แคนาดาเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ วิกฤตที่อยู่อาศัย และความตึงเครียดทางการเมือง
ในเดือนมีนาคม อัตราเงินเฟ้อของแคนาดาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.9% ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเนื่องจากความกังวลด้านอุปทานและการลดกำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดแรงกดดันด้านราคาพื้นฐานลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน ซึ่งส่งสัญญาณถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังคงอยู่ในระดับเดียวกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาพลังงานชะลอตัวลงเหลือ 2.8% จากเดือนก่อน
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างมากที่ 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023 แม้ว่าจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่ 0.7% โดยตั้งแต่เดือนมกราคม อัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำกว่า 3% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธนาคารแห่งแคนาดาในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา ทิฟ แม็กเล็มตั้งข้อสังเกตว่าในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงแตะระดับเกือบ 3% แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง
โดยหลังจากการเปิดเผยข้อมูล พบความน่าจะเป็นเพิ่มขึ้นจาก 44% เป็นประมาณ 55% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ส่งผลให้เงินดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน
อีกด้าน รัฐบาลแคนาดาเผชิญกับความท้าทายในการจัดการการเงินท่ามกลางแผนการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง คริสเทีย ฟรีแลนด์ จำต้องเลือกระหว่างการลดค่าใช้จ่ายหรือการเพิ่มภาษี เพื่อลดความเสี่ยงที่การเงินภาครัฐจะตึงเครียดมากขึ้น ขณะที่การขาดดุลของรัฐบาลในปีงบประมาณสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม คาดว่าจะเกินระดับที่คาดการณ์เบื้องต้น โดยมีสาเหตุหลักจากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ วิกฤตที่อยู่อาศัยในแคนาดาซึ่งรุนแรงขึ้นจากการขาดแคลนอุปทาน ได้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิดเห็นของประชาชนก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไปในเดือนกันยายน 2025 ขณะที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด ได้เปิดเผยแผนการจัดการปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยด้วยการเช่าที่ดินสาธารณะ เพื่อก่อสร้างบ้านเรือนในราคาที่เข้าถึงได้ อย่างไรก็ตาม โครงการริเริ่มเหล่านี้ยังคงไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยที่คาดการณ์ไว้ในช่วงปี 2023 ถึง 2030 ได้
โดยเพื่อจัดหาทุนให้กับโครงการที่อยู่อาศัย รัฐบาลแคนาดาได้พยายามออกโนยบายใหม่ในการเรียกเก็บภาษีผู้มั่งคั่ง โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างรายได้เพิ่มในอีกห้าปีข้างหน้า แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการลงทุน แต่รัฐบาลยังคงปกป้องมาตรการภาษีดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มความเป็นธรรมในระบบภาษี อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่านโยบายภาษีนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน และส่งผลให้เกิดความท้าทายด้านการผลิตอย่างต่อเนื่องของแคนาดา
อย่างไรก็ดี เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เผชิญกับการอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการชะลอตัวของการเติบโตของธุรกิจในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม Bank of America สังเกตเห็นความเชื่อมั่นเชิงบวกต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในหมู่นักลงทุนหลังการประชุมล่าสุด โดยได้แรงหนุนจากการปรับราคาตามข้อมูล CPI ของธนาคารกลางสหรัฐฯ และเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังดำเนินอยู่ ขณะที่มุมมองเกี่ยวกับผลกระทบของการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่มีต่อตลาดสกุลเงินได้เปลี่ยนไป หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นในกรณีที่พรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย (Republican sweep)
ทางด้านกิจกรรมทางธุรกิจของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายนแตะระดับต่ำสุดในรอบสี่เดือนเนื่องจากความต้องการที่ลดลง พร้อมด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเล็กน้อย แม้ว่าราคาวัตถุดิบจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจช่วยคลายความตึงเครียดให้กับธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ โดยการชะลอตัวได้ส่งผลกระทบต่อทั้งภาคการผลิตและบริการ โดยพบการจ้างงานลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2020 โดยเฉพาะในภาคบริการ ขณะที่โมเมนตัมทางเศรษฐกิจในช่วงต้นไตรมาสที่สองดูอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดย GDP คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตรา 2.4% ต่อปี
ขณะเดียวกัน แม้ว่ายอดขายบ้านเดี่ยวใหม่ในสหรัฐฯ จะดีดตัวขึ้นในเดือนมีนาคม เนื่องจากการขาดแคลนบ้านหรือที่อยู่อาศัยมือสองอย่างต่อเนื่อง แต่โมเมนตัมดังกล่าวอาจถูกขัดขวางโดยอัตราการจำนองที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์บ่งบอกว่าราคาบ้านเฉลี่ยสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก
ทั้งนี้ ความคาดหวังของตลาดสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกภายในเดือนกันยายนยังคงอยู่ที่ 73% โดยอิงจากการเปิดเผยดัชนีชี้วัดอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคของเฟด หรือ PCE deflator จึงคาดว่าจะส่งผลให้คู่สกุล USD/CAD ยังคงทรงตัวซื้อขายในกรอบบนได้อย่างต่อเนื่อง จากผลตอบแทนของระหว่างสองประเทศที่ไม่ต่างกันมาก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/CAD
แนวต้านสำคัญ : 1.3661, 1.3663, 1.3665
แนวรับสำคัญ : 1.3657, 1.3655, 1.3653
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3652 - 1.3657 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3657 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3662 และ SL ที่ประมาณ 1.3650 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3661 - 1.3666 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3670 และ SL ที่ประมาณ 1.3655 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3661 - 1.3666 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3661 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3656 และ SL ที่ประมาณ 1.3668 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3652 - 1.3657 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3649 และ SL ที่ประมาณ 1.3663 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Apr 24, 2024 09:52AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.365 | 1.3653 | 1.3656 | 1.3659 | 1.3662 | 1.3665 | 1.3669 |
Fibonacci | 1.3653 | 1.3655 | 1.3657 | 1.3659 | 1.3661 | 1.3663 | 1.3665 |
Camarilla | 1.3658 | 1.3659 | 1.3659 | 1.3659 | 1.3661 | 1.3661 | 1.3662 |
Woodie's | 1.365 | 1.3653 | 1.3656 | 1.3659 | 1.3662 | 1.3665 | 1.3669 |
DeMark's | - | - | 1.3658 | 1.366 | 1.3664 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ