เศรษฐกิจออสเตรเลียเผชิญการเติบโตเล็กน้อยท่ามกลางการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง
ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว เศรษฐกิจของออสเตรเลียพบการเติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ โดยได้แรงหนุนหลักจากการใช้จ่ายของรัฐบาลและธุรกิจ รวมถึงการส่งออกที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยถ่วงดุลการบริโภคที่ลดลง อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับปานกลาง โดย GDP ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 0.2% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.3% เล็กน้อย ขณะที่อัตราการเติบโตต่อปีชะลอตัวลงเหลือ 1.5% ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ 2.1% และถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะถดถอยที่เกิดจากโรคระบาด
ทั้งนี้ สัญญาณที่เด่นชัดของอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอมาจากการขาดปัจจัยจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สี่ โดยการใช้จ่ายสินค้าจำเป็นเพิ่มขึ้น 0.7% ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยลดลง 0.9% ส่งผลให้ไม่มีพบแรงผลักดันทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายในครัวเรือน นอกจากนี้ GDP ต่อหัวยังได้ลดลง 0.3% ในไตรมาสที่สี่ ซึ่งถือเป็นการลดลงรายไตรมาสติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 และถือเป็นการลดลงต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 แม้ว่าอัตราส่วนการออมของครัวเรือนจะดีดตัวขึ้น 3.2% แต่ตัวเลขยังคงค่อนข้างอ่อนแอ
ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นได้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อการเติบโตของ GDP โดยที่ออสเตรเลียได้จัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อสวัสดิการครัวเรือนและเงินเดือนพนักงานของรัฐ ท่ามกลางการใช้จ่ายด้านกลาโหมที่ลดลงในช่วงไตรมาสดังกล่าว ขณะที่การฟื้นตัวด้านการส่งออกได้มีบทบาทสำคัญ โดยพบตัวเลขเกินความคาดหมายในไตรมาสที่สี่ ซึ่งการส่งออกสุทธิได้มีส่วนผลักดันสำคัญกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยได้แรงหนุนอย่างต่อเนื่องจากการส่งออกโลหะไปยังจีน และความต้องการเชื้อเพลิงให้ความร้อนในเอเชียและยุโรปที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว
อย่างไรก็ดี การชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ส่งผลให้ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ในเดือนกุมภาพันธ์หลังจากการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดจะมั่นใจว่าวงจรนโยบายแบบเข้มงวดได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่การกำหนดราคาล่วงหน้าบ่งชี้ว่าการลดอัตราดอกเบี้ยอาจไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงเดือนกันยายน โดย RBA ได้ยอมรับถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะมีแนวโน้มต่ำกว่าในปีต่อๆ ไป และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่หนืด โดยก่อนหน้านี้ธนาคารกลางได้เคยเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการประบขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเมื่อต้นปีนี้
ทางด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน หลังจากข้อมูลเผยให้เห็นการชะลอตัวของการเติบโตของอุตสาหกรรมบริการของสหรัฐฯ และการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญ ๆ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป คำให้การในรัฐสภาของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ และข้อมูลการจ้างงานในสหรัฐฯ
ทั้งนี้ ในสหรัฐอเมริกา การเติบโตของอุตสาหกรรมบริการชะลอตัวในเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมด้วยการจ้างงานที่ลดลง อย่างไรก็ตาม คำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าที่ผลิตในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งในภาคส่วน โดยภาคการผลิตซึ่งคิดเป็น 10.3% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ พบสัญญาณฟื้นตัวหลังจากเผชิญกับความท้าทายจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา โดยแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับแรงหนุนจากภาคบริการเป็นหลัก
ทางด้านคำให้การในรัฐสภาของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ คาดว่าจะเน้นย้ำถึงความจำเป็นของข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์อาจส่งผลกระทบต่อตลาด ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการจ้างงานจะชะลอตัวลง ขณะที่ตลาดคาดการณ์ถึงโอกาส 60% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน สะท้อนถึงความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องในภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก จึงอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังคงแนวโน้มถูกกดดันได้บ้างเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงนี้ เนื่องจากผลตอบแทนของทั้งสองประเทศที่ยังคงต่างกันมาก โดยอาจพบการปรับตัวขึ้นลงในกรอบแคบๆ ตามข้อมูลเศรษฐกิจ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6515, 0.6516, 0.6518
แนวรับสำคัญ : 0.6511, 0.6510, 0.6508
30Min Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6506 - 0.6511 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6511 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6516 และ SL ที่ประมาณ 0.6504 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6515 - 0.6520 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6523 และ SL ที่ประมาณ 0.6509 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6515 - 0.6520 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6515 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6511 และ SL ที่ประมาณ 0.6522 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6506 - 0.6511 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6500 และ SL ที่ประมาณ 0.6517 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Mar 6, 2024 10:22AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6506 | 0.6508 | 0.6511 | 0.6513 | 0.6516 | 0.6518 | 0.6522 |
Fibonacci | 0.6508 | 0.651 | 0.6511 | 0.6513 | 0.6515 | 0.6516 | 0.6518 |
Camarilla | 0.6512 | 0.6513 | 0.6513 | 0.6513 | 0.6515 | 0.6515 | 0.6516 |
Woodie's | 0.6506 | 0.6508 | 0.6511 | 0.6513 | 0.6516 | 0.6518 | 0.6522 |
DeMark's | - | - | 0.6512 | 0.6513 | 0.6517 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ