อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
เงินเยนของญี่ปุ่นทรงตัวที่ประมาณ 150.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่มีการประกาศอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของโตเกียวที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.5% เนื่องจากมีการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากภาคครัวเรือนโดยดูได้จากยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน แม้ว่าในหลายธุรกิจจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างแต่การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่เงินเยนยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อได้เช่นกัน
ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมกราคม นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง 23 เดือนติดต่อกันของยอดค้าปลีก เนื่องจากการบริโภคยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องหลังจากมีการปิดประเทศในช่วงการเกิดโรคระบาด เมื่อดูยอดค้าปลีกตามอุตสาหกรรมพบว่ากลุ่มยาและเครื่องสำอางมีการเติบโตมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นยังคงทรงตัวอยู่ที่ 2.4% ในเดือนมกราคม นับว่าเป็นอัตราการว่างงานต่ำสุดนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 250,000 คนเป็น 67.14 ล้านคน ในขณะที่ผู้ว่างงานลดลง 10,000 คนเป็น 1.63 ล้านคน ในขณะที่อัตราส่วนงานต่อการสมัครงานอยู่ที่ 1.27 แสดงให้เห็นถึงปริมาณงานที่มีมากพอที่ทำให้เกิดการจ้างงานได้
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในญี่ปุ่นซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าจากข้อมูล การประกาศรับสมัครงานและความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับสูงขึ้นเป็น 110.2 ในเดือนธันวาคม เนื่องจากอัตราการว่างงานที่ลดลงและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการปรับขึ้นค่าจ้างและราคาสินค้าบางประเภทเริ่มมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการเพิ่มขึ้นในรอบ 4 เดือนและตรงกับการคาดการณ์ของตลาด ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลับมาสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% อีกครั้ง ทำให้ ฮาจิเมะ ทาคาตะ สมาชิกคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เรียกร้องให้ธนาคารกลางควรพิจารณาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษนี้ รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อออกจากอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบและยกเลิกการควบคุมอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกดดันเงินเฟ้อที่กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่ายังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่าอัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาการสู้รบในทะเลแดงที่ทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มค่าจ้างอีกด้วย แต่ทาง BoJ คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้ามาสู่เป้าหมายที่ 2% อย่างแน่นอน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 150.6, 150.71, 150.79
แนวรับสำคัญ: 150.41, 150.33, 150.21
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 150.33 - 150.41 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 150.41 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.71 และ SL ที่ประมาณ 150.21 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 150.6 - 150.71 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.79 และ SL ที่ประมาณ 150.33 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 150.6 - 150.71 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 150.6 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.33 และ SL ที่ประมาณ 150.79 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 150.33 - 150.41 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.21 และ SL ที่ประมาณ 150.71 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 5 มีนาคม 2567 17:36 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 150.21 | 150.33 | 150.41 | 150.52 | 150.6 | 150.71 | 150.79 |
Fibonacci | 150.33 | 150.4 | 150.45 | 150.52 | 150.59 | 150.64 | 150.71 |
Camarilla | 150.44 | 150.45 | 150.47 | 150.52 | 150.51 | 150.53 | 150.54 |
Woodie's | 150.19 | 150.32 | 150.39 | 150.51 | 150.58 | 150.7 | 150.77 |
DeMark's | - | - | 150.47 | 150.55 | 150.66 | - | - |