ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอย GDP ร่วง BOJ เผชิญข้อสงสัยถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างไม่คาดคิดเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยสูญเสียตำแหน่งประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองให้แก่เยอรมนี ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนถึงจังหวะและเวลาที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) จะออกจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษที่ใช้มาอย่างยาวนานนับทศวรรษ ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนเตือนถึงการหดตัวที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งในไตรมาสปัจจุบัน จากอุปสงค์ที่อ่อนแอในจีน การบริโภคที่ซบเซา และการหยุดการผลิตในโตโยต้า มอเตอร์
ข้อมูลของรัฐบาลเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นลดลง 0.4% ต่อปีในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ตรงกันข้ามกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4% ถือเป็นการหดตัวติดต่อกันสองไตรมาส ซึ่งเป็นไปตามคำจำกัดความทางเทคนิคของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในขณะที่ BOJ กำลังพิจารณาที่จะยุติอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบภายในเดือนเมษายน โดยข้อมูลที่อ่อนตัวลงได้ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการคาดการณ์ถึงค่าแรงที่เพิ่มขึ้นที่จะช่วยสนับสนุนการบริโภคและรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ประมาณกรอบเป้าหมาย 2%
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นตัวเงิน หรือ Nominal GDP ของญี่ปุ่นในปี 2023 อยู่ที่ 4.21 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าของเยอรมนีที่ 4.46 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่งหนึ่ง ลดลง 0.2% และรายจ่ายฝ่ายทุนซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไกการเติบโต ลดลง 0.1% โดยทั้งคู่หดตัวเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าบริษัทใหญ่ๆ จะวางแผนการใช้จ่ายด้านทุนจำนวนมาก แต่ก็คาดว่าจะพบความล่าช้าเกิดขึ้นเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นและการขาดแคลนแรงงาน โดยข้อมูลคำสั่งซื้อเครื่องจักรล่าสุดบ่งชี้ว่ามีการหดตัวในเดือนพฤศจิกายน สร้างความสงสัยต่อความคาดหวังของ BOJ ถึงการลงทุนที่แข็งแกร่งที่จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ BOJ ได้กำลังพิจารณาเผยแพร่ดัชนีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนแรงงานและอัตราเงินเฟ้อในภาคบริการ เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมากขึ้น
ขณะที่ผู้ว่าการคาซูโอะ อูเอดะ ซึ่งเชื่อมั่นเกี่ยวกับค่าจ้างที่สูงขึ้น เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการติดตามภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลการเจรจาค่าจ้างและการจัดการแรงงานประจำปีในช่วงกลางเดือนมีนาคม โดย BOJ ตั้งเป้าที่จะให้ค่าจ้างที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อจริงเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ถึงเงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนคลายอย่างยั่งยืน แม้ว่าจะออกจากนโยบายติดลบแล้วก็ตาม
ทางด้านค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อวันศุกร์ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากราคาผู้ผลิตที่สูงกว่าที่คาดไว้ นำไปสู่ความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงอย่างน้อยกลางปี ขณะที่การสำรวจระบุถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์แบบหนึ่งปีที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานรายงานว่าราคาผู้ผลิตในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 5 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากต้นทุนบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ทำให้เกิดความกังวลในตลาดการเงินว่าอัตราเงินเฟ้ออาจฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่เริ่มเย็นตัวลง และอาจส่งผลต่อการประเมินความคาดหวังนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีกครั้ง
อย่างไรก็ดี แม้ว่าข้อมูลในวันพฤหัสบดีจะบ่งชี้ถึงราคาสินค้านำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นในเดือนมกราคม แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนได้แนะนำไม่ให้สรุปก่อนเวลาอันควรว่าอัตราเงินเฟ้ออาจกำลังเร่งตัวขึ้น โดยชี้ให้เห็นว่าธุรกิจมักปรับขึ้นราคาในช่วงต้นปี และการปรับเพิ่มขึ้นในปีนี้อาจมากขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆ พยายามชดเชยต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นในปีที่แล้ว
ในขณะเดียวกัน โครงการก่อสร้างบ้านเดี่ยวในสหรัฐฯ ลดลงในเดือนมกราคม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่รุนแรง แม้ว่าจะพบใบอนุญาตที่เพิ่มขึ้นสำหรับการก่อสร้างในอนาคตที่บ่งบอกถึงการฟื้นตัวที่อาจเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จึงอาจส่งผลให้ค่าเงินเยนยังคงแนวโน้มทรงตัวในกรอบบน และถูกกดดันได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจปรับตัวขึ้นหรือลงได้มากขึ้น ตามรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญจากทั้งทางสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 150.17, 150.25, 150.38
แนวรับสำคัญ : 149.89, 149.81, 149.68
5H Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 149.69 – 149.89 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 149.89 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.18 และ SL ที่ประมาณ 149.59 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 150.17 – 150.37 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.51 และ SL ที่ประมาณ 149.79 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 150.17 – 150.37 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 150.17 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.82 และ SL ที่ประมาณ 150.47 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 149.69 – 149.89 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.47 และ SL ที่ประมาณ 150.27 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Feb 19, 2024 10:07AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 149.47 | 149.68 | 149.82 | 150.03 | 150.18 | 150.38 | 150.53 |
Fibonacci | 149.68 | 149.81 | 149.89 | 150.03 | 150.17 | 150.25 | 150.38 |
Camarilla | 149.88 | 149.91 | 149.94 | 150.03 | 150.01 | 150.04 | 150.07 |
Woodie's | 149.45 | 149.67 | 149.8 | 150.02 | 150.16 | 150.37 | 150.51 |
DeMark's | - | - | 149.75 | 149.99 | 150.1 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ