บทวิเคราะห์ USD/JPY 23 เมษายน 2567

Create at 6 months ago (Apr 23, 2024 19:56)

ธนาคารกลางญี่ปุ่นคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะถึงนี้

เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงต่อเนื่อง แตะระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปี ทำให้ ชุนนิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นแสดงให้เห็นถึงความกังวลถึงเงินเยนที่อ่อนค่าอย่างรวดเร็วและให้ความคิดเห็นว่าอาจมีการกลับมาแทรกแซงค่าเงินเยนอีกครั้ง ขณะนี้นักลงทุนกำลังจับตามองการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นในสัปดาห์นี้ ซึ่งคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป

 

ในขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ BoJ คาซูโอะ อูเอดะ กล่าวในการประชุม G20 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าธนาคารกลางอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง หากการอ่อนค่าของเงินเยนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอการประกาศ GDP เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจากการประชุมนโยบายที่กำลังจะมีขึ้น


อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นลดลงเหลือ 2.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ของตลาด โดยได้รับผลมาจากการชะลอตัวของราคาขนส่งและเครื่องใช้ในครัวเรือน ด้านราคาเชื้อเพลิงและค่าไฟยังคงลดลง เนื่องจากการอุดหนุนด้านราคาพลังงานจากรัฐบาล ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในอาหาร แต่สำหรับราคาสินค้าที่มีผลิตภัณฑ์นมและไข่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย


มูลค่าสินเชื่อในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมีนาคม เป็สนการเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เพิ่มขึ้น 3% ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยยอดคงค้างสินเชื่อของธนาคารรายใหญ่ยังคงอยู่ที่ 619.6 ล้านล้านเยน ซึ่งถือว่าธนาคารรายใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้มูลค่าสินเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดุลการค้าของญี่ปุ่นเกินดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 366.47 ล้านล้านเยนในเดือนมีนาคม หลังจากขาดดุล 750.85 ล้านล้านเยนในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกขยายตัว ในขณะที่การนำเข้าลดลง ท่ามกลางความต้องการสินค้าจากสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้น


การนำเข้าไปญี่ปุ่นหดตัวอย่างรวดเร็วที่ 4.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี เหลือ 9.1 ล้านล้านเยนในเดือนมีนาคม โดยกลับมาลดลงหลังจากเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยการซื้อเชื้อเพลิงลดลงถึง 11.5% ซึ่งลดการนำเข้า LNG และถ่านหินมากกว่า 20% นอกจากนี้การนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมลดลง 14.3% โดยเฉพาะกลุ่มแร่โลหะ อีกด้านนึง การนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 3.2% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าคอมพิวเตอร์ การนำเข้าลดลงจากประเทศจีนมากที่สุด รองลงมาคือสิงคโปร์


การส่งออกเพิ่มขึ้น 7.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 9.47 ล้านล้านเยนในเดือนมีนาคม นับเป็นเดือนที่4 ติดต่อกันของการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยยอดขายอุปกรณ์ยานยนต์และรถยนต์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้การส่งออกเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 3.9% โดยได้รับแรงหนุนจากส่งออกเครื่องจักรสำหรับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นพบว่าเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาและจีน

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 154.87, 154.94, 155.02

แนวรับสำคัญ: 154.71, 154.64, 154.56

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 154.64 - 154.71 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 154.71 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.94 และ SL ที่ประมาณ 154.56 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 154.87 - 154.94 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.02 และ SL ที่ประมาณ 154.64 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 154.87 - 154.94 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 154.87 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.64 และ SL ที่ประมาณ 155.02 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 154.64 - 154.71 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.56 และ SL ที่ประมาณ 154.94 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 23 เมษายน 2567 19:53 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 154.56 154.64 154.71 154.79 154.87 154.94 155.02
Fibonacci 154.64 154.69 154.73 154.79 154.85 154.89 154.94
Camarilla 154.75 154.77 154.78 154.79 154.81 154.82 154.84
Woodie's 154.56 154.64 154.71 154.79 154.87 154.94 155.02
DeMark's - - 154.76 154.81 154.91 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES