เศรษฐกิจของออสเตรเลียอาจชะลอตัวในปลายปีนี้
ดอลลาร์ออสเตรเลียยังคงอ่อนค่าลง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังเจอกับปัญหาด้านความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลาง ยิ่งเป็นตัวผลักดันให้นักลงทุนเริ่มสนใจดอลลาร์สหรัฐฯ มากขึ้น นอกจากนี้ ความกังวลด้านเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การคาดการณ์เงินเฟ้อในเดือนหน้าปรับเพิ่มขึ้นด้วย
ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาดช่วยลดความคาดหวังว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังได้จับตามองการออกคำแถลงการของ Jerome Powell ในสัปดาห์นี้ ที่อาจช่วยให้เห็นถึงมุมมองทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมและคาดการณ์ทิศทางของ Fed ต่อจากนี้ รวมไปถึงจะมีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์หน้า คือ Core PCE Price Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและเป็นดัชนีสำคัญต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินในอนาคต
ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับแนวโน้มในช่วง 3-9 เดือนข้างหน้า ลดลง 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนมีนาคม โดยที่ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Westpac ยังคงให้ความคิดเห็นว่า GDP ของออสเตรเลียจะยังคงทรงตัวอยู่ที่ 1.6% ในปี 2024 จาก เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5% ในปี 2023 ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าแนวโน้มของออสเตรเลียที่ประมาณ 2.5% ทั้งนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศรวมถึงยังชะลอการเติบโตของอุปสงค์และอุปทานซึ่งจะช่วยกดดันอัตราเงินเฟ้อให้กลับมาสู่กรอบเฟ้าหมายของธนาคารกลางได้
ทั้งนี้ ปัญหาด้านต้นทุนที่สูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากราคาการบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่ไม่แน่นอน จะส่งผลให้เกิดแรงผลักดันที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ ปัญหาด้านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการนำเข้าสินค้าในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียกำลังอ่อนค่าลง ยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้นด้วย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในออสเตรเลียลดลง 2.4% สู่ 82.4 จุดในเดือนเมษายน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่และอัตราดอกเบี้ยที่สูงยังคงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนโดยตรง แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในปลายปีนี้ แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตประจำวันอาจไม่ลดลงมากนัก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.5606, 1.5647, 1.5676
แนวรับสำคัญ: 1.5536, 1.5507, 1.5466
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.5507 - 1.5536 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.5536 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5647 และ SL ที่ประมาณ 1.5466 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5606 - 1.5647 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5676 และ SL ที่ประมาณ 1.5507 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.5606 - 1.5647 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.5606 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5507 และ SL ที่ประมาณ 1.5676 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.5507 - 1.5536 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.5466 และ SL ที่ประมาณ 1.5647 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 17 เมษายน 2567 21:25 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.5466 | 1.5507 | 1.5536 | 1.5577 | 1.5606 | 1.5647 | 1.5676 |
Fibonacci | 1.5507 | 1.5534 | 1.555 | 1.5577 | 1.5604 | 1.562 | 1.5647 |
Camarilla | 1.5545 | 1.5551 | 1.5558 | 1.5577 | 1.557 | 1.5577 | 1.5583 |
Woodie's | 1.5458 | 1.5503 | 1.5528 | 1.5573 | 1.5598 | 1.5643 | 1.5668 |
DeMark's | - | - | 1.5521 | 1.5569 | 1.5591 | - | - |