เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐกดดันสกุลเงินอื่นๆ
เงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าลงเกิน 152.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หลังมีการประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด ทำให้นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะต้องคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อกดดันเงินเฟ้อให้นานขึ้น ด้านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอยู่ที่ประมาณ 0% ถึง 0.1% ซึ่งการอ่อนค่าของเงินเยนอาจทำให้เกิดการกระตุ้นให้ญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงตลาดสกุลเงินมากขึ้น
การว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ที่ 2.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 120,000 คนเป็น 1.82 ล้านคน และการจ้างงานเพิ่มขึ้น 220,000 คนเป็น 67.83 ล้านคน ในขณะที่ อัตราการจ้างงานต่อการสมัครงานลดลงเหลือ 1.26 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงแรงกดดันของสภาพเศรษฐกิจโดยรวมและแนวโน้มในอนาคตจากการปรับขึ้นเงินเดือนและยกเลิกนโยบายการเงินที่ติดลบ
ดัชนีความเชื่อมั่นในหมู่ผู้ผลิตรายใหญ่ลดลงเหลือ 11 ในไตรมาสแรกของปี 2024 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปีเนื่องจากการปิดโรงงานรถยนต์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาส่งผลกระทบอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม มุมมองของบริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่ยังคงมองว่าสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจชะลอตัวลงได้อีกจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นอยู่ที่ 48.2 ในเดือนมีนาคม นับเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันที่กิจกรรมโรงงานชะลอตัวลง แต่ลดลงน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ยังคงลดลงแม้ว่าจะลดลงน้อยที่สุดในรอบ 5 เดือนก็ตาม ในขณะเดียวกัน การจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน แสดงให้เห็นว่าความต้องการแรงงานกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ ปัญหาด้านการขนส่งยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากการหยุดชะงักในทะเลแดงและคลองปานามา
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในญี่ปุ่น ซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าโดยอิงจากข้อมูลการประกาศรับสมัครงานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นเป็น 111.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 109.5 ในเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่กิจกรรมของโรงงานชะลอตัวลงน้แยที่สุดในรอบ 4 เดือน
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่องที่ 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนกุมภาพันธ์ ถือเป็นการอ่อนตัวลงมากจากการลดลง 6.3% ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี โดยการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนลดลงในหมวดการขนส่งและเฟอร์นิเจอร์ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับอาหาร, ที่อยู่อาศัยและเสื้อผ้ากลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แสดงให้เห็นถึงความต้องการด้านปัจจัย 4 ที่เพิ่มมากขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 152.66, 152.95, 153.39
แนวรับสำคัญ: 151.93, 151.49, 151.2
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 151.49 - 151.93 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 151.93 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 152.95 และ SL ที่ประมาณ 151.2 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 152.66 - 152.95 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 153.39 และ SL ที่ประมาณ 151.49 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 152.66 - 152.95 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 152.66 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.49 และ SL ที่ประมาณ 153.39 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 151.49 - 151.93 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.2 และ SL ที่ประมาณ 152.95 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 10 เมษายน 2567 20:18 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 151.2 | 151.49 | 151.93 | 152.22 | 152.66 | 152.95 | 153.39 |
Fibonacci | 151.49 | 151.77 | 151.94 | 152.22 | 152.5 | 152.67 | 152.95 |
Camarilla | 152.18 | 152.25 | 152.31 | 152.22 | 152.45 | 152.51 | 152.58 |
Woodie's | 151.28 | 151.53 | 152.01 | 152.26 | 152.74 | 152.99 | 153.47 |
DeMark's | - | - | 152.08 | 152.29 | 152.81 | - | - |