดย Reuters แนะนำว่าเฟดอาจรอจนถึงไตรมาสที่สอง โดยคาดว่ามีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ส่งผลให้การประชุมเฟดที่กำลังจะมีขึ้นถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิดถึงสัญญาณและจุดยืนของธนาคารกลางเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในอนาคต จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรยังคงแนวโน้มถูกกดดันอยู่ในช่วงนี้ ทั้งจากความต่างของการดำเนินงานทางเศรษฐกิจและอัตราผลตอบแทนระหว่างสองเขตเศรษฐกิจ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.0852, 1.0859, 1.0871
แนวรับสำคัญ : 1.0828, 1.0821, 1.0809
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0818 - 1.0828 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0828 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0859 และ SL ที่ประมาณ 1.0813 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0852 - 1.0862 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0885 และ SL ที่ประมาณ 1.0823 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0852 - 1.0862 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0852 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0828 และ SL ที่ประมาณ 1.0867 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0818 - 1.0828 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0800 และ SL ที่ประมาณ 1.0857 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jan 26, 2024 09:35AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.0797 | 1.0809 | 1.0828 | 1.084 | 1.0859 | 1.0871 | 1.089 |
Fibonacci | 1.0809 | 1.0821 | 1.0828 | 1.084 | 1.0852 | 1.0859 | 1.0871 |
Camarilla | 1.0837 | 1.084 | 1.0843 | 1.084 | 1.0849 | 1.0852 | 1.0855 |
Woodie's | 1.0799 | 1.081 | 1.083 | 1.0841 | 1.0861 | 1.0872 | 1.0892 |
DeMark's | - | - | 1.0834 | 1.0843 | 1.0864 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ