บทวิเคราะห์ USD/CAD วันที่ 10 พฤษภาคม 2567

Create at 7 months ago (May 10, 2024 10:14)

เศรษฐกิจแคนาดาส่งสัญญาณไม่แน่ชัด เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า

ในเดือนเมษายน ภาคบริการของแคนาดาเผชิญกับการหดตัวที่ช้าลง โดยบริษัทต่างๆ รายงานยอดขายและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิด อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นมีส่วนทำให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ตามข้อมูล PMI ภาคบริการจาก S&P Global Canada ขณะที่ดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจทั่วไปเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีก่อน แม้ดัชนียังคงต่ำกว่าเกณฑ์ 50 เป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน และยังคงบ่งชี้ว่ามีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง

ในขณะเดียวกัน ยอดค้าปลีกในแคนาดาลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในเดือนกุมภาพันธ์ สาเหตุหลักมาจากยอดขายที่ลดลงในปั๊มน้ำมันและผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง โดยแม้ว่าเศรษฐกิจแคนาดาจะมีการเติบโตเชิงบวกในเดือนมกราคม และคาดว่าจะยังคงเป็นบวกในเดือนกุมภาพันธ์ แต่อัตราการเติบโตยังคงซบเซาเนื่องจากแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 23 ปี

ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน กิจกรรมภาคการผลิตของแคนาดาชะลอตัวลงมากขึ้น ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเวลานานและเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน ขณะที่ผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างรวดเร็ว พร้อมด้วยแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ทางด้านในพื้นที่เกรทเทอร์โตรอนโต ยอดขายบ้านลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกันในเดือนเมษายน โดยราคาได้ปรับสูงขึ้นอีกเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่ายอดขายบ้านจะเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมและมกราคม จากความคาดหวังว่าธนาคารแห่งประเทศแคนาดาจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่โมเมนตัมดังกล่าวก็ได้ผ่อนแรงลงในเดือนกุมภาพันธ์ ท่ามกลางการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อที่ช้ากว่าที่คาดและเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ การเติบโตของ GDP ในเดือนกุมภาพันธ์ยังได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในอุตสาหกรรมการผลิตบริการ โดยเฉพาะการขนส่งและคลังสินค้า อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตสินค้ายังคงไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบเป็นรายเดือน

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากสถิติของแคนาดาบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของแคนาดามีแนวโน้มอ่อนแอลงในไตรมาสแรก จากการเติบโตเชิงบวกที่ 0.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และการคาดการณ์การเติบโตที่ซบเซาในเดือนมีนาคม ส่งผลให้โมเมนตัมทางเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้คาดว่าจะอ่อนแอ ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา ซึ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมราคาที่สูงขึ้น ระบุเป็นนัยถึงความเป็นไปได้ในการลดต้นทุนการกู้ยืมในเดือนมิถุนายน หากพบแนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดลงล่าสุดอย่างต่อเนื่อง

ทางด้านทิฟ แม็กเล็ม ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศแคนาดาเน้นย้ำถึงความยืดหยุ่นของระบบการเงินของแคนาดา ในขณะเดียวกันก็ยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น ท่ามกลางความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลกระทบต่อหนี้ครัวเรือนและความเปราะบางของผู้กู้ยืม

ทั้งนี้ แม็กเล็มเน้นย้ำถึงความเป็นไปได้ถึงการปรับราคาครั้งใหญ่และฉับพลัน หากความคาดหวังเกี่ยวกับเส้นทางอัตราดอกเบี้ยหรือแนวโน้มเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยสังเกตเห็นถึงการให้ความสำคัญกับช่วงเวลาและขอบเขตของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจผลักดันให้เกิดการแสวงหาการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์

ทางด้านการซื้อขายในเซสชั่นเอเชียช่วงเช้าเมื่อวันศุกร์ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าต่อเนื่องจากการซื้อขายคืนก่อนหน้า โดยค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงมีสาเหตุมาจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความกังวลเพิ่มมากขึ้น หลังจากรายงานตัวเลขเงินเดือนที่น่าผิดหวังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ตำแหน่งงานว่างยังคงลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสามปีในเดือนมีนาคม การชะลอตัวของตลาดแรงงานได้สร้างความคาดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้ ท่ามกลางอัตราการจำนองของสหรัฐฯ ที่ลดลงเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าที่จะกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัย

ทั้งนี้ ตลาดจะมุ่งเน้นไปที่การเปิดเผยข้อมูลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงราคาผู้บริโภค (CPI) ราคาผู้ผลิต (PPI) และยอดขายปลีก เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลให้คู่สกุล USD/CAD ยังคงทรงตัวซื้อขายในกรอบปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง จากผลตอบแทนของระหว่างสองประเทศที่ไม่ต่างกันมาก

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD USD/CAD

แนวต้านสำคัญ : 1.3690, 1.3692, 1.3695

แนวรับสำคัญ : 1.3684, 1.3682, 1.3679                    

30Min Outlook

วิเคราะห์ USD/CAD ที่มา: TradingView                                       

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3679 - 1.3684 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3684 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3691 และ SL ที่ประมาณ 1.3677 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3690 - 1.3695 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3700 และ SL ที่ประมาณ 1.3682 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3690 - 1.3695 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3690 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3683 และ SL ที่ประมาณ 1.3697 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3679 - 1.3684 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3675 และ SL ที่ประมาณ 1.3692 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points May 10, 2024 09:43AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.3675 1.3679 1.3683 1.3687 1.3691 1.3695 1.3699
Fibonacci 1.3679 1.3682 1.3684 1.3687 1.369 1.3692 1.3695
Camarilla 1.3686 1.3687 1.3687 1.3687 1.3689 1.3689 1.369
Woodie's 1.3677 1.368 1.3685 1.3688 1.3693 1.3696 1.3701
DeMark's - - 1.3686 1.3688 1.3694 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES