ดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่ง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง
ดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นเหนือ MA 200 ในวันพฤหัสบดี โดยแตะระดับ 0.6568 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่อ่อนค่าลงในช่วงหลัง ท่ามกลางนักลงทุนที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยของออสเตรเลียจะยังคงทรงตัวจนถึงเดือนพฤศจิกายน
ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของออสเตรเลียลดลงในเดือนมีนาคมจากระดับสูงสุดในรอบ 20 เดือนในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสถาบัน Westpac Melbourne ลดลง 1.8% โดยมีสาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินภาคครัวเรือน แม้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะมีท่าทีผ่อนคลายต่ออัตราดอกเบี้ย แต่ผู้บริโภคก็ยังคงวิตก โดยหวังว่าจะได้รับข้อความเชิงบวกมากขึ้น
ในภาคการค้าปลีก ยอดขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมยอดนิยม อย่างคอนเสิร์ตของ เทย์เลอร์ สวิฟต์ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของยอดขายต่อปียังคงไม่มากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงซึ่งจำกัดรายได้สุทธิส่วนบุคคล ขณะที่การขายปลีกอาหารและของใช้ในครัวเรือนมีการลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนนี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ อัตราเงินเฟ้อของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของออสเตรเลียทรงตัว ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์เล็กน้อย ส่งผลให้ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีท่าทีเข้มงวดน้อยลง ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียระบุว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI เพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5% และยังคงรักษาเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อยู่ที่ราคาที่อยู่อาศัย อาหาร และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากไม่รวมสินค้าที่มีความผันผวน เช่น อาหารสด และเชื้อเพลิงรถยนต์ อัตราเงินเฟ้อ CPI พื้นฐานลดลงเหลือ 3.9% ในเดือนกุมภาพันธ์จาก 4.1% ในเดือนมกราคม ขณะที่ในซิดนีย์และเมลเบิร์น อัตราเงินเฟ้อได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากงานคอนเสิร์ตของนักร้องชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ ส่งผลให้ราคาโรงแรมในเมืองเหล่านี้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาที่พักและราคาตั๋วเครื่องบินในเมืองส่วนอื่นๆ ของออสเตรเลียลดลงเนื่องจากความต้องการเดินทางที่ลดลง
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดหลังจากที่ RBA เพิ่งลดท่าทีที่เข้มงวดลง โดยไม่ได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อ CPI ของออสเตรเลียจะลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุดในรอบ 30 ปีในช่วงต้นปี 2023 แต่ยังคงสูงกว่าช่วงเป้าหมายของ RBA ที่ 2% ถึง 3% ต่อปีอย่างมาก ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้คาดว่าจะส่งผลให้ธนาคารกลางยังไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้น
ทางด้านการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในออสเตรเลียได้รับความสนใจจากซีอีโอของธนาคารรายใหญ่ ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลท้องถิ่นเร่งรัดการอนุมัติการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยการขาดแคลนที่อยู่อาศัยจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำหลายปี กำลังเป็นอุปสรรคต่อการครอบครองบ้านหลังแรก และทำให้การขาดแคลนทักษะรุนแรงขึ้นทั่วประเทศ
ในการค้าระหว่างประเทศ จีนได้ประกาศยกเลิกภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดและต่อต้านการอุดหนุนสำหรับไวน์ออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดมาตรการระยะเวลา 3 ปี โดยการตัดสินใจครั้งนี้เป็นไปตามการปรับปรุงความสัมพันธ์ทวิภาคี ซึ่งจีนค่อยๆ ขจัดอุปสรรคทางการค้าในการส่งออกต่างๆ ของออสเตรเลีย
ท่ามกลางการพัฒนาเหล่านี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา หลังความเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ บ่งชี้ถึงการลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น ท่ามกลางการชะลอตัวของการเติบโตของภาคบริการของสหรัฐฯ อย่างไม่คาดคิด ที่ได้ส่งผลต่อการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ยังคงเป็นสกุลเงินในกลุ่ม G10 ที่มีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุดในปีนี้
ทั้งนี้ เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นประมาณ 3.3% ในปีนี้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ท่ามกลางการวางสถานะซื้อดอลลาร์สุทธิแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2022 โดยเดือนมีนาคมพบการเติบโตของอุตสาหกรรมบริการของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง ควบคู่ไปกับราคาปัจจัยการผลิตทางธุรกิจที่ลดลง บ่งบอกถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะค่อยๆ ลดลง โดยบางอุตสาหกรรมยังคงประสบปัญหาแรงกดดันต่อราคาวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าสภาวะตลาดแรงงานจะเริ่มผ่อนคลายลง แต่แรงงานที่มีทักษะยังคงขาดแคลน โดยเฉพาะในภาคส่วนต่างๆ เช่น การก่อสร้าง
อย่างไรก็ดี ตลาดการเงินได้ปรับการคาดการณ์เกี่ยวกับช่วงเวลาและขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมประมาณ 75 จุดในปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของเฟด และสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่กำลังดำเนินอยู่ในภาวะปัจจุบัน จึงอาจพบการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ออสเตรเลียได้บ้างในระยะสั้น แต่การแข็งค่าอาจยังคงถูกจำกัดในระยะยาว จากความต่างของผลตอบแทนระหว่างสองประเทศเศรษฐกิจที่ต่างกันมาก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6580, 0.6581, 0.6584
แนวรับสำคัญ : 0.6574, 0.6573, 0.6570
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6569 - 0.6574 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6574 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6581 และ SL ที่ประมาณ 0.6567 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6580 - 0.6585 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6589 และ SL ที่ประมาณ 0.6572 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6580 - 0.6585 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6580 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6574 และ SL ที่ประมาณ 0.6587 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6569 - 0.6574 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6565และ SL ที่ประมาณ 0.6582 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Apr 4, 2024 09:38AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6567 | 0.657 | 0.6574 | 0.6577 | 0.6581 | 0.6584 | 0.6588 |
Fibonacci | 0.657 | 0.6573 | 0.6574 | 0.6577 | 0.658 | 0.6581 | 0.6584 |
Camarilla | 0.6575 | 0.6576 | 0.6576 | 0.6577 | 0.6578 | 0.6578 | 0.6579 |
Woodie's | 0.6567 | 0.657 | 0.6574 | 0.6577 | 0.6581 | 0.6584 | 0.6588 |
DeMark's | - | - | 0.6572 | 0.6576 | 0.6579 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ