บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

Create at 10 months ago (Feb 09, 2024 09:47)

เยนอ่อนค่าท่ามกลางการต่อสู้เงินเฟ้อภาคบริการของญี่ปุ่นยังคงความยืดหยุ่น ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า

เงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากการเปิดเผยข้อมูลการขอรับสวัสดิการว่างงาน ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังคงต่อสู้กับความท้าทายทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากค่าจ้างที่แท้จริงที่ลดลงเป็นเดือนที่ 21 ติดต่อกัน แม้จะในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน โดยแนวโน้มเหล่านี้เน้นย้ำถึงการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งแซงหน้าการเติบโตของค่าจ้าง และขัดขวางการใช้จ่ายของผู้บริโภค

ทั้งนี้ เส้นทางค่าจ้างของญี่ปุ่นควบคู่ไปกับอัตราเงินเฟ้อ ถือเป็นตัวแปรสำคัญ เนื่องจากทั้งสองเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นในการพิจารณาถึงการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมาอย่างยาวนาน ขณะที่นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ เรียกร้องให้ผู้นำภาคธุรกิจปรับขึ้นค่าจ้างในระหว่างการเจรจาแรงงานช่วงฤดูใบไม้ผลิให้สูงกว่าระดับของปีที่แล้ว และรับมือกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งญี่ปุ่นได้พยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์และค่าจ้างที่สูงขึ้น แทนที่จะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ถูกผลักดันด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาพลังงานและเงินเยนที่อ่อนค่าลง

โดยในเดือนธันวาคม ค่าจ้างที่แท้จริงที่ปรับอัตราเงินเฟ้อลดลง 1.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน แม้ว่าอัตราการลดลงจะชะลอตัวลงจากเดือนพฤศจิกายน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคของรัฐบาลซึ่งรวมถึงราคาอาหารสดแต่ไม่รวมค่าเช่าที่พักอาศัย ปรับตัวในระดับปานกลางมาอยู่ที่ 3.0% สะท้อนถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงจากต้นทุนวัตถุดิบ

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจเหล่านี้ ภาคบริการของญี่ปุ่นยังคงแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น โดยขยายตัวในอัตราที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน จากแรงหนุนของอุปสงค์ที่แข็งแกร่งและเงินเยนที่อ่อนค่าลง ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเป็นครั้งแรกในรอบห้าเดือน โดยอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 70% ของ GDP ของญี่ปุ่น ถือเป็นจุดแข็งในภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่ท้าทายที่เกิดขึ้น และช่วยบรรเทาความซบเซาในภาคการผลิตจากอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ

นอกจากนี้ กิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นนี้ ยังมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของธุรกิจส่งออกใหม่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม จากแรงหนุนจากการท่องเที่ยวขาเข้าที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะการเดินทางทางอากาศ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของราคาวัตถุดิบจะแตะระดับสูงสุดในรอบสามเดือนเนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงและค่าแรงที่สูงขึ้น โดยบริษัทต่างๆ ได้ส่งต่อการเพิ่มขึ้นบางส่วนเหล่านี้ไปยังผู้บริโภค ส่งผลให้ราคาปรับขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมของปีที่แล้ว ท่ามกลางความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจในช่วง 12 เดือนข้างหน้าที่แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

อย่างไรก็ตาม รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ชินิจิ อุชิดะ ระบุว่าธนาคารกลางอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง แม้ว่าจะมีการออกจากนโยบายการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบแล้วก็ตาม

ขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นตามข้อมูลเชิงบวกเกี่ยวกับสวัสดิการการว่างงาน ตอกย้ำจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการรักษาอัตราดอกเบี้ย

โดยความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานสหรัฐฯ ซึ่งเห็นได้จากการขอรับสิทธิสวัสดิการการว่างงาน และจำนวนอัตราการว่างงานที่ลดลง บ่งชี้ถึงโมเมนตัมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้ในปี 2024 ล่าช้าออกไป

ทั้งนี้ ตลาดจะมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลการอ่านดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมกราคมเพื่อดูข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายในสิ้นปีนี้ลดลง สะท้อนถึงแนวโน้มเชิงบวกต่อภาวะเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น จึงอาจส่งผลให้ค่าเงินเยนยังคงแนวโน้มทรงตัวในกรอบแคบๆ ไปจนถึงถูกกดดันได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจปรับตัวขึ้นลงได้มากขึ้น หากพบการรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญจากทั้งทางสหรัฐฯ และญี่ปุ่นในระยะนี้

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 149.38, 149.42, 149.49

แนวรับสำคัญ : 149.24, 149.20, 149.13                        

5H Outlook                           

วิเคราะห์ USD/JPY

1H Outlook  

วิเคราะห์ USD/JPY 1Hที่มา: Investing.com            

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 149.04 – 149.24 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 149.24 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.38 และ SL ที่ประมาณ 148.94 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 149.38 – 149.58 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.90 และ SL ที่ประมาณ 149.14 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 149.38 – 149.58 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 149.38 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.21 และ SL ที่ประมาณ 149.68 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 149.04 – 149.24 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.31 และ SL ที่ประมาณ 149.48 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Feb 9, 2024 09:06AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 149.03 149.13 149.21 149.31 149.38 149.49 149.56
Fibonacci 149.13 149.2 149.24 149.31 149.38 149.42 149.49
Camarilla 149.24 149.25 149.27 149.31 149.3 149.32 149.33
Woodie's 149.03 149.13 149.21 149.31 149.38 149.49 149.56
DeMark's - - 149.17 149.29 149.35 - -

Sources: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES