BoE ท่ามกลางความแตกต่างทางนโยบายของธนาคารกลาง เฟดคงอัตราดอกเบี้ย
BoE เผชิญภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางนโยบายระหว่าง ECB ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในกลางปี และธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่อาจผ่อนปรนนโยบายในปี 2024 ส่งผลให้ BoE ติดอยู่ระหว่างกลาง โดยก่อนหน้านี้ตลาดการเงินได้คาดการณ์ว่าธนาคารกลางหลักทั้งสามแห่งจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมๆ กันในช่วงซัมเมอร์นี้ แต่ความคลาดเคลื่อนในกรอบเวลาล่าสุดที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอน
ทั้งนี้ ตลาดคาดหวังว่า BoE จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในเดือนสิงหาคม และอาจเร็วที่สุดในเดือนมิถุนายน โดยอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสูงสุด 75 จุดภายในสิ้นปี อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสิ้นปีในกลุ่มธนาคารกลางยังคงมีความแตกต่างกัน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการบรรลุแรงผ่อนคลายของตลาดแรงงานในอังกฤษซึ่งจำเป็นต่อการรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมาย
โดยคำแถลงล่าสุดจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ BoE ผู้ว่าการแอนดรูว์ เบลีย์และรองผู้ว่าการเดฟ แรมส์เดนชี้ให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษได้ถูกติดตามอย่างใกล้ชิด และปูทางไปสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเกินเป้าหมายของ BoE ที่ 2.0% ในเดือนมีนาคม แต่ยังคงต่ำกว่าอัตราของเดือนก่อน
ในเดือนมีนาคม อัตราเงินเฟ้อของราคาผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรลดลงเหลือ 3.2% จาก 3.4% ในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.2% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 6 เดือน ท่ามกลางการเติบโตของค่าจ้างที่ยังคงแข็งแกร่งที่ 6.0% เพิ่มขึ้นสองเท่า โดยฮาสเคลสมาชิก BoE สังเกตเห็นความคืบหน้าที่ล่าช้าในการลดแรงตึงตัวของตลาดแรงงาน และสร้างความกังวลเกี่ยวกับการควบคุมเงินเฟ้อ
ทางด้านธุรกิจในอังกฤษเติบโตเร็วที่สุดในรอบเกือบหนึ่งปี แต่ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นเนื่องจากค่าจ้างและราคาที่เพิ่มขึ้นในการขนส่งและวัตถุดิบ ขณะที่การกู้ยืมของรัฐบาลเกินความคาดหมายในปีงบประมาณ 2023/24 ก่อให้เกิดความท้าทายต่อแผนการลดภาษีของนายกรัฐมนตรี ริชิ ซูนัก ก่อนการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกัน ราคาบ้านในอังกฤษลดลงอย่างไม่คาดคิดเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกในภาคการผลิต แม้ว่าคำสั่งซื้อจะยังคงลดลง
ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ แม้จะยังส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในท้ายที่สุด โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดที่น่าผิดหวัง ซึ่งอาจส่งผลให้การปรับอัตราดอกเบี้ยล่าช้า โดยประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ กล่าวว่าการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% อาจใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และแม้จะยอมรับถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น แต่พาวเวลล์ก็ชี้ให้เห็นถึงความไม่พร้อมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทันที โดยเลือกที่จะรอสัญญาณที่ชัดเจนยิ่งขึ้นของแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจ ท่ามกลางความไม่แน่นอนว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นจริงในปีนี้หรือไม่
ทั้งนี้ หลังจากคำกล่าวของพาวเวลล์ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากระดับสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสถาบันทางการเงิน Barclays จะคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นอีก และแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาดก่อนหน้านี้ซึ่งคล้ายกับในเดือนตุลาคม 2023 อาจนำไปสู่การขายเงินดอลลาร์ แต่ Barclays ก็ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่าง เช่น ระดับเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นและเร่งตัวขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์
โดยการเติบโตของผลผลิตที่ชะลอตัวในสหรัฐอเมริกาในช่วงไตรมาสแรกทำให้เกิดความท้าทายต่อกลยุทธ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อโดยไม่ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าต้นทุนแรงงานจะเพิ่มขึ้นและผลผลิตที่ซบเซา นักวิเคราะห์ยังคงมองในแง่ดีเกี่ยวกับทิศทางของเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง โดยพิจารณาถึงการชะลอตัวของปัจจัยตามฤดูกาล และยังคงความหวังสำหรับสถานการณ์ "การลงจอดที่นุ่มนวล" เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ
ทางด้านการเติบโตของงานภาคเอกชนเมื่อเร็วๆ นี้ในเดือนเมษายนเกินความคาดหมาย ในขณะที่ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก ซึ่งสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและสวัสดิการ สอดคล้องกับความกังวลเรื่องเงินเฟ้อก่อนหน้านี้ และอาจส่งผลให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดการณ์ไว้ล่าช้าออกไป โดยแม้ว่าจะพบสัญญาณของภาวะตลาดแรงงานที่ผ่อนคลายลง เช่น การเปิดรับและการเลิกจ้างน้อยลง แต่ตลาดแรงงานโดยรวมยังคงค่อนข้างตึงตัว ซึ่งสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สอง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและอัตรากำไรที่บีบตัวเนื่องจากต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯ ลดลงในเดือนเมษายน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสภาวะตลาดแรงงานและรายได้ ในขณะที่กิจกรรมการผลิตหดตัวในเดือนเมษายน พร้อมด้วยราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยการชะลอตัวของการเติบโตในภาคการผลิต ประกอบกับต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น เน้นย้ำถึงความสมดุลที่ละเอียดอ่อนที่ผู้กำหนดนโยบายต้องเผชิญในการจัดการภาวะเงินเฟ้อโดยไม่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจ
อีกด้าน แม้ว่าการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมจะลงลงเล็กน้อย แต่เศรษฐกิจยังคงเผชิญกับความท้าทายทางการค้า ซึ่งรวมถึงการส่งออกที่ลดลงและการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างที่ลดลงอย่างไม่คาดคิดจากอัตราการจำนองที่สูงขึ้น จึงคาดว่าอาจส่งผลให้คู่สกุล GBP/USD ทรงตัวและมีการซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง จากอัตราผลตอบแทนของสองประเทศเศรษฐกิจที่ไม่ต่างกัน โดยอาจพบการแข็งค่าของเงินปอนด์ได้บ้างเล็กน้อยในระยะนี้ แม้การแข็งค่าในระยะกลางจะยังคงถูกจำกัด
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.2555, 1.2557, 1.2559
แนวรับสำคัญ : 1.2549, 1.2547, 1.2545
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2544 - 1.2549 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2549 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2555 และ SL ที่ประมาณ 1.2542 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2555 - 1.2560 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2564 และ SL ที่ประมาณ 1.2547 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2555 - 1.2560 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2555 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2547 และ SL ที่ประมาณ 1.2562 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2544 - 1.2549 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2538 และ SL ที่ประมาณ 1.2557 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points May 3, 2024 10:22AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.254 | 1.2545 | 1.2547 | 1.2552 | 1.2554 | 1.2559 | 1.2562 |
Fibonacci | 1.2545 | 1.2547 | 1.2549 | 1.2552 | 1.2555 | 1.2557 | 1.2559 |
Camarilla | 1.2548 | 1.2549 | 1.255 | 1.2552 | 1.2551 | 1.2552 | 1.2553 |
Woodie's | 1.254 | 1.2545 | 1.2547 | 1.2552 | 1.2554 | 1.2559 | 1.2562 |
DeMark's | - | - | 1.2547 | 1.2552 | 1.2554 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ