เยนอ่อนตัวท่ามกลางค่าจ้างที่แท้จริงที่ลดลง
เงินเยนอ่อนค่า หลังจากแรงงานญี่ปุ่นประสบกับอัตราค่าจ้างที่แท้จริงที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 23 ติดต่อกัน บ่งชี้ถึงแรงกดดันจากราคาที่สูงขึ้นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ชุนอิจิ ซูซูกิ เตือนว่าญี่ปุ่นได้เตรียมที่จะดำเนินการลดแรงกดดันที่ส่งผลต่อการอ่อนค่าของเงินเยน และทำให้เงินดอลลาร์ไม่สามารถทะลุระดับแนวต้านที่ 152 เยนได้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินเยนผ่านการแทรกแซงตลาด
ในเดือนกุมภาพันธ์ การใช้จ่ายในครัวเรือนของญี่ปุ่นลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นับเป็นเดือนที่ 12 ที่ลดลงติดต่อกัน ในทางกลับกัน ภาคบริการในญี่ปุ่นมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคม โดยเพิ่มขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบเจ็ดเดือน ซึ่งได้รับแรงหนุนหลักจากความต้องการที่แข็งแกร่งจากการท่องเที่ยวขาเข้า ซึ่งเพิ่มความมั่นใจในการร่วมลงทุนธุรกิจใหม่
อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม ความเชื่อมั่นในภาคบริการของญี่ปุ่นลดลง เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยอ้างถึงความคาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น ซึ่งได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งถึงแม้จะมีความท้าทายต่างๆ เกิดขึ้นอย่าง ค่าจ้างที่แท้จริงที่ลดลง แต่บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งก็ได้ตกลงที่จะขึ้นค่าจ้างในปีนี้ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบสามทศวรรษ
ขณะเดียวกัน การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นขยายเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกันในเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้แรงหนุนจากการขาดดุลการค้าที่ลดลงและความต้องการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น รถยนต์และพลาสติก ขณะที่รายได้หลักที่ได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศก็ได้มีส่วนทำให้ญี่ปุ่นเกินดุล
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นปรับลดการประเมินทางเศรษฐกิจสำหรับภูมิภาคส่วนใหญ่ แต่ยังแสดงความมั่นใจในการปรับขึ้นค่าจ้างในวงกว้าง ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยของประเทศที่ต่ำอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รายงานรายไตรมาสของธนาคารกลางเน้นย้ำถึงความคาดหวังที่บริษัทขนาดเล็กจะปรับเพิ่มขึ้นค่าจ้างที่เท่ากันกับหรือแซงหน้าการปรับขึ้นค่าจ้างของปีที่แล้ว ภายหลังการปรับขึ้นค่าแรงของบริษัทขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นทิศทางที่หลากหลาย โดยดัชนีสุขภาพเศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่นลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในเดือนกุมภาพันธ์ บ่งชี้ถึงโมเมนตัมที่อ่อนตัวลงหลังจากหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาได้อย่างหวุดหวิดในไตรมาสก่อนหน้า
เมื่อมองไปข้างหน้า ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นวางแผนที่จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของนโยบายการเงินแบบใหม่ในระหว่างการต่อสู้กับภาวะเงินฝืดที่ยืดเยื้อ ในขณะเดียวกัน คณะทำงานของรัฐบาลเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงในการมุ่งเน้นนโยบายไปสู่การเติบโตที่ขับเคลื่อนโดยภาคเอกชน และจัดการกับความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ที่เกิดจากประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ชี้ให้เห็นว่าการเติบโตของ GDP ต่อหัวของญี่ปุ่นจะยังคงอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมเพื่อรักษาการเติบโตในระยะยาว
ทางด้านเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในวันจันทร์ โดยนักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่ข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นปานกลางเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ ท่ามกลางเงินเยนเข้าใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปี
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ค่าเงินดอลลาร์มีความผันผวนเนื่องจากนักลงทุนประเมินข้อมูลทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการชะลอตัวของการเติบโตในภาคบริการ ตามมาด้วยจำนวนการจ้างงานที่แข็งแกร่งอย่างไม่คาดคิด กระตุ้นให้เกิดการปรับลดความคาดหวังสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปีนี้ โดยคาดว่าโอกาสที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนจะลดลง
ทั้งนี้ ในวันอังคาร ค่าเงินดอลลาร์ยังคงขาดทิศทางที่แน่ชัดแม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น และกดดันค่าเงินเยน โดยนักวิเคราะห์คาดว่าค่าเงินดอลลาร์จะยังคงความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ โดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงตอกย้ำถึงการใช้ความระมัดระวังในการลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควร ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าได้มากขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 151.92, 151.93, 151.96
แนวรับสำคัญ : 151.88, 151.87, 151.84
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 151.83 – 151.88 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 151.88 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.93 และ SL ที่ประมาณ 151.81 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 151.92 – 151.97 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 152.00 และ SL ที่ประมาณ 151.86 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 151.92 – 151.97 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 151.92 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.87 และ SL ที่ประมาณ 151.99 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 151.83 – 151.88 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.77 และ SL ที่ประมาณ 151.94 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Apr 9, 2024 01:39PM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 151.82 | 151.84 | 151.87 | 151.9 | 151.93 | 151.96 | 151.99 |
Fibonacci | 151.84 | 151.87 | 151.88 | 151.9 | 151.92 | 151.93 | 151.96 |
Camarilla | 151.9 | 151.9 | 151.91 | 151.9 | 151.92 | 151.93 | 151.93 |
Woodie's | 151.84 | 151.85 | 151.89 | 151.91 | 151.95 | 151.97 | 152.01 |
DeMark's | - | - | 151.89 | 151.91 | 151.95 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ