บทวิเคราะห์ USD/CAD 10 พฤษภาคม 2567

Create at 8 months ago (May 10, 2024 18:16)

ธนาคารกลางแคนาดาอาจไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้

ดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลงต่อเนื่อง  เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดีดตัวขึ้นท่ามกลางคำพูดที่คลุมเครือของเจ้าหน้าที่ Fed บางคน โดยให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้จนกว่าสัญญาณเงินเฟ้อจะเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ด้านธนาคารกลางแคนาดายังคงไม่พิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจของแคนาดาแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 63 ในเดือนเมษายน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของภาคเอกชนที่ฟื้นตัวได้


PMI ภาคการผลิตลดลง 0.4 จุดจากเดือนก่อนหน้าเป็น 49.4 ในเดือนเมษายน แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน โดยคำสั่งซื้อใหม่และคำสั่งซื้อส่งออกที่ลดลงส่งผลให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลงด้วย แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่การจ้างงานมีการเพิ่มขึ้นเนื่องจากตลาดยังมีความต้องการด้านแรงงานอยู่ ทางด้านต้นทุนวัตถุดิบก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นด้วย


PMI ภาคการบริการ เพิ่มขึ้นเป็น 49.3 ในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นจาก 46.4 ในเดือนก่อนหน้า ตัวเลขดังกล่าวยังคงบ่งชี้ให้เห็นถึงการหดตัวของภาคการบริการ โดยการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างมากจากธุรกิจที่เข้ามาใหม่ ทำให้เกิดแรงกดดันทั้งด้านราคาและต้นทุน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นยังคงเป็นตัวผลักดันให้ต้นทุนด้านการบริการต่างๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วยและทำให้จำนวนการจ้างงานมีการลดลงเล็กน้อย


แคนาดามีการขาดดุลการค้า 2.3 พันล้านดอลลาร์แคนาดา ในเดือนมีนาคมปี เทียบกับการคาดการณ์ของตลาดว่าจะเกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์แคนาดา นับว่าเป็นการขาดดุลครั้งใหญ่นับตั้งแต่เดือนธันวาคม เนื่องจากการส่งออกลดลงอย่างรวดเร็ว ใน ในขณะที่การนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำเข้าไปยังแคนาดาเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบเป็นรายปีเป็น 64.8 พันล้านดอลลาร์ โดยการนำเข้าส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการทำฟาร์มและการประมง รองลงมาคือผลิตภัณฑ์แร่โลหะและอโลหะ การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากสหรัฐอเมริกา, จีนและญี่ปุ่น ด้านการส่งออกจากแคนาดาลดลง 1.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ 62.6 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม พบว่าการส่งออกลดลงอย่างรวดเร็วในกลุ่มแร่โลหะและแร่ธาตุที่ไม่ใช่โลหะและสินค้าอุปโภคบริโภค โดยยอดขายลดลงไปยังสหรัฐอเมริกา, จีน, เม็กซิโกและญี่ปุ่น


การเกินดุลงบประมาณของรัฐบาลแคนาดาลดลงเหลือ 8.34 พันล้านแคนาดาในเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงจาก 9.53 พันล้านแคนาดาในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ยังคงเป็นการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ ในขณะเดียวกันที่ค่าใช้จ่ายสำหรับหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นมากกว่า 36.5% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในทางกลับกัน รายได้ภาครัฐเพิ่มขึ้น 3.1% โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีอากรอื่นๆ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 1.3689, 1.3697, 1.3703

แนวรับสำคัญ: 1.3675, 1.3669, 1.3662

บทวิเคราะห์ USD/CAD วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3669 - 1.3675 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3675 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3697 และ SL ที่ประมาณ 1.3662 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3689 - 1.3697 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3703 และ SL ที่ประมาณ 1.3669 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3689 - 1.3697 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3689 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3669 และ SL ที่ประมาณ 1.3703 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3669 - 1.3675 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3662 และ SL ที่ประมาณ 1.3697 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 10 พฤษภาคม 2567 18:12 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 1.3662 1.3669 1.3675 1.3683 1.3689 1.3697 1.3703
Fibonacci 1.3669 1.3675 1.3678 1.3683 1.3688 1.3691 1.3697
Camarilla 1.3679 1.368 1.3681 1.3683 1.3684 1.3685 1.3686
Woodie's 1.3662 1.3669 1.3675 1.3683 1.3689 1.3697 1.3703
DeMark's - - 1.3673 1.3682 1.3687 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES