เศรษฐกิจของแคนาดาเติบโตได้ดีกว่าที่คาด
ดอลลาร์แคนาดากลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับการสนับสนุนจากข้อมูล GDP ที่ขยายตัวมากกว่าที่คาด นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในประเทศจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม อีกทั้งการส่งออกสินค้าด้านพลังงานของแคนาดาที่เพิ่มขึ้นจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากขึ้น
เศรษฐกิจแคนาดาขยายตัวขึ้น 1% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 ฟื้นตัวจากการหดตัว 0.5% เนื่องจากได้แรงหนุนจากการส่งออกที่มากขึ้น โดยการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศเพิ่มขึ้น 1.4% ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการขายน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น 6.2% ในขณะที่การนำเข้าสินค้าและบริการลดลง 0.4% นอกจากนี้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.2% ดูได้จากยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจในครั้งนี้มีอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 เนื่องจากเศรษฐกิจต้องเผชิญกับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง
PMI ภาคการผลิตในแคนาดาเพิ่มขึ้นเป็น 49.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 48.3 ในเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมโรงงานและคำสั่งซื้อใหม่ที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากอุปสงค์ลดลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ผลผลิตที่สามารถทำได้ลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้โรงงานต่างๆ ต้องลดปริมาณสินค้าคงคลังและส่งผลให้การจัดซื้อวัตถุดิบต่างๆ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงกดดันจากราคาวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย
Business Barometer ซึ่งเป็นดัชนีระยะยาวที่สะท้อนถึงการคาดการณ์ล่วงหน้า 12 เดือน สำหรับการดำเนินธุรกิจต่างๆ ในประเทศ เพิ่มขึ้น 6.1 จุดเป็น 54.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 48.8 ในเดือนมกราคม โดยข้อมูลส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าหลายอุตสาหกรรมยังสามารถสร้างกำไรได้ดี อีกทั้งยังมีมุมมองต่อเศรษฐกิจในอนาคตดีขึ้นด้วย ถึงอย่างนั้นอุตสาหกรรมการเงิน, การประกันภัยและอสังหาริมทรัพย์สามารถทำกำไรได้ลดลงจากปัญหาหนี้เสีย, ต้นทุนด้านแรงงานและราคาวัสดุที่เพิ่มขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแคนาดาอายุ 10 ปีอยู่ที่ประมาณ 3.5% เนื่องจากข้อมูล GDP ที่แข็งแกร่งทำให้มีการซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของยอดค้าปลีกและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อที่ลดลงมากกว่าที่คาด ทำให้ธนาคารกลางแคนาดาสามารถประเมินและตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในไตรมาสที่ 2
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.3522, 1.3532, 1.3539
แนวรับสำคัญ: 1.3504, 1.3498, 1.3487
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3498 - 1.3504 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3504 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3532 และ SL ที่ประมาณ 1.3487 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3522 - 1.3532 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3539 และ SL ที่ประมาณ 1.3498 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3522 - 1.3532 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3522 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3498 และ SL ที่ประมาณ 1.3539 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3498 - 1.3504 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3487 และ SL ที่ประมาณ 1.3532 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 7 มีนาคม 2567 13:50 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.3487 | 1.3498 | 1.3504 | 1.3515 | 1.3522 | 1.3532 | 1.3539 |
Fibonacci | 1.3498 | 1.3504 | 1.3508 | 1.3515 | 1.3522 | 1.3526 | 1.3532 |
Camarilla | 1.3506 | 1.3507 | 1.3509 | 1.3515 | 1.3512 | 1.3514 | 1.3515 |
Woodie's | 1.3485 | 1.3497 | 1.3502 | 1.3514 | 1.352 | 1.3531 | 1.3537 |
DeMark's | - | - | 1.3501 | 1.3513 | 1.3518 | - | - |