การนำเข้าของญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
เงินเยนของญี่ปุ่นทรงตัวที่ประมาณ 151.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ชุนอิจิ ซูซูกิ ยังคงย้ำเตือนเรื่องค่าเงินที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วและได้จับตาดูการเคลื่อนไหวของตลาดอย่างใกล้ชิด โดยให้เหตุผลว่าเงินเยนในตอนนี้ไม่ได้สะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของเงินเยนเกิดจากการคาดการณ์ว่า BOJ จะยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไปอีกสักระยะ แม้ว่าจะมีการยกเลิกอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบแล้วก็ตาม นอกจากนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐได้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากจะมีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐภายในสัปดาห์นี้
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมีนาคม ชะลอตัวลงเล็กน้อยจาก 2.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับว่าเป็นเหตุผลสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบและยกเลิกการควบคุมอัตราผลตอบแทนในการประชุมครั้งล่าสุด
ยอดค้าปลีกในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกุมภาพันธ์ นับว่าเป็นการขยายตัวของยอดค้าปลีก 24 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากการบริโภคของภาคครัวเรือนในญี่ปุ่นยังคงมีแนวโน้มที่ดี เมื่อพิจารณาแยกตามอุตสาหกรรมพบว่ายอดขายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยาและเครื่องสำอางมีการเติบโตมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
การขาดดุลการค้าของญี่ปุ่นลดลงอย่างรวดเร็วเป็น 379,358 พันล้านเยนในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 928,908 พันล้านเยนในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้น 7.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการเติบโต 3 เดือนติดต่อกัน โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 8,249.21 พันล้านเยน ท่ามกลางความต้องการที่แข็งแกร่งจากสหรัฐฯ และจีน ซึ่งยอดส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ รองลงมาคือการส่งออกเครื่องจักรเนื่องจากความต้องการด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน การนำเข้าเพิ่มขึ้นที่ 0.5% ซึ่งเป็นเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 11 เดือนเป็น 8,628.57 พันล้านเยน เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ซึ่งการนำขเาที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนมาจากการนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องประดับ นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติม โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก รองลงมาคือเวียดนามและอินเดีย
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 151.81, 151.93, 152.06
แนวรับสำคัญ: 151.56, 151.43, 151.31
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 151.43 - 151.56 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 151.56 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.93 และ SL ที่ประมาณ 151.31 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 151.81 - 151.93 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 152.06 และ SL ที่ประมาณ 151.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 151.81 - 151.93 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 151.81 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.43 และ SL ที่ประมาณ 152.06 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 151.43 - 151.56 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.31 และ SL ที่ประมาณ 151.93 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 2 เมษายน 2567 19:07 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 151.31 | 151.43 | 151.56 | 151.68 | 151.81 | 151.93 | 152.06 |
Fibonacci | 151.43 | 151.53 | 151.58 | 151.68 | 151.78 | 151.83 | 151.93 |
Camarilla | 151.61 | 151.63 | 151.66 | 151.68 | 151.7 | 151.73 | 151.75 |
Woodie's | 151.31 | 151.43 | 151.56 | 151.68 | 151.81 | 151.93 | 152.06 |
DeMark's | - | - | 151.49 | 151.65 | 151.74 | - | - |