เศรษฐกิจของอินเดียยังเติบโตได้ดี
เงินรูปีของอินเดียแข็งค่าขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อย ในขณะที่นักลงทุนและนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีการแทรกแซงค่าเงินอย่างแน่นอน หลังจากที่ค่ารูปีอ่อนค่ามากที่สุดในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากราคาอาหารยังคงเป็นปัจจัยหลักที่หนุนอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น
ธนาคารกลางอินเดียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 6.5% ในการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งตรงตามที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ที่ 5.09% แต่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายของ RBI ที่ 2-6% นอกจากนี้ Shaktikanta Das ผู้ว่าการ RBI ได้แสดงความมุ่งมั่นว่าจะกดดันเงินเฟ้อให้ลดลงเหลือ 4% อย่างแน่นอน ถึงอย่างนั้นความแปรปรวนของสภาพอากาศและเศรษฐกิจโลกจะยังคงส่งผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อต่อไป
RBI คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2025 ไว้ที่ 7% โดยคาดการณ์ไว้ที่ 7.1% สำหรับไตรมาสที่ 1 6.9% สำหรับไตรมาส 2 ส่วนไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ 7% ในขณะที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4.9% สำหรับไตรมาสที่ 1 3.8% สำหรับไตรมาส 2 4.6% สำหรับไตรมาสที่ 3 และ 4.5% สำหรับไตรมาสที่ 4 นอกจากนี้ RBI ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำไว้ที่ 6.75%
Services PMI เพิ่มขึ้นเป็น 61.2 ในเดือนมีนาคม นับเป็นการเติบโตเดือนที่ 32 ติดต่อกันของภาคบริการ ทั้งนี้ กิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับเป็นอัตราเร่งที่เร็วสุดนับตั้งแต่ปี 2010 นอกจากนี้ คำสั่งซื้อสำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของวัตถุดิบเร่งตัวขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาวเนื่องจากต้นทุนแรงงานและราคาวัตถุดิบ
Manufacturing PMI ลดลงเหลือ 59.1 ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตามกิจกรรมภาคการผลิตยังแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวที่ดี เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิตที่สามารถทำได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราเงินเฟ้อของราคาวัตถุดิบยังคงเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น นอกจากนี้ อุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นยังช่วยผลักดันการจ้างงานให้เพิ่มสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นทางธุรกิจก็ลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงอยู่แม้ว่าจะอยู่ในกรอบเป้าหมายของ RBI ก็ตาม
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของอินเดียเพิ่มขึ้นเกิน 7.15% โดยได้รับแรงกดดันจากกระทรวงการคลังสหรัฐ ท่ามกลางความคาดหวังว่า Fed จะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดนี้ต่อไปอีกสักระยะ ด้าน RBI ได้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและปริมาณลดลงและอาจเกิดทำให้ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานได้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 83.242, 83.268, 83.29
แนวรับสำคัญ: 83.193, 83.17, 83.145
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 83.17 - 83.193 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 83.193 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.268 และ SL ที่ประมาณ 83.145 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 83.242 - 83.268 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.29 และ SL ที่ประมาณ 83.17 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 83.242 - 83.268 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 83.242 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.17 และ SL ที่ประมาณ 83.29 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 83.17 - 83.193 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.145 และ SL ที่ประมาณ 83.268 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 9 เมษายน 2567 19:47 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 83.145 | 83.17 | 83.193 | 83.219 | 83.242 | 83.268 | 83.29 |
Fibonacci | 83.17 | 83.189 | 83.2 | 83.219 | 83.238 | 83.249 | 83.268 |
Camarilla | 83.204 | 83.208 | 83.213 | 83.219 | 83.222 | 83.226 | 83.231 |
Woodie's | 83.145 | 83.17 | 83.193 | 83.219 | 83.242 | 83.268 | 83.29 |
DeMark's | - | - | 83.207 | 83.226 | 83.255 | - | - |