ดุลการค้าของออสเตรเลียลดลงมากที่สุดในรอบ 4 เดือน
เงินดอลลาร์ออสเตรเลียกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง หลังจากที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มตั้งประเด็นการพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ราคาทองแดงและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นรวมไปถึงเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่อ่อนค่าลง ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าออสเตรเลียอาจจะเกินดุลการค้าน้อยที่สุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากการนำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นน้ำมันดิบและแร่โลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรม
การประกาศรับสมัครงานในออสเตรเลียลดลง 1.0% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนมีนาคม หลังจากที่ลดลง 2.1% ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงของการปรพกาศรับสมัครงานเดือนที่ 2 ติดต่อกัน การรับสมัครงานที่ลดลงยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการว่างงานที่อาจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตโดยเฉพาะการจ้างงานด้านเทคโนโลยีที่ยังคงซบเซา Madeline Dunk นักเศรษฐศาสตร์จาก ANZ ให้ความคิดเห็นว่า อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเพราะจำนวนการประกาศรับสมัครงานเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2023
ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ในระหว่างการประชุมเดือนมีนาคม นอกจากนี้ ยังเริ่มมีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียเริ่มชะลอตัวลงเนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังคงผ่อนคลายลงท่ามกลางราคาสินค้าที่ชะลอลง ผู้กำหนดนโยบายของ RBA ยังคงให้ความสำคัญกับการลดลงของอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก โดยมีกรอบเป้าหมายอยู่ที่ 2-3% ภายในปี 2025 และได้เน้นย้ำว่าทางคณะกรรมการยังคงจับตาดูแนวโน้มอุปสงค์ภายในประเทศและแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อและตลาดแรงงานอย่างใกล้ชิด
การเกินดุลการค้าของออสเตรเลียลดลงเหลือ 7.28 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 10.4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เนื่องจากการส่งออกลดลงในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การนำเข้าเพิ่มขึ้น 4.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็น 38.24 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ ด้านการส่งออกลดลง 2.2% ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 45.52 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยสาเหตุมาจากการส่งออกแร่โลหะและแร่ธาตุที่ลดลง นอกจากนี้ การส่งออกเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปรุงสำเร็จรวมไปถึงธัญพืชยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ยังคงอ่อนแออยู่
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5246, 1.53, 1.5331
แนวรับสำคัญ: 1.5162, 1.513, 1.5077
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.513 - 1.5162 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.5162 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.53 และ SL ที่ประมาณ 1.5077 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5246 - 1.53 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5331 และ SL ที่ประมาณ 1.513 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5246 - 1.53 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5246 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.513 และ SL ที่ประมาณ 1.5331 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.513 - 1.5162 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5077 และ SL ที่ประมาณ 1.53 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 6 เมษายน 2567 01:30 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.5077 | 1.513 | 1.5162 | 1.5215 | 1.5246 | 1.53 | 1.5331 |
Fibonacci | 1.513 | 1.5163 | 1.5183 | 1.5215 | 1.5247 | 1.5267 | 1.53 |
Camarilla | 1.5171 | 1.5179 | 1.5187 | 1.5215 | 1.5202 | 1.521 | 1.5218 |
Woodie's | 1.5067 | 1.5125 | 1.5152 | 1.521 | 1.5236 | 1.5295 | 1.5321 |
DeMark's | - | - | 1.5147 | 1.5208 | 1.5231 | - | - |