บทวิเคราะห์ USD/EUR 17 เมษายน 2567

Create at 7 months ago (Apr 17, 2024 12:06)

ดุลการค้าของยูโรโซนเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว

เงินยูโรอ่อนค่าลงเกิน 0.94 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนเมษายน โดยได้รับแรงกดดันจากหลายสถานการณ์ได้แก่ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความรุนแรงมากขึ้น, เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐและเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องของยูโรโซน ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า ECB อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ด้านสหรัฐ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางทำให้ Fed อาจคงอัตราดอกเบี้ยให้นานขึ้น


ธนาคารกลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันในระหว่างการประชุมครั้งล่าสุดที่ 4.5% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ที่ 4% โดยทางธนาคารกลางยังกล่าวเพิ่มเติมว่าอาจเริ่มมีการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ หากมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงไปสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารกลางที่ 2% ในขณะเดียวกัน ECB จำเป็นต้องจับตาดูอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและการเติบโตของค่าจ้างอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นปัจจัยสำคัญของการกำหนดนโยบายทางการเงินในอนาคต


ยูโรโซนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็น 23.6 พันล้านยูโรในเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 3.6 พันล้านยูโรในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการนำเข้าลดลง 8.4% เหลือ 211.4 พันล้านยูโร สะท้อนถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่ลดลง โดยการนำเข้าลดลงอย่างมากโดยเฉพาะ น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น รองลงมาคือเครื่องจักรและสินค้าอุตสาหกรรม การนำเข้าลดลงจากจีน, สหราชอาณาจักร, รัสเซียและนอร์เวย์เป็นหลัก ด้านการส่งออกเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีเป็น 235 พันล้านยูโร โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มรวมไปถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตต่างๆ


ยอดค้าปลีกในเขตยูโรลดลง 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่ายอดขายอาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในขณะที่ยอดขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารลดลง 0.2% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% นอกจากนี้ยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ลดลงอย่างรวดเร็วที่ 1.4% แสดงให้เห็นถึงการเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้าสำหรับเอกชนเริ่มชะลอตัวลง


ราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมในเขตยูโรลดลง 1.0% จากเดือนก่อนหน้าในเดือนกุมภาพันธ์ สามารถบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในอนาคตอาจชะลอตัวลงได้อีก นอกจากนี้ ต้นทุนทางด้านพลังงานที่ลดลงต่อเนื่องช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีขึ้นและจะส่งผลดีต่อภาคครัวเรือนเนื่องจากราคาสินค้าที่ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9424, 0.9431, 0.9439

แนวรับสำคัญ: 0.9408, 0.9399, 0.9392

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9399 - 0.9408 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9408 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9431 และ SL ที่ประมาณ 0.9392 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9424 - 0.9431 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9439 และ SL ที่ประมาณ 0.9399 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9424 - 0.9431 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9424 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9399 และ SL ที่ประมาณ 0.9439 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9399 - 0.9408 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9392 และ SL ที่ประมาณ 0.9431 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 17 เมษายน 2567 12:02 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9392 0.9399 0.9408 0.9415 0.9424 0.9431 0.9439
Fibonacci 0.9399 0.9405 0.9409 0.9415 0.9421 0.9425 0.9431
Camarilla 0.9412 0.9413 0.9414 0.9415 0.9417 0.9419 0.942
Woodie's 0.9392 0.9399 0.9408 0.9415 0.9424 0.9431 0.9439
DeMark's - - 0.9411 0.9417 0.9427 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES