บทวิเคราะห์ USD/JPY 14 กุมภาพันธ์ 2567

Create at 8 months ago (Feb 14, 2024 14:49)

ญี่ปุ่นมีความกังวลเรื่องการอ่อนค่าของเงินเยน

เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงเกิน 150 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเงินเฟ้อของสหรัฐฯ สูงมากกว่าที่คาด ส่งผลให้เกิดการอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของเงินเยน ส่งผลให้ทางรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ชุนิจิ ซูซูกิ ออกมาเตือนว่าทางการของญี่ปุ่นกำลังติดตามตลาดสกุลเงินอย่างใกล้ชิด โดยไม่ยืนยันว่าจะเข้ามาแทรกแซงตลาดหรือไม่ 

 

ทางด้าน มาซาโตะ คันดะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า  ญี่ปุ่นจะดำเนินการแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหากจำเป็น เนื่องจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วนั้นจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ อีกทั้งยังมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่อาจเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ด้านนักลงทุนเองก็จับตาดูแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด


อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นลดลงเหลือ 2.4% ในเดือนธันวาคม นับเป็นอัตราการว่างงานที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2023 โดยได้บันทึกจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 380,000 คนเป็น 67.54 ล้านคน ในขณะที่ผู้ว่างงานลดลง 20,000 คนเป็น 1.56 ล้านคน ในขณะเดียวกัน อัตราส่วนของจำนวนงานต่อการสมัครงานอยู่ที่ 1.27 ในเดือนธันวาคม แสดงให้เห็นว่ายังมีตำแหน่งงานที่มากเพียงพอสำหรับผู้ที่ต้องการสมัครงานในตอนนี้


อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของโตเกียวเพิ่มขึ้น 1.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 1.9% เงินเฟ้อที่ลดลงจะช่วยผ่อนคลายแรงกดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากราคาพลังงานที่ลดลงและทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั่วโลกลดลงด้วย คาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการ BOJ กล่าวว่าเงินเฟ้อจะบรรลุเป้าหมายที่ 2% อย่างยั่งยืนพร้อมการปรับขึ้นค่าจ้างที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น 


ยอดค้าปลีกในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนธันวาคม ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วจากที่เพิ่มขึ้น 5.4% ในเดือนพฤศจิกายน โดยการบริโภคของญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากเกิดโควิด 19 เมื่อพิจารณาแยกตามอุตสาหกรรมพบว่าภาคยานยนต์มีการขยายตัวมากที่สุด รองลงมาคือเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเกิน 0.75% ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้น ท่ามกลางข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ร้อนแรง ในขณะที่นักลงทุนจับตาดูนโยบายทางกลางเงินของทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด โดยที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ทำ Yield Curve Control และกำหนดกรอบผลตอบแทนด้านบนไว้ที่ 1%

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 150.62, 150.75, 150.85

แนวรับสำคัญ: 150.39, 150.29, 150.17

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 150.29 - 150.39 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 150.39 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.75 และ SL ที่ประมาณ 150.17 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 150.62 - 150.75 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.85 และ SL ที่ประมาณ 150.29 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 150.62 - 150.75 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 150.62 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.29 และ SL ที่ประมาณ 150.85 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 150.29 - 150.39 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.17 และ SL ที่ประมาณ 150.75 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 14 กุมภาพันธ์ 2567 14:43 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 150.17 150.29 150.39 150.52 150.62 150.75 150.85
Fibonacci 150.29 150.38 150.43 150.52 150.61 150.66 150.75
Camarilla 150.42 150.44 150.46 150.52 150.51 150.53 150.55
Woodie's 150.15 150.28 150.37 150.51 150.6 150.74 150.83
DeMark's - - 150.34 150.49 150.57 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES