อัตราเงินเฟ้อของอินเดียอาจเพิ่มขึ้นได้อีกครั้ง
เงินรูปีของอินเดียอ่อนค่าลงเล็กน้อย หลังจากแข็งค่าขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนได้รับสัญญาณจาก RBI ว่าจะมีการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กดดันค่าเงินรูปีในช่วงนี้ ทั้งนี้ ราคาพลังงานที่ลดลงจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงและอาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในอนาคตด้วย
การขาดดุลการค้าของอินเดียลดลงเหลือ 15.6 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม ลดลงจาก 18.1 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า โดยการส่งออกลดลงเล็กน้อยที่ 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีเป็น 41.7 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่การนำเข้าลดลงอย่างรวดเร็วที่ 4.5% เป็น 57.28 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเกิดจากการซื้อทองคำที่ลดลง โดยลดลงเหลือ 1.5 พันล้านดอลลาร์
อัตราเงินเฟ้อในอินเดียลดลงเหลือ 4.85% จาก 5.09% ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยสาเหตุหลักยังคงมาจากราคาอาหารและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญยังคงส่งผลกระทบสำคัญต่อเศรษฐกิจของอินเดียโดยตรงและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนพืชผลทางเกษตรเป็นจำนวนมากและทำให้ราคาผักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ราคาเสื้อผ้าและที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความต้องการด้านพลังงานยังคงทรงตัว เนื่องจากกำลังการผลิตยังคงเติบโตในอัตราที่ใกล้เคียงกับอดีต
Manufacturing PMI ของอินเดียอยู่ที่ 59.1 ในเดือนเมษายน ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของกิจกรรมโรงงานในรอบ 10 ปี เนื่องจากผลผลิตที่สามารถทำได้และคำสั่งซื้อใหม่ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามกิจกรรมโรงงานที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ง่ายมากขึ้น
Service PMI เพิ่มขึ้นเป็น 61.7 ในเดือนเมษายน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของภาคบริการ 33 เดือนติดต่อกัน โดยคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นช่วยขยายเพดานของภาคบริการให้เพิ่มขึ้นไปอีก นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากต่างประเทศ ถึงอย่างนั้น การจ้างงานในภาคบริการไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอินเดียอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นมากกว่า 7.2% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงและยืดเยื้อเป็นเวลานาน รวมไปถึงสภาพทางการเกษตรที่ไม่แน่นอน ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มลดความคาดหวังว่า RBI จะลดอัตราดอกเบี้ยลง นอกจากนี้ การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากแรงกดดันด้านอาหาร ทำให้ค่าเงินรูปีร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 83.404, 83.443, 83.482
แนวรับสำคัญ: 83.326, 83.287, 83.249
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 83.287 - 83.326 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 83.326 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.443 และ SL ที่ประมาณ 83.249 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 83.404 - 83.443 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.482 และ SL ที่ประมาณ 83.287 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 83.404 - 83.443 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 83.404 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.287 และ SL ที่ประมาณ 83.482 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 83.287 - 83.326 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.249 และ SL ที่ประมาณ 83.443 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 25 เมษายน 2567 19:58 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 83.249 | 83.287 | 83.326 | 83.365 | 83.404 | 83.443 | 83.482 |
Fibonacci | 83.287 | 83.317 | 83.335 | 83.365 | 83.395 | 83.413 | 83.443 |
Camarilla | 83.345 | 83.352 | 83.359 | 83.365 | 83.374 | 83.381 | 83.388 |
Woodie's | 83.251 | 83.288 | 83.328 | 83.366 | 83.406 | 83.444 | 83.484 |
DeMark's | - | - | 83.346 | 83.375 | 83.424 | - | - |