การจ้างงานของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น จุดสนใจเปลี่ยนไปที่อัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเงินของสหรัฐฯ
ในเดือนกุมภาพันธ์ การจ้างงานของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย ส่งสัญญาณถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ท่ามกลางความกังวลถึงการเย็นตัวในภาคแรงงานก่อนหน้านี้ โดยสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียรายงานว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนที่มากที่สุดในรอบทศวรรษ ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ 3.7% และกลับไปสู่ระดับเมื่อ 6 เดือนก่อนหน้า ลดลงจากจุดสูงสุดล่าสุดที่ 4.1%
ทั้งนี้ ตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ้างงานตามฤดูกาล โดยพบจำนวนแรงงานที่กลับมาทำงานมากกว่าปกติหลังจากช่วงวันหยุดฤดูร้อน ขณะที่การจ้างงานเต็มเวลาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และอัตราการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นเป็น 66.7% รวมถึงจำนวนชั่วโมงทำงานทั้งหมดดีดตัวขึ้น 2.8% หลังจากที่ลดลงในเดือนก่อนหน้า โดยแม้จะมีตัวชี้วัดเชิงบวกเหล่านี้ แต่การคาดการณ์ชี้ให้เห็นว่าตลาดแรงงานอาจค่อยๆ คลายตัวลงในไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยธนาคารกลางออสเตรเลียคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.2% ภายในเดือนมิถุนายน และ 4.3% ภายในสิ้นปี
โดยความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานได้ช่วยสนับสนุนเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 0.5% หลังจากการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงาน ขณะที่ความคาดหวังของตลาดสำหรับการปรับอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางออสเตรเลียได้รับการแก้ไขลดลง โดยคาดว่าอัตราจะผ่อนคลายลงจาก 44 จุดเป็น 37 จุดในปีนี้
ขณะเดียวกัน รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศสนับสนุนการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ เพื่อลดผลกระทบของค่าครองชีพที่สูงขึ้นสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการปรับเปลี่ยนก่อนหน้านี้โดยคณะกรรมาธิการจ้างงานที่เป็นธรรมของออสเตรเลีย (Fair Work Commission) เพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งได้เย็นตัวลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้คำมั่นที่จะออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมในงบประมาณที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้เสียภาษีทั้งหมดตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป
ทางด้านนโยบายการเงิน ธนาคารกลางออสเตรเลียเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ซึ่งส่งสัญญาณความเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถกลับสู่ระดับเป้าหมาย แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง ขณะที่ธนาคารกลางรับทราบถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเส้นทางในการลดอัตราเงินเฟ้อ แต่ก็ไม่ได้ส่งสัญญาณถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอย่างชัดเจน บ่งชี้ถึงจุดยืนที่เป็นกลางเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน
โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางจะติดตามตัวเลขเงินเฟ้อในวันพุธอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลของเดือนกุมภาพันธ์คาดว่าจะสามารถบ่งบอกทิศทางการเปลี่ยนแปลงของราคาในภาคบริการ ซึ่งลดลงในอัตราที่ช้ากว่าเมื่อเทียบกับราคาสินค้า โดยตัวเลขเงินเฟ้อที่ไม่คาดคิดอาจชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดย RBA ได้ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญกับการชะลอตัว ขณะนักวิคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อรายปีจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.5% ในเดือนกุมภาพันธ์จาก 3.4% ในเดือนมกราคม และอาจส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจของ RBA เกี่ยวกับการปรับนโยบายการเงิน
อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างตั้งตารอข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคลหลัก นอกจากนี้ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงยอดขายบ้านใหม่ คำสั่งซื้อสินค้าคงทน ตัวเลข GDP ที่ปรับปรุงใหม่ และการขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ คาดว่าจะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานะของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ รวมถึงประธานเจอโรม พาวเวลล์ มีกำหนดแถลงการณ์เพิ่มเติมในสัปดาห์นี้ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะพบการเปลี่ยนแปลงไปสู่จุดยืนที่เข้มงวดมากขึ้นในอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะยาว ในขณะที่คำกล่าวของพาวเวลล์เมื่อเร็ว ๆ นี้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาด แต่การอัปเดตการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของเฟดยังคงชี้ให้เห็นถึงมุมมองเชิงบวกมากขึ้นในหมู่คณะกรรมการกำหนดนโยบาย ซึ่งชี้ไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของเฟด โดยมุมมองที่แตกต่างนี้อาจส่งผลต่อการรับรู้และความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับการตัดสินใจนโยบายการเงินในอนาคตได้ จึงอาจส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจเผชิญกับความผันผวนได้มากขึ้นในช่วงนี้ โดยอาจพบการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้บ้างในระยะสั้น แต่การแข็งค่าอาจยังคงถูกจำกัดในระยะยาว จากความต่างของผลตอบแทนระหว่างสองประเทศเศรษฐกิจที่ต่างกันมาก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6544, 0.6546, 0.6550
แนวรับสำคัญ : 0.6536, 0.6534, 0.6530
30Min Outlook
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6531 - 0.6536 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6536 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6546 และ SL ที่ประมาณ 0.6529 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6544 - 0.6549 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6556 และ SL ที่ประมาณ 0.6534 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6544 - 0.6549 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6544 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6536 และ SL ที่ประมาณ 0.6551 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6531 - 0.6536 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6526 และ SL ที่ประมาณ 0.6546 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Mar 25, 2024 10:00AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6526 | 0.653 | 0.6536 | 0.654 | 0.6546 | 0.655 | 0.6556 |
Fibonacci | 0.653 | 0.6534 | 0.6536 | 0.654 | 0.6544 | 0.6546 | 0.655 |
Camarilla | 0.6539 | 0.654 | 0.6541 | 0.654 | 0.6542 | 0.6543 | 0.6544 |
Woodie's | 0.6526 | 0.653 | 0.6536 | 0.654 | 0.6546 | 0.655 | 0.6556 |
DeMark's | - | - | 0.6538 | 0.6541 | 0.6547 | - | - |
Sources: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ