อังกฤษเข้าสู่ภาวะถดถอย เงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดแข็งค่าท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 สหราชอาณาจักรเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจหลังจากเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นสำหรับนายกรัฐมนตรี ริชิ ซูนัก ที่ให้คำมั่นถึงการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยข้อมูลอย่างเป็นทางการเผยให้เห็นการหดตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 0.3% ในช่วงสามเดือนหลังถึงเดือนธันวาคม มากกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลง 0.1% โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งมากกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้ค่าเงินสเตอร์ลิงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโร ขณะที่นักลงทุนเพิ่มเดิมพันเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE) ท่ามกลางภาคธุรกิจต่างๆ ที่คาดหวังถึงการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติม จากแผนงบประมาณที่มีกำหนดไว้ในวันที่ 6 มีนาคม
ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ทำให้อังกฤษตกอยู่ในสถานะเดียวกับญี่ปุ่นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วทั้ง 7 แม้จะถูกคาดว่าจะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ และไม่ลึกมาก โดยเจเรมี ฮันต์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ยังคงแสดงมุมมองในเชิงบวกเกี่ยวกับสัญญาณของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้น แต่ยังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการยึดมั่นในแผนการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการลดภาษีสำหรับการทำงานและธุรกิจ
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อซึ่งยังคงอยู่ที่ 4.0% ในเดือนมกราคม ยังคงเป็นหัวข้อถกเถียงในหมู่นักลงทุน โดยมีการคาดเดาเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ BoE ที่อาจเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ขณะที่ผู้ว่าการแอนดรูว์ เบลีย์ยังคงต้องการหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง ท่ามกลางผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ลดลง 0.1% ในเดือนธันวาคม จากการลดลงในภาคการผลิต การก่อสร้าง และการขายส่ง รวมถึงการเติบโตของ GDP ต่อหัวที่ยังคงไม่พบการปรับปรุงที่ดีขึ้นและสร้างแนวโน้มตกต่ำเป็นประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ต้นปี 2022
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษยังคงกังวลถึงค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อของภาคบริการ และอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลล่าสุดระบุว่าค่าจ้างปกติเพิ่มขึ้น 6.2% ต่อปีในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ซึ่งแม้จะเป็นอัตราที่ช้าที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปี แต่ยังคงความเร็วเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าต่อการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ที่ยั่งยืน
ในทางตรงกันข้าม ราคาบ้านในอังกฤษมีอัตราการเติบโต 2.5% ต่อปีในเดือนมกราคม ซึ่งส่งสัญญาณถึงโมเมนตัมที่อาจเกิดขึ้นในตลาดที่อยู่อาศัย ขณะที่ธนาคารแห่งอังกฤษระบุว่าความยืดหยุ่นในตลาดที่อยู่อาศัย เป็นตัวบ่งชี้อุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด เมื่อพิจารณาถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เจเรมี ฮันต์ ได้ตั้งเป้าที่จะลดการใช้จ่ายสาธารณะเพื่อเป็นทุนสำหรับนโยบายการลดภาษีก่อนการเลือกตั้งในงบประมาณเดือนมีนาคม โดยมีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจำกัดการใช้จ่ายเพิ่มเติมและการลดการใช้จ่ายที่คาดการณ์ไว้ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความรอบคอบทางการคลังเมื่อพิจารณาถึงสภาพทางการเงินที่ตึงตัว
ทางด้านสหรัฐฯ พบกับข้อมูลเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งนำไปสู่เงินดอลลาร์ที่ร่วงลงติดต่อกันสองเซสชั่น ขณะที่ยอดค้าปลีกในเดือนมกราคมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ท่ามกลางคำแนะนำให้ใช้ความระมัดระวังในการตีความถึงการลดลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นจากพายุฤดูหนาว ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมอ่อนตัวลง โดยพบดัชนีการผลิตของ Empire State และ Philadelphia Fed มีการปรับปรุงดีขึ้น
ในขณะเดียวกัน คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ เน้นย้ำถึงสถานะผู้นำตลาดของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างถึงข้อได้เปรียบเหนือตัวเลือกอื่นๆ ซึ่งถึงแม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อสถานะของเงินดอลลาร์ แต่การพัฒนาล่าสุดที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับบทบาทของเงินดอลลาร์ในเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ตลาดฟิวเจอร์สกองทุนของรัฐบาลกลาง (FFR) ระบุถึงความน่าจะเป็น 83% ที่จะพบการผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกที่อาจเกิดขึ้นในการประชุมเดือนมิถุนายน โดยคาดว่าจะพบการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3-4 ครั้งในปีนี้ จึงอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจยังคงแนวโน้มแข็งค่ากว่าเงินปอนด์ได้อยู่เล็กน้อยในช่วงนี้ โดยอาจพบการซื้อขายขึ้นลงในแนวเส้นปัจจุบันได้ในกรอบแคบๆ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.2590, 1.2592, 1.2596
แนวรับสำคัญ : 1.2582, 1.2580, 1.2576
1H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2577 - 1.2582 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2582 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2592 และ SL ที่ประมาณ 1.2575 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2590 - 1.2595 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2602 และ SL ที่ประมาณ 1.2580 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2590 - 1.2595 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2590 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2582 และ SL ที่ประมาณ 1.2597 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2577 - 1.2582 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2572 และ SL ที่ประมาณ 1.2592 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Feb 16, 2024 09:24AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.2572 | 1.2576 | 1.2582 | 1.2586 | 1.2592 | 1.2596 | 1.2602 |
Fibonacci | 1.2576 | 1.258 | 1.2582 | 1.2586 | 1.259 | 1.2592 | 1.2596 |
Camarilla | 1.2585 | 1.2586 | 1.2587 | 1.2586 | 1.2589 | 1.259 | 1.2591 |
Woodie's | 1.2574 | 1.2577 | 1.2584 | 1.2587 | 1.2594 | 1.2597 | 1.2604 |
DeMark's | - | - | 1.2584 | 1.2587 | 1.2594 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ